วารสารปี-40-ฉบับที่-4-resize

จตุรนต์ ถิระวัฒน์ 5 วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๐ ฉบับที่ ๔ ต.ค.-ธ.ค. ๒๕๕๘ หน้าที่ดังกล่าวยังได้รับการยืนยันและปรับปรุงเพิ่มเติมเนื้อหาในสนธิสัญญาต่อมา อีก ๕ ฉบับ กล่าวคือ อนุสัญญาระหว่างประเทศ ค.ศ. ๑๙๗๔ ว่าด้วยความปลอดภัยของชีวิตในทะเล (International Convention for the Safety of Life at Sea) อนุสัญญาฉบับนี้ถูกจัดท� ำขึ้น และมีผลใช้บังคับตั้งแต่ ค.ศ. ๑๙๑๕ โดยมีแรงจูงใจจากเหตุการณ์เรือไททานิกอับปางเมื่อวันที่ ๑๒ เมษายน ค.ศ. ๑๙๑๒ อนุสัญญาฯ มุ่งก� ำหนดมาตรฐานขั้นต�่ ำในการจัดหาอุปกรณ์ และการเดินเรืออย่างปลอดภัย อนุสัญญาถูกแก้ไขอีกหลายครั้งโดยเฉพาะเมื่อ ค.ศ. ๑๙๗๔ 13 โดยก� ำหนดให้เรือมีหน้าที่ต้องให้ความช่วยเหลือ ผู้ประสบภัยทางทะเลตามบทที่ ๕ ว่าด้วยความปลอดภัยในการเดินเรือ กล่าวคือตามข้อ ๓๓ เมื่อนายเรือ ได้รับข้อมูลจากแหล่งใดก็ตามว่ามีผู้ตกอยู่ในอันตรายในทะเล และเรือของตนอยู่ในต� ำแหน่งที่สามารถ ให้ความช่วยเหลือได้ นายเรือมีหน้าที่ให้ความช่วยเหลืออย่างเร็วที่สุด หลังจากนั้นก็มีการแก้ไขอีกหลายครั้ง โดยเฉพาะเมื่อ ค.ศ. ๒๐๐๔ ได้เพิ่มเรื่องหน้าที่ของรัฐในการประสานงานและร่วมมือกันเมื่อเกิดภัยทางทะเล เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยและนายเรือ ส� ำหรับขั้นตอนของการส่งผู้ประสบภัยไปยังสถานที่ปลอดภัย โดยให้การด� ำเนินการกระทบน้อยที่สุดต่อเส้นทางเดินเรือของเรือผู้ให้ความช่วยเหลือ โดยย�้ ำว่าหน้าที่ ในการให้ความช่วยเหลือเป็นหน้าที่ต่อผู้ประสบภัยทางทะเลทุกคน โดยไม่ค� ำนึงถึงสัญชาติ สถานะของ ผู้ประสบภัย หรือสภาวการณ์ที่พบผู้ประสบภัยนั้น [ข้อ ๓๓ (๒-๓)] อีกทั้งยังก� ำหนดให้นายเรือปฏิบัติ ต่อผู้ประสบภัยด้วยความเมตตา [ข้อ ๓๓ (๕-๖)] อนุสัญญา ค.ศ. ๑๙๕๘ ว่าด้วยทะเลหลวง (Convention on the High Seas) อนุสัญญาเป็นผลจากการท� ำประมวลกฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศ เกี่ยวกับทะเลหลวงให้เป็นลายลักษณ์อักษรโดยคณะกรรมาธิการกฎหมายระหว่างประเทศแห่งองค์การ สหประชาชาติ อนุสัญญาฯ เริ่มมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๓๐ กันยายน ค.ศ. ๑๙๖๒ โดยข้อ ๑๒ เป็นบทบัญญัติ ที่ยืนยันหลักการของหน้าที่ในการช่วยเหลือตามอนุสัญญาฉบับที่กล่าวมาแล้วข้างต้น 14 ทั้งนี้โดยระบุให้รัฐ มีหน้าที่ก� ำหนดให้นายเรือของเรือที่ชักธงของตน เท่าที่นายเรือจะสามารถกระท� ำได้โดยไม่เป็นอันตรายร้ายแรง ต่อเรือ ลูกเรือ ผู้โดยสาร ให้นายเรือช่วยเหลือเมื่อพบผู้เสี่ยงต่อการสูญหายในทะเล และรีบเดินทางไปให้เร็วที่สุด เท่าที่จะท� ำได้เพื่อช่วยชีวิตบุคคลที่ตกอยู่ในอันตราย เมื่อได้รับแจ้งถึงความต้องการความช่วยเหลือจากบุคคล เหล่านั้น เท่าที่การกระท� ำนั้นจะพึงคาดหวังได้อย่างสมเหตุสมผลจากนายเรือ 13 International Maritime Organization, “International Convention for the Safety of Life at Sea”, History of SOLAS, accessed 5 October 2014 14 M. Simonnet, “La Convention sur la Haute Mer”, (Paris : Librairie Generale de Droit et de Jurisprudence, 1966), Ch.IX, quoted in Mark Pallis, “Obligations of States towards asylum seekers at sea : Interactions and conflicts between legal regimes”, 14 International Journal of Refugee Law 329, p. 331, 2002

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=