วารสารปี-40-ฉบับที่-4-resize

จตุรนต์ ถิระวัฒน์ 3 วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๐ ฉบับที่ ๔ ต.ค.-ธ.ค. ๒๕๕๘ จากเมียนมาของชาวโรฮีนจามีมาช้านานโดยที่มีการอพยพเข้าสู่บังคลาเทศมากว่า ๓๐ ปีแล้ว แต่การขัดแย้ง อย่างรุนแรงระหว่างชาวโรฮีนจาและชาวพุทธท� ำให้เกิดการแสวงหาที่ลี้ภัยครั้งใหญ่ทั้งทางบกและโดยเฉพาะ อย่างยิ่งทางทะเล โดยเรือที่บรรทุกผู้แสวงหาที่ลี้ภัยมักจะมีชาวเบงกาลีจากประเทศบังคลาเทศปะปนมาด้วย เพื่อหางานท� ำในประเทศมาเลเซีย นอกจากนี้ยังมีการเดินทางเข้ามายังประเทศไทยเพื่ออพยพต่อไปในประเทศ ที่สาม ส่วนใหญ่เป็นชาวโรฮีนจาที่มีภูมิล� ำเนาอยู่ในรัฐจิตตะกอง ประเทศบังคลาเทศ บางส่วนก็หลบหนีจาก ศูนย์อพยพค๊อกบาซาร์ของบังคลาเทศ และอีกส่วนหนึ่งก็มาจากรัฐอาระกัน ทั้งนี้ โดยใช้เส้นทางเดินเรือดังนี้ จากชายแดนเมืองค๊อกบาซาร์อ้อมหมู่เกาะอันดามันของอินเดีย มุ่งหน้าไปหมู่เกาะนิโคบาร์และต่อไป ทางทิศตะวันออกจนเข้าน่านน�้ ำไทยที่จังหวัดระนองและพังงา ส่วนอีกเส้นทางคือ จากชายแดนอ� ำเภอมองดอ จังหวัดชิดต่วย รัฐอาระกันผ่านน่านน�้ ำเมียนมา เขตอิรวดี เกาะโกโก้ รัฐมอญ เขตตะนาวศรี เข้าเขตน่านน�้ ำไทย ทางจังหวัดระนอง 8 ชาวโรฮีนจาที่มาขึ้นฝั่งประเทศไทยอาจแบ่งออกได้ ๓ กลุ่ม กลุ่มแรกเป็นผู้มีฐานะและจ่ายเงิน เพื่อเดินทางไปยังประเทศที่สาม กลุ่มที่สองเป็นพวกที่เข้ามาเพื่อหางานท� ำ ส่วนกลุ่มสุดท้ายเป็นพวกที่ไร้จุดหมาย ที่แน่นอนหรือพวกที่ไม่เป็นที่ต้องการของฝ่ายนายจ้าง หากมีญาติในประเทศเพื่อนบ้าน ขบวนการค้ามนุษย์ จะเรียกค่าไถ่แลกกับการมารับตัวไป 9 ปัญหานี้ส่งผลกระทบรัฐทั้งหลายในประชาคมระหว่างประเทศรวมทั้งประเทศไทยซึ่งอยู่ในฐานะ สมาชิกของสังคมโลกซึ่งเป็นรัฐทางผ่านและรัฐชายฝั่งที่มักต้องรับภาระเป็นที่พักพิงให้แก่ผู้ประสบภัย อันท� ำให้ต้องเผชิญปัญหาร้ายแรงอื่น ๆ ที่ตามมา 10 เช่น การต้องรับภาระการดูแลอย่างต่อเนื่องและระยะยาว ปัญหาอาชญากรรมข้ามชาติเรื่องการค้ามนุษย์ รวมทั้งปัญหาในสังคมเกี่ยวกับความเห็นที่แตกต่างกันเกี่ยวกับ นโยบายการให้ความช่วยเหลือ เพราะฉะนั้นจึงจ� ำเป็นต้องศึกษาว่าการให้ความช่วยเหลือซึ่งเป็นหน้าที่ ตามที่กฎหมายระหว่างประเทศก� ำหนดไว้มีผลผูกพันรัฐทั้งหลายในประชาคมระหว่างประเทศในขอบเขต เพียงใด และปัญหาที่เกิดขึ้นในทางปฏิบัติเกี่ยวกับการให้ความช่วยเหลือ มีสาเหตุและแนวทางในการแก้ไข ปัญหาอย่างไร ดังจะได้วิเคราะห์ตามล� ำดับต่อไป 8 ปิยะนุช ปี่บัว, ปัญหาโรฮิงยากับแนวทางแก้ไข (กรุงเทพมหานคร: สถาบันวิจัยทางยุทธศาสตร์ สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ, ๒๕๕๒), น. ๑๒ 9 แฉขบวนการใหญ่รวยมหาศาลทั้งนายทุน-พ่อค้าล่าค้าโรฮิงยา, คม ชัด ลึก (๗ พฤษภาคม ๒๕๕๘) 10 สุญานี ยอดด� ำเนิน, หน้าที่ในการช่วยเหลือผู้แสวงหาที่ลี้ภัยซึ่งประสบภัยในทะเลหลวงตามกฎหมายระหว่างประเทศ, วิทยานิพนธ์ นิติศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๕๗, น. ๙๑-๙๔

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=