วารสารราชบัณฑิตยสภาปี-43-ฉบับ-1

วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-เม.ย. ๖๑ ๘๙ มากขึ้น ทั้งการสร้างสิ่งประดิษฐ์หลากหลายและการพัฒนาองค์ความรู้ในรูปของวรรณกรรม ปัจจัย สาคัญสองประการที่ส่งเสริมให้มีการพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีอย่างแพร่หลาย คือ รัฐบาล สหรัฐอเมริกาให้การสนับสนุนอย่างจริงจัง ประกอบกับชาวอเมริกันส่วนใหญ่เชื่อมั่นในอุดมการณ์ เสรีนิยมและระบบแข่งขันเสรี ทาให้การพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีเติบโตต่อเนื่อง และส่งผล ต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ ๑๙ ปัจจัยส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรมของสหรัฐอเมริกาในครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ ๑๙ ๑. นโยบายของรัฐบาล สหรัฐอเมริกาให้ความสาคัญและส่งเสริมการประดิษฐ์คิดค้น นวัตกรรมทั้งด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาตั้งแต่เริ่มสถาปนาประเทศ ดังจะเห็นได้ว่า รัฐธรรมนูญสหรัฐอเมริกา ค.ศ. ๑๗๘๗ ได้ระบุไว้ในมาตรา ๑ วรรค ๘ ถึงอานาจของรัฐสภา สหรัฐอเมริกาในการ “ส่งเสริมความก้าวหน้าด้านวิทยาศาสตร์และอักษรศาสตร์ที่มีประโยชน์ โดยให้ การคุ้มครองสิทธิพิเศษแก่ผู้ประพันธ์และผู้ประดิษฐ์ในช่วงเวลาที่กาหนดไว้สาหรับงานเขียนและการ ค้นพบที่น่ายกย่องของพวกเขา” (Section 8 The Congress shall have Power ... To promote the Progress of Science and useful Arts, by securing for limited Times to Authors and Inventors the exclusive Right to their respective Writings and Discoveries;) และนับเป็น ครั้งแรกในโลกที่มีการระบุเรื่องทรัพย์สินทางปัญญาไว้ในรัฐธรรมนูญของประเทศ (B. Zorina Khan and Kenneth L. Sokoloff, 2004, p. 10.) นโยบายของรัฐบาลอีกประการหนึ่งคือ การให้เงิน อุดหนุนอุตสาหกรรมและการสร้างทางรถไฟ ทั้งทางตรงและทางอ้อม ทาให้เกิดนวัตกรรมที่จาเป็นต่อ อุตสาหกรรมหลายอย่าง การที่ผู้นาทางการเมืองของสหรัฐอเมริกาในขณะนั้นสนับสนุนการคุ้มครองทรัพย์สินทาง ปัญญาเพื่อส่งเสริมให้มีการพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีอย่างเป็นรูปธรรม เนื่องจากสหรัฐอเมริกา เป็นประเทศเกิดใหม่ ฐานะทางเศรษฐกิจยังไม่มั่นคงและพึ่งพาเกษตรกรรมเป็นหลัก จาเป็นต้องเร่ง พัฒนาประเทศให้ทัดเทียมประเทศในยุโรป โดยเฉพาะประเทศอังกฤษซึ่งมีความก้าวหน้าทาง เทคโนโลยีและมีการเติบโตทางเศรษฐกิจจากการพัฒนาอุตสาหกรรมตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ ๑๘ จึง เห็นได้ว่า ใน ค.ศ. ๑๗๙๐ รัฐสภาสหรัฐอเมริกาได้ผ่านกฎหมายจัดตั้งสานักงานสิทธิบัตร (Patent Office) กาหนดค่าธรรมเนียมการจดสิทธิบัตรและอายุของสิทธิบัตร นับเป็นกฎหมายชุดแรก ๆ ที่ รัฐสภาสหรัฐอเมริกาอนุมัติหลังจากรัฐธรรมนูญมีผลบังคับใช้ใน ค.ศ. ๑๗๘๙ อนึ่งเป็นน่าสังเกตว่า รัฐบาลพยายามสร้างแรงจูงใจให้ประชาชนคิดค้นนวัตกรรมและเทคโนโลยีโดยคิดค่าจดทะเบียน สิทธิบัตรในราคาถูก กล่าวคือในช่วงแรก ระหว่าง ค.ศ. ๑๗๙๐-๑๗๙๓ คิดค่าธรรมเนียมการจด สิทธิบัตรครั้งละ ๓.๗๐ ดอลลาร์สหรัฐ กาหนดอายุคุ้มครองสิทธิบัตรนาน ๑๔ ปี และสามารถยื่นขอ ต่ออายุได้อีก ต่อมาในช่วง ค.ศ. ๑๗๙๓-๑๘๖๑ ได้เพิ่มค่าธรรมเนียมเป็น ๓๐ ดอลลาร์สหรัฐ หลังจาก นั้นใน ค.ศ. ๑๘๖๑ ได้ขึ้นราคาค่าธรรมเนียมเป็น ๓๕ ดอลลาร์สหรัฐ โดยยืดอายุสิทธิบัตรเป็น ๑๗ ปี

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=