วารสารราชบัณฑิตยสภาปี-43-ฉบับ-1
วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-เม.ย. ๖๑ ๘๕ (ป.อ. ปยุตฺโต) กลับเห็นว่าตรรกะหรือวิธีคิดพื้นฐานของสิทธิมนุษยชนยังไม่สามารถไปกันได้กับคา สอนหลักทางพระพุทธศาสนาที่เน้นเรื่องอนัตตา ซึ่งสนับสนุนให้ผู้คนละอัตตาของตน การละเมิด สิทธิมนุษยชนและการเบียดเบียนจึงยังอยู่ทั่วทุกแห่งในโลก แม้ว่าสหประชาชาติได้ประกาศ ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนแล้วก็ตาม มัชฌิมาปฏิปทาซึ่งเป็นการดาเนินชีวิตที่สมบูรณ์แบบเป็นสิทธิมนุษยชนแนวพุทธ หรือ สิทธิมนุษยชนที่สามารถใช้ได้กับสังคมพุทธจริง ๆ หรือสิทธิมนุษยชนที่สามารถทาให้ชาวพุทธ เข้าถึงนิพพานได้ ทั้งนี้เพราะสิทธิมนุษยชนแนวพุทธควรต้องเป็นเรื่องที่ไม่เน้นอัตตา หรือการเอา ตนเองเป็นศูนย์กลาง หรือกระตุ้นลักษณะของความเป็นปัจเจกบุคคลจนมากเกินไป ที่มักปลุกเร้า มนุษย์ให้คิดตามแรงผลักดันทางสัญชาตญาณ แต่แก่นคาสอนทางพระพุทธศาสนาเป็นเรื่อง พุทธปัญญาหรือการรู้สรรพสิ่งตามความเป็นจริง การทาความดีต้องไม่หยุดแค่ระดับศีล ดังนั้นสิทธิ มนุษยชนแนวพุทธจึงเหมาะสมที่จะต้องเป็นหลักธรรมในกรอบคาสอนทางพระพุทธศาสนา หลักธรรมที่ครอบคลุมชีวิตที่ดีในทุกมิติ คือมัชฌิมาปฏิปทา ภววิทยาของพระพุทธศาสนา (Buddhist ontology) มีความสลับซับซ้อนและมีขอบเขต ที่กว้างใหญ่กว่าภววิทยาของสิทธิมนุษยชน ซึ่งมีรากทางโลกทัศน์ของปรัชญาของจอห์น สจ็วร์ต มิลล์ นอกจากนั้นนักปราชญ์จารีตเถรวาทไทยเห็นตรงกันว่า ความเป็นมนุษย์และความดีของ มนุษย์ แบบพุทธเป็นเรื่องที่ต่างจากนิยามของตะวันตก ดังนั้น ชาวพุทธจึงจาเป็นหรือควรพัฒนา ความดีให้ถึงระดับสมาธิและระดับปัญญา และการที่จะมีปัญญาได้นั้น มนุษย์จาเป็นต้องรู้จัก กัมมัฏฐานซึ่งเป็น ส่วนหนึ่งของการปฏิบัติธรรมตามหลักไตรสิกขาเพื่อบรรลุสมาธิ พระธรรมเรื่อง มัชฌิมาปฏิปทาหรือทางสายกลาง จึงเป็นตัวเลือกที่มีความเหมาะสมอย่างยิ่งที่จะเติมเต็มความดี ดังที่ปรากฏในสาระส่วนใหญ่ของปฏิญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ ที่ส่งเสริม สิทธิและเสรีภาพแบบจอห์น สจ็วร์ต มิลล์ การบูรณาการปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนของ สหประชาชาติกับมัชฌิมาปฏิปทา ทิศ ๖ และแนวคิดเรื่องกรรมจึงสร้างสิ่งที่เรียกว่า “สิทธิ มนุษยชนแนวพุทธ” การบูรณาการนี้ได้รักษาสาระสาคัญของปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ของสหประชาชาติที่เน้นหน้าที่ของรัฐต่อมนุษย์ และหน้าที่ของมนุษย์ที่มีต่อมนุษย์และยังสามารถ ผดุงการทาความดีในทุกมิติ และครบทั้งในสามระดับ คือ ศีล สมาธิ และปัญญา ซึ่งเป็นนวัตกรรม ทางความคิดของพระพุทธเจ้าที่ได้ทรงแปลงความรู้จากการตรัสรู้ของพระองค์มาเป็นสานวนภาษา ที่มนุษย์ธรรมดาไร้อภิญญาสามารถเข้าใจและเข้าถึงได้ บทสรุป บทความนี้ตั้งอยู่บนสมมติฐานที่ว่า พระธรรมในคาสอนทางพระพุทธศาสนาล้วนส่งเสริม แนวคิดสิทธิมนุษยชนทั้งสิ้น แต่หลักธรรมใดในกรอบคาสอนทางพระพุทธศาสนาที่สามารถ ครอบคลุมทุกมิติและนัยของปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนนั้นเป็นเรื่องน่าสนใจ แต่เมื่อ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=