วารสารราชบัณฑิตยสภาปี-43-ฉบับ-1
วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-เม.ย. ๖๑ ๘๔ มนุษยชนเห็นว่าการไม่ละเมิดสิทธิและเสรีภาพของคนอื่นต่างเป็นแกนและเป้าหมายหลักของเรื่อง ความดี แต่มัชฌิมาปฏิปทาแบ่งความดีในมิติต่าง ๆ ได้กาหนดแม้แต่วิธีมองโลก (สัมมาทิฏฐิ) วิธี ดาเนินชีวิต (สัมมากัมมันตะ) วิธีในการพัฒนาจิต (สัมมาสมาธิ) ตลอดจนการประกอบอาชีพ (สัมมาอาชีวะ) ซึ่งหมายถึงอาชีพใดที่มนุษย์สามารถทาได้ และอาชีพใดที่มนุษย์ควรละเว้นหรือไม่ ควรทา แต่จุดดีของสาระหลักที่อาจพบในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ คือการบังคับให้รัฐบาลต่าง ๆ ในโลกต้องดูแลสวัสดิภาพและให้ความคุ้มครองแก่พลเมือง รวมถึง รัฐบาลต้องเคารพศักดิ์ศรีที่เท่าเทียมกันแห่งความเป็นมนุษย์ของปัจเจกบุคคลใด ๆ ในโลก โดยมิ แบ่งแยกเชื้อชาติ ศาสนา และอุดมการณ์ทางการเมือง ดังที่ทราบกันดีว่า ศีล ๕ เป็นเพียงระดับความดีขั้นต่า เพราะบุคคลที่ถือศีล ๕ ก็อาจทา อาชีพที่หมิ่นเหม่หรือผิดศีลธรรมได้ หรือแม้แต่ยังหมกมุ่นอยู่ในการเสพและการบริโภค ดังปรากฏ ในสังคมบริโภคนิยม ดังนั้น การรักษาศีล ๕ นี้ มนุษย์ทั่วไปยังไม่สามารถก้าวหน้าในการพัฒนา ความดีของตนไปสู่ระดับเป้าหมายที่สูงขึ้น แต่มัชฌิมาปฏิปทาจะให้โอกาสมนุษย์ในการพัฒนาถึง สามระดับของความดี ดังสะท้อนในไตรสิกขา ปราชญ์ในพระพุทธศาสนาเถรวาทเห็นว่า แนวคิดสิทธิมนุษยชนเป็นจริยศาสตร์แบบสิทธิ และเน้นความดีในระดับของการไม่ละเมิดสิทธิเป็นส่วนใหญ่ แต่สิทธิมนุษยชนต่างมีจุดอ่อนใน ตัวเอง เช่น สิทธิมนุษยชนมิได้เป็นกฎธรรมชาติ สิทธิมนุษยชนเน้นเรื่องการปกป้องสิทธิ์หรือการ อ้างสิทธิ์ วิธีคิดในลักษณะนี้จึงอาจกระตุ้นให้เกิดความรู้สึกแบบอัตตา แต่แก่นคาสอนของ พระพุทธศาสนาคืออนัตตา หรือการไม่ยึดอัตตาว่าเป็นของเที่ยงแท้ วิธีคิดแบบนี้จะนาไปสู่สภาวะ ของการไม่เห็นแก่ตัว หรือการมองสวัสดิภาพของสังคมว่าต้องมาก่อน ดังปรากฏในเรื่องทิศ ๖ หรือ คาสอนว่าด้วยการทาหน้าที่ต่อบุคคลที่อยู่รอบตัว นอกจากนั้น สิทธิมนุษยชนเน้นความสุขทุก รูปแบบ ตราบใดที่ความสุขเหล่านั้นไม่ละเมิดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่น แต่พระพุทธศาสนา เน้นเรื่องเนกขัมมะ หมายถึงการออกบวช แต่ในที่นี้ตีความให้หมายถึงการใช้ชีวิตให้เหมือนการ ปฏิบัติธรรม ซึ่งสะท้อนอยู่ในมรรคมีองค์ ๘ การดาเนินชีวิตแบบสายกลางจึงมิใช่การดาเนินชีวิตที่ สุดโต่ง แต่เน้นชีวิตที่ใช้สติในการบริโภคแต่พอดี หรือการไม่มุ่งเน้นการผลิตส่วนเกิน ( surplus) มากเกินไป อันมีรากจากความโลภและความเข้าใจผิดดังที่ปรากฏอยู่ในระบบทุนนิยม (capitalism) ที่เน้นการผลิตส่วนเกินจนเกินความพอดี หรือการมองมนุษย์เป็นเพียงสินค้าหรือ ปัจจัยการผลิต ดังนั้น แนวคิดสิทธิมนุษยชนที่สอดคล้องกับคาสอนทางพระพุทธศาสนาจึงควรมี ลักษณะการพัฒนาความดีถึงสามระดับ ดังสะท้อนอยู่ในไตรสิกขา และไตรสิกขาก็เป็นมิติที่ซ้อนทับ อยู่ในมรรคมีองค์ ๘ หรือมัชฌิมาปฏิปทา หลักการสิทธิมนุษยชนสามารถสร้างความเข้าใจได้ในกรอบคาสอนทางพระพุทธศาสนา หรือไม่ หรือหลักธรรมใดบ้างในพระพุทธศาสนาที่สามารถใช้แทนสิทธิมนุษยชนในด้านตรรกะ อย่างไรก็ดี ปราชญ์ในพระพุทธศาสนาเถรวาท เช่น พุทธทาสภิกขุ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=