วารสารราชบัณฑิตยสภาปี-43-ฉบับ-1
วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-เม.ย. ๖๑ ๘๓ โครงสร้างสิทธิมนุษยชนแนวพุทธ ผู้เขียนตั้งข้อสังเกตว่า การนาบางข้อหรือบางส่วนของสาระปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิ มนุษยชนของสหประชาชาติมาร่วมบูรณาการกับพุทธธรรมเป็นสิ่งที่ไม่ควร เพราะปฏิญญาสากลมี ตรรกะภายใน (logic) ของตนเอง การนาบางอย่างมาร่วมบูรณาการนั้นจะทาลายตรรกะที่เชื่อมต่อ ภายในของเดิม ในลักษณะที่คล้ายกัน ไม่ควรดึงบางข้อหรือบางส่วนของมรรคมีองค์ ๘ มาร่วมกับ ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ แต่ต้องใช้ทั้งระบบมรรค เพราะมรรคมีองค์ ๘ ต่างมีตรรกะภายในของตนเช่นกัน การรวมตรรกะทั้งสองโดยไม่ทาลายมโนทัศน์ย่อย ๆ จึงเป็นทางออก ที่ดีและมีความเป็นไปได้ โดยนวัตกรรมที่ได้สร้างขึ้นใหม่นี้ไม่ได้ลดคุณค่าของคาและมโนทัศน์สาคัญ ดังที่ปรากฏในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ เช่น ประชาธิปไตย รัฐสวัสดิการ สิทธิทางปัญญา ผู้ลี้ภัย ที่ลี้ภัย ซึ่งเป็นเรื่องหรือปรากฏการณ์ทางสังคมที่เกิดขึ้นเมื่อไม่นานมานี้ ความกังวลที่ว่าการเน้นสิทธิจะแย้งกับคาสอนทางพระพุทธศาสนาในเรื่องอนัตตานั้น ผู้เขียนเห็นว่าสิทธิกับหน้าที่เป็นของที่อยู่เคียงคู่กันเสมอ มิว่าเราจะเรียก “ปฏิญญาสากลว่าด้วย สิทธิมนุษยชน” แต่แท้จริง คือ “ปฏิญญาหน้าที่มนุษยชน” ด้วยนวัตกรรมที่สร้างขึ้นใหม่นี้จะไม่มี ทางทาให้ชาวพุทธมีอัตตา เพราะทุกอย่างถูกกากับด้วยคาว่า “สัมมา” ในฐานะคาคุณศัพท์ที่กากับ คุณภาพไว้โดยปริยาย เช่น สัมมาทิฏฐิ สัมมากัมมันตะ เป็นต้น หากมองไกลกว่าบรรดาปราชญ์ เถรวาท นักปราชญ์มหายาน เช่น มาซาโอ อาเบ (Masao Abe) เห็นว่า แนวคิดสิทธิมนุษยชน ตะวันตกยังมีทัศนะที่สะท้อนความเห็นแก่ตัวเช่นกัน เพราะในความเป็นจริง คาสอนทาง พระพุทธศาสนาไปไกลกว่าระดับมนุษย์ต่อมนุษย์ คาสอนทางพระพุทธศาสนาเน้นความเคารพต่อ ทุกสรรพสิ่ง โดยเฉพาะทุกสรรพสิ่งที่คิดได้และรู้สึกได้ มนุษย์จึงเป็นส่วนเดียวของจักรวาล หรือการ กระทาของมนุษย์ล้วนกระทบทุกสิ่งในจักรวาล หากมองจากหลักธรรม “ปฏิจจสมุปบาท” อย่างไรก็ดี ปฏิจจสมุปบาทก็มิได้ระบุอะไรเกี่ยวกับแนวคิดสมัยใหม่ เช่น ระบบรัฐ รัฐสวัสดิการ ที่ลี้ ภัย อาจกล่าวว่า ปฏิจจสมุปบาทเป็นเพียงเรื่องสภาพธรรมชาติ หรือภววิทยา/อภิปรัชญา ในมิติของการดาเนินชีวิต ขอบเขตสาระของมัชฌิมาปฏิปทามีลักษณะที่กว้างใหญ่และ ลึกกว่าแนวคิดสิทธิมนุษยชนที่มิได้ระบุเป้าหมายของวิถีชีวิตที่ดีว่าควรเป็นอย่างไร เพราะสิทธิ มรรคมีองค์ ๘ แนวคิดเรื่องกรรม ทิศ ๖ ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ของสหประชาชาติ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=