วารสารราชบัณฑิตยสภาปี-43-ฉบับ-1
วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-เม.ย. ๖๑ ๘๒ มิได้สะท้อนแนวคิดพุทธปัญญา หรือแนวคิดเ รื่องการละกิเลส หรือความไม่ต้องอยาก (desirelessness) ซึ่งเป็นแก่นคาสอนที่สาคัญทางพระพุทธศาสนา นี้เป็นระดับความดีที่สูงที่สุด นอกจากนั้น จะถูกต้องมากกว่า หากคีโอนยอมรับว่า แนวคิดว่าด้วยเสรีภาพ/อิสรภาพในปฏิญญา สากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ ได้สะท้อนโลกทัศน์แบบจอห์น สจ็วร์ต มิลล์ ที่เชื่อว่า มนุษย์ควรให้สิทธิและเสรีภาพในการแสดงออกอย่างไร้จากัด แต่ทว่า การกระทาใด ๆ ของมนุษย์ นั้นจะต้องไม่รบกวนหรือละเมิดสิทธิและเสรีภาพของผู้อื่น ส่วนพระพุทธศาสนามิได้มองแค่สิทธิ มนุษย์ แต่ทว่ามองไปไกลกว่านั้นมาก โดยรวมถึงสิทธิและเสรีภาพของทุกสรรพสิ่ง ความเท่าเทียม กันในการทาความดี หรือการบรรลุธรรม ดังที่คีโอนและนักวิชาการคนอื่น ๆ เสนอก็มิใช่ความเท่า เทียมกันในมิติทางกฎหมาย หรือจากมุมมองของปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนของ สหประชาชาติ การทาหน้าที่ด้วยปัญญาดังปรากฏในมัชฌิมาปฏิปทาหรือมรรคมีองค์ ๘ จะสามารถ ก่อให้เกิดสิทธิได้ในขอบเขตกว้างขวาง หากพิจารณาตามตรรกะทางนิติศาสตร์ที่ว่า หน้าที่ย่อม ก่อให้เกิดสิทธิ (Duties entail rights) หรือหน้าที่เป็นอีกด้านของสิทธิ (if there is a duty, there is a corresponding right.) ในนัยนี้ หลักธรรมเรื่องมัชฌิมาปฏิปทาจึงลึกกว่าศีล ๕ และไปไกล กว่าสันติภาพตามความหมายแบบทั่วไปในฐานะเป้าหมายของปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ของสหประชาชาติ การไม่ละเมิดสิทธิของมนุษย์ผู้อื่นเพราะมนุษย์มีศักดิ์ศรี การบูรณาการปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนกับมัชฌิมาปฏิปทา มรรคมีองค์ ๘ แนวคิดเรื่องกรรมและวิบาก และทิศ ๖ จึงเป็นเรื่องที่เป็นไปได้และน่าสนใจ นอกจากนั้น หากลอง สังเกตให้ดี คนไทยจานวนหนึ่งในยุคปัจจุบันต่างก็ดาเนินชีวิตในแบบนี้อยู่แล้ว กล่าวคือ ตระหนัก ในความสาคัญของสาระของปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ แต่ก็ยัง พยายามปฏิบัติตัวอย่างดีตามคาสอนเรื่องมรรคมีองค์ ๘ และเชื่อเรื่องกรรมและวิบากว่าเป็นเรื่อง จริง ในขณะเดียวกันก็ยอมรับว่าระดับความสาคัญทางความสัมพันธ์ต่อบุคคลในสังคมที่รายล้อม ตนเอง ดังปรากฏในเรื่องทิศ ๖ เป็นเรื่องสมเหตุสมผล อย่างไรก็ดี แนวคิดเรื่องกรรมและวิบากเป็นเรื่องสาคัญ แต่ทว่ายังควรต้องเข้าใจให้ ถูกต้องสมบูรณ์ เพราะความเข้าใจไม่รอบด้านอาจทาให้หลายคนตีความว่าแนวคิดนี้ทาให้คน ยอมรับในความไม่เท่าเทียมกันของมนุษย์ การตีความแบบนี้มิใช่วิธีการที่รอบด้าน เพราะกรรม สมบูรณ์ด้วยเจตนา นั่นหมายความว่าเราสามารถใช้ศักยภาพปัจจุบันสร้างกรรมใหม่เพื่อตนเองและ เพื่อเปลี่ยนโลก โดยเฉพาะการสร้างกรรมดีในปัจจุบันเพื่อรับผลในอนาคต ยิ่งกว่านั้น หากไม่มี แนวคิดเรื่องกรรมและวิบากแล้ว การคิดเชิงความรับผิดชอบทางศีลธรรมจะเป็นสิ่งที่อาจไม่ค่อย สมจริง
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=