วารสารราชบัณฑิตยสภาปี-43-ฉบับ-1

วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-เม.ย. ๖๑ ๘๑ ศักยภาพการทาความดีของตนไปสู่ความดีทั้ง ๓ ระดับ โดยทั่วไปมักเริ่มต้นจากระดับศีลซึ่งเป็นเรื่อง ความประพฤติ ไปสู่ระดับสมาธิซึ่งเป็นเรื่องเทคนิคในการสร้างสติ และสร้างความสุขสงบขึ้นในใจและ ระดับปัญญาซึ่งเป็นเรื่องการรู้สรรพสิ่งตามความเป็นจริง ในที่นี้อาจมองว่าเป็นเรื่องที่พระพุทธเจ้าตรัส รู้หรือพุทธปรัชญา หรือแม้แต่เนื้อหาสาคัญที่แนวคิดว่าด้วยอิสรภาพในทุกระดับสามารถพัฒนาขึ้นมา ได้ อย่างไรก็ดี ไตรสิกขาต่างปรากฏอยู่ในมัชฌิมาปฏิปทา การเลือกมัชฌิมาปฏิปทาจึงเท่ากับการ เลือกไตรสิกขา หากพิจารณาในด้านหลักการ เสรีภาพ ความเท่าเทียมกัน และภราดรภาพ ซึ่งได้รับ การยอมรับว่าเป็นหลักการสากลสาคัญของแนวคิดสิทธิมนุษยชน เป็นเรื่องที่สามารถเข้าใจได้ หรือ สามารถสร้างความชอบธรรมได้ในกรอบคาสอนทางพระพุทธศาสนา ทั้งนี้เพราะหลักการพื้นฐาน ทั้งสามของสิทธิมนุษยชนสามารถพบได้ในหลักปฏิบัติของพระพุทธศาสนา หากพิจารณา ในด้านแนวคิด แนวคิดว่าด้วยศักดิ์ศรีแห่งความ เป็นมนุษย์ พระพุทธศาสนาเห็นว่ามนุษย์มีศักยภาพในการทาความดีอย่างไม่สิ้นสุด หากกล่าวในแบบ วิทยาศาสตร์ มนุษย์เป็นสัตว์ประเภทเดียวที่สามารถคิดทางจริยธรรม วิมุตติหรือเสรีภาพใน พระพุทธศาสนาได้ มิได้เน้นแต่มิติเสรีภาพภายนอก หรือเสรีภาพจากการแทรกแซง การกดขี่ แต่ ยังรวมถึงเสรีภาพในความหมายของการหลุดพ้น จึงแตกต่างกับเสรีภาพในนิยามของโลกตะวันตก เสรีภาพในกรอบคาสอนทางพระพุทธศาสนาจึงเป็นเรื่องปัญญาซึ่งตรงกับเรื่องวิมุตติ (Vimutti) ที่ นักวิชาการตะวันตกนิยมเรียกว่า “เสรีภาพทางจิตวิญญาณ (spiritual freedom)” ดังที่วิลเลียม ไกด์เนอร์ (William Gairdner) ตั้งชื่อนี้ให้แก่พระพุทธศาสนา แม้ว่าชาวพุทธไม่เคยใช้ชื่อใน ลักษณะเช่นนั้น หรือแม้แต่คาว่า “เสรีภาพทางปัญญา” ดังที่สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต) ได้เรียกแบบนั้น อย่างไรก็ตาม หากพิจารณานัยของปฏิจจสมุปบาท อิสรภาพในทุกระดับ ทุกมิติ ทุกประเภท คือความสัมพันธ์ที่เปรียบเสมือนเรื่องเดียวกันหมด แม้ว่าเดเมียน คีโอน พยายามแสดงให้เห็นชัดว่า ศีล ๕ ในพระพุทธศาสนาสามารถแปลง กลับไปเป็นเรื่องสิทธิที่เท่าเทียมกัน (equal rights) ดังปรากฏในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิ มนุษยชนของสหประชาชาติ แต่มรรคมีองค์ ๘ สามารถแปลงเป็นสิทธิได้เช่นกัน สิทธิและเสรีภาพ ที่แปลงมาจากมรรคมีองค์ ๘ มีขอบเขตกว้างไกล นอกจากนั้น ศาสนาพุทธไม่เคยสอนคนในเรื่อง การอ้างสิทธิ์ (assertion of rights) ซึ่งอาจสะท้อนแนวโน้มอหังการ หรือนาไปสู่สภาพหรือ บรรยากาศในเชิงปรปักษ์ (adversarial) ดังที่สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต) และแซลลี บี. คิง ได้อธิบายไว้อย่างชัดเจน นอกจากนั้น พระพุทธศาสนากาหนดให้แต่ละคนปฏิบัติ/ทาหน้าที่ ของตนเอง ทั้งนี้เพราะหน้าที่คือธรรมะ การทาหน้าที่คือการปฏิบัติธรรม การทางานคือการปฏิบัติ ธรรม คีโอนไม่สังเกตเห็นความหมายที่ซ่อนลึกลงไป (underlying sense) ของแนวคิดว่าด้วย สิทธิและอิสรภาพ/เสรีภาพดังที่ปรากฏในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติว่า

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=