วารสารราชบัณฑิตยสภาปี-43-ฉบับ-1
วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-เม.ย. ๖๑ ๘๐ Cassin) หนึ่งในบรรดาผู้ยกร่างปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ ผู้ซึ่งต่อมา ได้รับสมญานามเป็นบิดาแห่งปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ อย่างไรก็ตาม การวิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างสิทธิมนุษยชนกับคาสอนทาง พระพุทธศาสนาในมิติของจริยศาสตร์ระดับรากฐานทางปรัชญา กลับปรากฏในงานนิพนธ์ของสมเด็จ พระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตโต) งานวิจัยเชิงเปรียบเทียบในอดีตส่วนมากเน้นการวิเคราะห์เพียง ระดับแนวคิดเรื่องสิทธิ หรือระดับหลักการของสิทธิมนุษยชน (เสรีภาพ ความเท่าเทียมกัน และ ภราดรภาพ) และพยายามเสนอความคิดว่า อิสรภาพจากกิเลส หรือเครื่องร้อยรัดเป็นสิทธิมนุษยชน ในพระพุทธศาสนา ทั้งที่จริงแล้วเรื่องอิสรภาพจากกิเลสเป็นพุทธปัญญาหรือพุทธญาณวิทยา ไม่มี อะไร ที่จะสามารถเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตดังที่สะท้อนในปรัชญาของจอห์น สจ็วร์ต มิลล์แต่อย่างไร การหาแนวคิดเรื่องเสรีภาพ ความเสมอภาค และภราดรภาพในคาสอนทางพระพุทธศาสนา เป็นเรื่องที่สามารถทาได้ไม่ยากและนักวิชาการในอดีตต่างเคยศึกษาเรื่องทานองนี้ ทั้งนี้ เพราะ พระพุทธศาสนามีเนื้อหาและองค์ความรู้ที่กว้าง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พระไตรปิฎกสามารถใช้เป็น แหล่งความรู้และแหล่งอ้างอิงขนาดใหญ่ที่สาคัญสาหรับชาวพุทธเถรวาท อาศัยบทวิเคราะห์ของพระภิกษุสงฆ์เถรวาทและนักวิชาการตะวันตก โดยเฉพาะอย่างยิ่งบท วิเคราะห์ของเดเมียน คีโอน ที่เสนอว่า สิทธิมนุษยชนสามารถเข้าใจได้ในกรอบคาสอนทางพระพุทธศาสนา และงานวิจัยภาคสนามของแซลลี บี คิง ศึกษาการใช้ภาษาสิทธิมนุษยชนของพระภิกษุสงฆ์ในพม่า พบว่า ๑) สิทธิมนุษยชนของตะวันตกเชื่อในศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์ ส่วนคาสอนทางพระพุทธศาสนาเห็นว่า การได้เกิดเป็นมนุษย์เป็นสัตว์ประเภทเดียวในสังสารวัฏที่สามารถบรรลุธรรมหรือแม้แต่ตรัสรู้ได้ ซึ่งเป็น แหล่งที่มาของศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์ ๒) สิทธิมนุษยชนของตะวันตกมักสันนิษฐานล่วงหน้าว่า ความ เท่าเทียมกันของมนุษย์เป็นเรื่องจริง ส่วนพระพุทธเจ้าปฏิเสธระบบวรรณะ ดังนั้น พระพุทธองค์จึงเชิญชวน ประชาชนจากชนชั้นวรรณะต่าง ๆ มาปฏิบัติธรรมะในแบบพระพุทธศาสนา และตอกย้าว่ามนุษย์ทุกคน สามารถตรัสรู้ได้ ตรงจุดนี้สามารถตีความได้ว่าพระพุทธศาสนาเน้นความเท่าเทียมกันในเรื่องของ ความสามารถในการบรรลุธรรม หรือในการเป็นพระอรหันต์ ๓) ศีล ๕ แม้ว่าเน้นมิติเรื่องหน้าที่ แต่ก็สามารถ แปลงกลับมาเพื่อสะท้อนสิทธิได้ ดังเช่นการห้ามฆ่าสัตว์ จึงเท่ากับสิทธิในการมีชีวิต ๔) สังคมเปิดและเสรี มักสนับสนุนความมั่นคงในความเป็นส่วนตัวและเสรีภาพทางความคิด เสรีภาพทางศาสนา เสรีภาพการ รวมกลุ่ม จึงเป็นเงื่อนไขพื้นฐานสาคัญในการดาเนินชีวิตแบบพุทธ อย่างไรก็ดี งานวิจัยของแซลลี บี คิงนี้ กลับเสนอมุมมองของปราชญ์ในจารีตเถรวาทที่ไม่ปฏิเสธความจาเป็นในการดารงอยู่ของระบบ สิทธิมนุษยชน แต่เสนอว่าการทาความดีของมนุษย์มิควรหยุดเพียงแค่ระดับศีลหรือระดับการไม่ละเมิดสิทธิ์ และมนุษย์ควรพัฒนาตนเองไปสู่ระดับของความดีที่สูงขึ้น หากพิจารณาในด้านโครงสร้าง ไตรสิกขาเป็นโครงสร้างสาคัญของพระพุทธศาสนาที่ พระภิกษุสงฆ์ใช้วิเคราะห์เรื่องความดี รวมถึงนัยระดับภูมิปัญญาแห่งสิทธิมนุษยชน ดังที่ทราบกันดีว่า ไตรสิกขาประกอบด้วย ศีล สมาธิ และปัญญา ดังนั้น ชาวพุทธมักคาดหวังว่า ตนสมควรต้องพัฒนา
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=