วารสารราชบัณฑิตยสภาปี-43-ฉบับ-1

วารสารราชบัณฑิตยสภาฉบับนี้เป็นปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๑ (มกราคม–เมษายน) ออกในโอกาส มหามงคลวันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี วันที่ ๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๖๑ ขอทรงพระเจริญ บทความที่เผยแพร่ในวารสารราชบัณฑิตยสภาฉบับนี้ประกอบด้วยบทความ ๘ เรื่อง เป็น บทความของราชบัณฑิต และภาคีสมาชิก จากสานักธรรมศาสตร์และการเมือง ๒ เรื่อง สานัก ศิลปกรรม ๔ เรื่อง และจากบุคคลภายนอกอีก ๒ เรื่อง ซึ่งบทความแต่ละเรื่องผู้เขียนมุ่งเน้น องค์ความรู้ในศาสตร์ของตน บทความแรกเรื่อง การเสด็จพระราชดาเนินเยือนต่างประเทศของ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าราไพพรรณี พระบรมราชินี ทาให้ ทราบถึงพระราชประสงค์การเสด็จพระราชดาเนินเยือนประเทศต่าง ๆ ทั้งเอเชียและยุโรปแต่ละครั้ง ประโยชน์ที่ทรงได้รับเพื่อจะนามาพัฒนาประเทศไทย ส่วนผู้ที่เชื่อในเรื่องโชคลางคงจะได้รับความรู้เรื่องโชคลางได้ดียิ่งขึ้นเมื่อได้อ่านบทความ เรื่อง อุปาตะ : ความเชื่อเรื่องโชคลางในศาสนาพราหมณ์และศาสนาฮินดู ซึ่งจะให้รายละเอียดว่าใน ศาสนาพราหมณ์และศาสนาฮินดูมีความเชื่อเรื่องโชคลางอย่างไร มีพิธีป้องกันและแก้ไขอย่างไร และ บทความเรื่อง การสื่อความนัยในวรรณคดีไทย ซึ่งมีเนื้อหาเรื่องการสื่อสารที่เน้นเจตนาในการสื่อสาร ถึงผู้รับอย่างเจาะจง โดยอาศัยเงื่อนไขบางอย่างด้านบริบทการสื่อสาร เช่น บริบททางวัฒนธรรม หรือ บริบทประสบการณ์ เป็นกลวิธีการประพันธ์ที่ช่วยเพิ่มอรรถรส ความน่าสนใจและน่าประทับใจในเนื้อ เรื่องของวรรณคดีเรื่องนั้น ๆ ผู้เขียนได้นาเสนอสาระและตัวอย่างไว้อย่างละเอียดชัดเจน ผู้ที่สนใจด้านการละคร บทความเรื่อง โนะ : นาฏกรรมญี่ปุ่น ให้ความรู้เกี่ยวกับละคร ญี่ปุ่น ที่พัฒนาจากละครเร่ซึ่งได้รับการอุปถัมภ์จากโชกุนจึงกลายเป็นละครของชนชั้นสูง ผู้เขียนให้ ความรู้เกี่ยวกับที่มาของละครโนะ วิธีการแสดง เรื่องที่นามาแสดง ตลอดจนการสืบทอด ส่วน บทความเรื่อง การวิเคราะห์คาสอนทางพระพุทธศาสนาเพื่อพัฒนาแนวคิดสิทธิมนุษยชน ผู้เขียนได้ กล่าวถึงหลักธรรมคาสอนในพุทธศาสนาที่สามารถเทียบเคียงเท่ากับสิทธิมนุษยชน ซึ่งเป็นการคิด วิเคราะห์ในลักษณะสิทธิมนุษยชนแนวพุทธ เป็นความพยายามที่จะเชื่อมโยงมโนทัศน์สมัยใหม่เข้ากับ พุทธศาสนา และบทความเรื่อง นวัตกรรมกับการเติบโตทางเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกาในปลาย ศตวรรษที่ ๑๙ ให้ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนานวัตกรรมที่หลากหลายทาให้เกิดสิ่งประดิษฐ์และ องค์ความรู้ที่เสริมให้เกิดการปฏิวัติอุตสาหกรรมในสหรัฐอเมริกาช่วงหลังศตวรรษที่ ๑๙ ซึ่งทาให้เกิด การเปลี่ยนแปลงสังคมและเปลี่ยนวิถีชีวิตของชาวอเมริกัน ลาดับต่อไปคือบทความเรื่อง ฐานันดร ๔ ผู้อ่านจะได้ทราบถึงที่มาของการใช้คาว่า ฐานันดร ๔ และผู้ที่ริเริ่มแปลคาศัพท์คานี้มาใช้ในภาษาไทย เป็นคนแรก รวมถึงบทบาทของฐานันดร ๔ ที่มีต่อสังคม สุดท้ายบทความเรื่อง ดนตรีบนปลายนิ้ว ผู้อ่านจะได้ความรู้เพื่อความบันเทิงที่สามารถ เข้าถึงได้เพียงแค่ใช้โทรศัพท์มือถือหรือระบบอินเทอร์เน็ตทั่วไป โดยผู้เขียนซึ่งเป็นปรมาจารย์ด้าน ดนตรีไทยได้ถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ผ่านการเล่าเรื่องด้วยการใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย และ สามารถปฏิบัติตามได้ทันที

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=