วารสารราชบัณฑิตยสภาปี-43-ฉบับ-1
วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-เม.ย. ๖๑ ๗๙ เพราะอวิชชานี้เองที่ทาให้มนุษย์มองไม่เห็นว่าอะไรคือสัมมาทิฏฐิ ดังนั้นสัมมาทิฏฐิจึงเป็นเรื่อง สาคัญมาก หรือเป็นพื้นฐานทางความคิดซึ่งจะขาดมิได้ที่จะทาหน้าที่โน้มน้าวจิตใจมนุษย์ในการ พัฒนาศักยภาพการทาความดีของตน ดังสะท้อนในการศึกษาเล่าเรียน (ไตรสิกขา) โลกทัศน์พุทธ จึงแตกต่างกับโลกทัศน์ตะวันตกในระดับฐานคติ นอกจากนั้น คาว่า “เหตุผล” ในประโยค ดังกล่าวยังเป็นคาที่ก่อปัญหามากทางปรัชญา เพราะคาถามที่อาจตามมา คือ เหตุผลระดับใด เหตุผลในระดับตรรกะหรือเหตุผลทางญาณวิทยาแบบวิทยาศาสตร์ปัจจุบันอาจใช้กับเรื่องค่านิยม ไม่ได้ แต่สิ่งที่เหมือนกันระหว่างโลกทัศน์ทั้งสองนี้คือ มนุษย์เป็นสัตว์ใจสูง คิดได้ในเชิงจริยธรรม พระพุทธศาสนายังเชื่อว่ามนุษย์สามารถพัฒนาความดีของตนในระดับสูงยิ่งขึ้นได้ มัชฌิมาปฏิปทาจึงเป็นหลักธรรมที่รวมหรือครอบคลุมทุกมิติของชีวิต โดยเฉพาะใน ระดับปัจเจกบุคคล และสามารถใช้ได้ทั้งผู้ปกครองและผู้อยู่ใต้ปกครอง หรือทั้งผู้รักษากฎหมาย และคนทั่วไปที่มีหน้าที่ทาตามกฎหมาย หรือส่งเสริมการเคารพต่อกฎหมายบ้านเมือง นอกจากนั้น มัชฌิมา ปฏิปทายังมีความหมายถึงทางสายกลาง สิ่งที่ไม่เป็นทางสายกลางคือลัทธิปัจเจกชนนิยม สุดโต่ง (excessive individualism) ที่พบในโลกตะวันตก เช่น การให้อิสรเสรีภาพอย่างเต็มที่ การ หมกมุ่นในการเสพ การทางานเลี้ยงชีพจนละเลยคุณค่าของการได้เกิดมาเป็นมนุษย์ จนละเลยว่า อะไรเป็นสิ่งที่มนุษย์ควรทาให้แก่สังคม สิทธิและเสรีภาพลักษณะนี้จึงเป็นสิ่งที่น่ากังวลตามทัศนะ ของพระภิกษุสงฆ์เถรวาท ข้อดีของมัชฌิมาปฏิปทาที่คนมักมองข้าม คือการที่หลักธรรมนี้ระบุชัดเจนมากในเรื่อง สัมมาอาชีวะ (การทาอาชีพที่จัดว่าดีตามคาสอนทางพระพุทธศาสนา) ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่พบใน ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ หรือแม้ในหลักธรรมอื่น ๆ โดยเฉพาะ หลักธรรมนี้ได้ตีกรอบชัดเจนกว่าเรื่องศีล ๕ ยังไม่สามารถนาพาชีวิตมนุษย์ไปสู่ความดีระดับสูงได้ รวมทั้งนิพพาน เป็นที่น่าสังเกตว่าอาชีพที่ดีสาหรับมนุษย์ที่สามารถนาพามนุษย์ไปถึงนิพพานนั้น ต้องมีความดี การไม่เบียดเบียนผู้อื่น ทุกสรรพสิ่งที่คิดได้และรู้สึกได้เป็นลักษณะเด่นของ มัชฌิมาปฏิปทา สามารถตีความรวมไปถึงการไม่เบียดเบียนมนุษย์ สัตว์เดรัจฉาน อสุรกาย เปรต เทวดา พรหม เป็นต้น และข้อดีของมัชฌิมาปฏิปทาอีกประการหนึ่ง คือ มัชฌิมาปฏิปทามีความดี ทั้งในสามระดับ ดังสะท้อนคาสอนเรื่องไตรสิกขา จากการทบทวนเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวเนื่อง พบว่า งานวิจัยของไทยส่วนใหญ่เน้น การเปรียบเทียบในระดับหลักการสิทธิมนุษยชน เช่น กาลามสูตรสะท้อนเสรีภาพในการนับถือ ศาสนาหรือเสรีภาพในการเลือกที่จะเชื่อ ความเท่าเทียมกันที่พบในพระพุทธศาสนาคือการที่ทุกคน มีสิทธิเท่าเทียมกันในการทาความดี หรือในการบาเพ็ญเพียรภาวนาที่จะบรรลุเป็นพระพุทธเจ้า พรหมวิหาร ๔ เป็นภราดรภาพที่สามารถพบในพระพุทธศาสนา และนักวิชาการจานวนหนึ่งยังมอง สิทธิมนุษยชนว่าเป็นเพียงเรื่องศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ หรือมองเป็นเรื่องสิทธิและเสรีภาพ เท่านั้น แต่ยังไม่เน้นการมองชีวิตแบบองคาพยพดังที่สะท้อนในโลกทัศน์ของเรอเน กาแซง ( Rene
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=