วารสารราชบัณฑิตยสภาปี-43-ฉบับ-1
วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-เม.ย. ๖๑ ๗๘ และเสรีภาพของผู้อื่น ซึ่งทาให้มนุษย์ทุกคนสามารถดาเนินชีวิตอย่างสงบสุข นอกจากนั้น “ความกรุณา (compassion)” ในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติมีนัยพอที่จะเทียบเคียงได้กับ แนวคิดเรื่องความเมตตากรุณาที่ปรากฏในคาสอนทางพระพุทธศาสนา อย่างไรก็ดี “ความกรุณา” ใน ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติเน้นระดับมนุษย์ต่อมนุษย์ แต่ภววิทยาของพุทธ ไกลกว่านั้น เพราะมนุษย์ในแบบพุทธยังต้องเมตตาต่อทุกสรรพสิ่ง การกล่าวว่าหลักธรรมใด ๆ ในพระพุทธศาสนาเท่ากับปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิ มนุษยชนของสหประชาชาติคงเป็นการกล่าวเกินจริง เพราะแท้จริงแล้ววิวัฒนาการของระบบ จริยศาสตร์ทั้งสองแตกต่างกันมากทั้งในมิติสถานที่และกาลเวลา ดังนั้น การบูรณาการระบบ จริยศาสตร์ทั้งสองนี้จึงเป็นเรื่องสมจริงและมีความสาคัญ เพราะสมัยพุทธกาล โลกยังไม่มีระบบ รัฐสมัยใหม่ (modern state system) ที่มีกฎบัตรสหประชาชาติและองค์การระหว่างประเทศเช่น สหประชาชาติปัจจุบัน นัยของปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติเรียกร้องการ ใช้ประชาธิปไตยที่จาต้องมีการเลือกตั้งโดยประชาชนอย่างเท่าเทียมกัน แต่แนวคิดเรื่อง ประชาธิปไตยในความหมายปัจจุบันไม่มีในสมัยพุทธกาล ระบบต่าง ๆ ยังไม่มี เช่น รัฐสวัสดิการ ระบบการเลือกตั้ง การคิดเรื่องทรัพย์สินทางปัญญา การคิดในแบบจารีตกฎหมายระหว่างประเทศ โดยเฉพาะประเด็นสถานะของผู้ลี้ภัยที่ทุกรัฐต้องยอมรับ ประชาชนยุคพุทธกาลยังไม่รู้จักความเป็น พลเมืองแบบปัจจุบัน ความคิดเรื่องบัตรประชาชนต่างเป็นผลผลิตที่เกิดขึ้นหลังยุคกลาง ดังนั้น การบูรณาการ ๒ ระบบจึงเป็นเรื่องจาเป็นในการดึงสองโลกและสองยุคสมัยที่ห่างกันกว่าสองพัน กว่าปีเข้าผสมให้เป็นเนื้อเดียวกัน หากต้องการรักษานัยและความหมายของมโนทัศน์สมัยใหม่ มัชฌิมาปฏิปทา หรือมรรคมีองค์ ๘ เป็นหลักธรรมที่มีความละเอียดและความกว้างใน ด้านขอบเขตของการดาเนินชีวิตที่ดีตามคาสอนของพระพุทธเจ้า หากสังเกตให้ดี มัชฌิมาปฏิปทา ยังมีความนัย (subtext) และฐานคติ (assumption) ที่ลึกพอจะเสริมด้านที่ขาดหายไปของสาระ ของปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติที่เน้นมิติต่าง ๆ เช่น มิติการดาเนินการ ทางศาล มิติการศึกษา มิติเสรีภาพในกรรมสิทธิ์ มิติเสรีภาพทางการเมือง มิติเสรีภาพทาง วัฒนธรรม มิติเสรีภาพทางสังคม มิติการประกอบอาชีพ มิติสาธารณสุข มิติการพักผ่อนหย่อนใจ ฯลฯ ส่วนข้อเสนอเรื่องศีล ๕ ความเมตตากรุณา หรือหลักธรรมอื่น ๆ ที่นักวิชาการพุทธศาสตร์ ในอดีตเสนอ มักมีขอบเขตไม่กว้างพอที่จะใช้เป็นสิทธิมนุษยชนแนวพุทธ หรือใช้ในการเทียบเคียง กับสาระของปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ ประโยคที่ว่า “มนุษย์มีเหตุผลและมโนธรรม และควรปฏิบัติต่อกันในแบบภราดรภาพ” ที่ปรากฏในข้อที่ ๑ แห่งปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาตินั้นสะท้อนว่า โดย ธรรมชาติมนุษย์มีมโนธรรมหรือเหตุผลอยู่ก่อนแล้ว แต่ในคาสอนทางพระพุทธศาสนา มนุษย์มี ศักยภาพที่จะพัฒนาความดี หรือพัฒนาความคิดทางจริยธรรมเมื่อมนุษย์บวชเรียนหรือศึกษา ความรู้จนรู้ตามความเป็นจริง มนุษย์มีแนวโน้มที่จะคิดตามสัญชาตญาณ หรือมนุษย์ยังมีอวิชชา
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=