วารสารราชบัณฑิตยสภาปี-43-ฉบับ-1
วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-เม.ย. ๖๑ ๗๗ ประเด็นอภิปราย ประเด็นคาถามที่น่าสนใจจานวนมาก เช่น มีหลักธรรมใดในคาสอนทางพระพุทธศาสนา สามารถครอบคลุมมโนทัศน์สมัยใหม่ได้จริง หากไม่มี มีหลักธรรมใดที่มีนัยใกล้เคียง หรือสามารถเติม เต็มปรัชญาของจอห์น สจ็วร์ต มิลล์ มโนทัศน์เรื่องสิทธิ์มีอยู่ในกรอบคาสอนทางพระพุทธศาสนา หรือไม่ ประเด็นมโนทัศน์เรื่องสิทธิ์ ลิลลี เดอ ซิลวา (Lily de Silva) เห็นว่า แนวคิดว่าด้วยสิทธิ์ ในความหมายตะวันตกซึ่งหมายถึงการอ้างสิทธิ์ ไม่สามารถพบในกรอบคาสอนทางพระพุทธศาสนา เนื่องจากศาสนาพุทธเน้นเรื่องหน้าที่และความรับผิดชอบ แม้ว่านักวิชาการจานวนหนึ่งเห็นว่า ศาสนาพุทธไม่มีมโนทัศน์เรื่องสิทธิ์ในแบบนิติศาสตร์ ซึ่งมีต้นกาเนิดและพัฒนาขึ้นในยุโรปตะวันตก แต่ก็ยังไม่มีข้อยุติที่ทุกฝ่ายสามารถยอมรับ อย่างไร ก็ดี สังคมไทยในอดีตมีมโนทัศน์ว่าด้วยสิทธิ์ อันเป็นผลจากการรับมโนทัศน์ตะวันตกที่มาพร้อมกับ การรับแนวคิดทางนิติศาสตร์จากโลกตะวันตกแต่มีนักวิชาการจานวนไม่น้อยเห็นว่า ศาสนาพุทธได้ ให้คุณค่าที่สูงส่งแก่การเป็นมนุษย์ พฤติกรรมทางจริยธรรม อวิหิงสา อิสรภาพของมนุษย์ ค่านิยม ทางจารีต เหล่านี้เป็นพื้นฐานเหตุผลในการยอมรับสิทธิมนุษยชน วาทกรรมว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ของชาวพุทธจึงมีประเด็นหลักดังนี้ ๑) คุณค่าของการเกิดเป็นมนุษย์และการที่มนุษย์สามารถบรรลุ ธรรมได้ (Preciousness of Human Birth and Human Enlightenability) ๒) เบญจศีล หรือ ศีล ๕ (Five Lay Precepts) ๓) ความเท่าเทียมกันของมนุษย์ (Human Equality) ๔) อหิงสา (Non Violence) และ ๕) อิสรภาพของมนุษย์ (Human Freedom) (John Witte Jr.and M. Christian Green, 2012, 107-109) ผลการศึกษา จากการศึกษาพบว่า การนิยามความดีในแบบพุทธแตกต่างกับการนิยามความดีในปรัชญาของ จอห์น สจ็วร์ต มิลล์ ที่มีอิทธิพลต่อปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ ปรัชญาของ จอห์น สจ็วร์ต มิลล์ มองความดีเป็นเรื่องความสุขหรือความปรารถนาของคนส่วนใหญ่ แม้ว่าความดีและ ความสุขนั้นอาจปราศจากความเมตตากรุณาต่อสรรพสิ่งต่าง ๆ รวมถึงคนส่วนน้อย แต่เมื่อมองในระดับ หลักการพื้นฐาน เช่น ความเท่าเทียมกัน เสรีภาพ และภราดรภาพ คาสอนทางพระพุทธศาสนากับสิทธิ มนุษยชนสามารถเทียบเคียงกันได้ ดังนั้น การที่จะสรุปว่าคาสอนทางพระพุทธศาสนาแตกต่างกับแนวคิด สิทธิมนุษยชนอย่างสิ้นเชิงก็คงจะไม่ถูกต้อง ในด้านความคล้ายคลึง เป้าหมาย (aim) หรือจุดมุ่งหมาย ปลายทาง (teleology) ของแนวคิดสิทธิมนุษยชนตะวันตกและคาสอนทางพระพุทธศาสนาต่างเน้นเรื่อง สันติภาพและความสงบสุข ดังที่ทราบกันว่า พระพุทธศาสนาได้ก่อกาเนิดมาเพื่อช่วยชาวโลกให้ทราบวิธี ดับ/พ้นทุกข์ ส่วนปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติร่างขึ้นเพื่อช่วยให้ชาวโลก ตระหนักในศักดิ์ศรีที่เท่าเทียมกันแห่งความเป็นมนุษย์มากขึ้น ความตระหนักนี้จึงนาไปสู่การเคารพสิทธิ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=