วารสารราชบัณฑิตยสภาปี-43-ฉบับ-1
วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-เม.ย. ๖๑ ๗๖ นิยามศัพท์ มีคาศัพท์ที่เกี่ยวกับการศึกษาวิจัย ที่ผู้เขียนให้คาจากัดความไว้ ดังนี้ การเทียบเคียง (juxtaposition) หมายถึง การนาแนวคิด ๒ แนวมาวางเทียบกันเพื่อ สังเกตความเหมือนกันหรือความแตกต่างกัน โดยเฉพาะเพื่อใช้ในการเปรียบเทียบ การบูรณาการ (integration) หมายถึง การนาความรู้เชิงทฤษฎีโดยทั้งหมดหรือ บางส่วนมารวมกันเพื่อทาให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ การสร้าง/หามโนทัศน์ (founding) หมายถึง การสารวจคุณสมบัติ (properties) หรือลักษณะ (character) หรือหลักการ (principles) สาคัญที่มีอยู่ในแนวคิดหรือมโนทัศน์หนึ่งว่า จะมี อยู่ในอีกมโนทัศน์หรือไม่ ดังเช่น กรณีของการสารวจทางปรัชญาเพื่อหาว่า หลักการพื้นฐาน ของสิทธิมนุษยชนจะมีอยู่ในคาสอนทางพระพุทธศาสนาหรือไม่ กรอบความคิด บทความนี้ได้ประยุกต์แนวคิดเรื่องจริยศาสตร์เปรียบเทียบ (comparative ethics) เพื่อ ใช้ในการเปรียบเทียบแนวคิดทางจริยศาสตร์ ๒ แนว คือ สิทธิมนุษยชนกับพระพุทธศาสนาในมิติ สาคัญต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในมิติเป้าหมาย (teleology) มิติการหลุดพ้น (soteriology) มิติ ความดี (ethics) และมิติหลักการทั่วไป (principle) เพื่อใช้ร่วมกับบทวิเคราะห์ว่าด้วยสิทธิ มนุษยชนของปราชญ์เถรวาทและของนักวิชาการระดับแนวหน้าของโลก เช่น แซลลี บี. คิง (Sallie B. King) ศาสตราจารย์นักพุทธศาสตร์ สัญชาติอเมริกัน ซึ่งวิจารณ์จุดอ่อนของการเปรียบเทียบ ระหว่างจริยศาสตร์ทั้งสองที่ทาขึ้นในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา ดังปรากฏในบทความเรื่อง “Human Rights in Contemporary Engaged Buddhism” แซลลี บี. คิง พยายามเปรียบเทียบ ความแตกต่างระหว่างพระพุทธศาสนากับสิทธิมนุษยชนในหลายจุด และเห็นว่ารากฐานทาง ปรัชญาของสิทธิมนุษยชนพัฒนามาจากความคิดทางปรัชญาของจอห์น สจ็วร์ต มิลล์ โดยเฉพาะ อย่างยิ่งในการนิยามความดีและความสุข และได้อ้างคาวิจารณ์ของพุทธทาสภิกขุที่เกี่ยวกับสิทธิ มนุษยชน ดังนั้น การวิเคราะห์ทางจริยศาสตร์จึงเป็นความโดดเด่นในงานของแซลลี บี. คิง ซึ่งยังได้ ตอกย้าความคิดที่ว่า ความดีจากมุมมองของพระพุทธศาสนามีลักษณะเฉพาะ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การไม่ละเมิดหรือการไม่เบียดเบียนสรรพสิ่งต่าง ๆ ส่วนความดีแบบสิทธิมนุษยชนเน้นเฉพาะมิติ มนุษย์ต่อมนุษย์ และในหลายกรณีเน้นความสุขที่แฝงอยู่แบบเดียวกับที่สิทธิมนุษยชนมุ่งประโยชน์ ของคนส่วนใหญ่ และอาจต้องทาลายความสุขของคนส่วนน้อย เพราะปรัชญาของมิลล์ได้รับ อิทธิพลจากเจเรมี แบนเธ็ม ซึ่งความสุขในแบบนี้มิใช่ความดีตามแบบจริยศาสตร์พุทธ (Roger Jackson, 2003, pp.291-307)
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=