วารสารราชบัณฑิตยสภาปี-43-ฉบับ-1

วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-เม.ย. ๖๑ ๗๕ คีโอนเห็นว่า ข้อ ๓ และข้อ ๔ ของหลักธรรมอริยสัจสี่ (Four Noble Truths) คือ นิโรธ และมรรค สามารถใช้เป็นฐานเหตุผลในการลงความเห็นว่ามโนทัศน์ว่าด้วยความเท่าเทียมกัน (equality) มีอยู่ในกรอบคาสอนทางพระพุทธศาสนา มนุษย์ทุกคนเท่าเทียมกันในการกาหนดชีวิต ของตนเองที่จะกลายเป็นพระพุทธเจ้า หรือนิพพานเป็นเรื่องที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้เท่าเทียมกัน สาหรับนิโรธหรือสภาพของการไม่มีทุกข์ มนุษย์มีความเท่ากันในการประพฤติตนตามมรรคมีองค์ ๘ ในการตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ดังนั้นขีดความสามารถในการทาดีอย่างไม่มีประมาณ ( infinite human capacity for participation in goodness) จึงเป็นแหล่งที่มาของศักดิ์ศรีแห่งความเป็น มนุษย์ (Keown, 1998 : pp.16-35) ส่วนแนวคิดเรื่องสิทธิ คีโอนเสนอศีล ๕ ในฐานะสิทธิ มนุษยชนแบบพุทธ และเห็นว่าการแปลงข้อต่าง ๆ ของศีล ๕ ให้กลับเป็นเรื่องสิทธิขั้นพื้นฐานดังที่ ปรากฏในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนคงเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ โดยอาศัยแนวคิดของจอห์น ฟินนีส (John Finnis) ที่ว่า หน้าที่ก่อให้เกิดสิทธิ์ (duties entail rights) (William H. Brackney, 2013, pp.196-297) ดังจะเห็นได้ว่า หน้าที่อันเกี่ยวกับการละเว้นจากการฆ่าสัตว์อาจเท่ากับสิทธิ ของมนุษย์ที่จะมีชีวิต (right to life) เป็นต้น ในประเด็นเสรีภาพ คีโอนเห็นว่าการดาเนินชีวิตแบบ วิถีพุทธจาเป็นต้องมีเสรีภาพโดยปริยาย ดังนั้น ข้อเสนอของคีโอนจึงมีลักษณะครอบคลุมหลักการ และมโนทัศน์หลัก ๆ ของแนวคิดสิทธิมนุษยชน แต่แท้จริงแล้ว สาระทั้งหมดของปฏิญญาสากลว่า ด้วยสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติอาจใหญ่กว่าภาพทางความคิดของคีโอนมาก แพททริค เฮเดน เห็นว่า หลักมัชฌิมาปฏิปทาสามารถใช้เป็นพื้นฐานแทนสิทธิมนุษยชน ได้ เพราะมัชฌิมาปฏิปทา หรือมรรคมีองค์ ๘ มีเนื้อหาครอบคลุมชีวิตที่สมบูรณ์แบบของพุทธในทุก ด้าน เฮเดนเห็นว่ามรรคมีองค์ ๘ เป็นแกนกลางคาสอนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า การปฏิบัติ ตามมรรคมีองค์ ๘ จะช่วยสนับสนุนแนวคิดเรื่องความเมตตากรุณา ซึ่งเป็นแนวคิดพื้นฐานใน ปฏิญญาสากล (Patrick Hayden, 2001 : p.54) ตามทัศนะของผู้เขียน ข้อดีของข้อเสนอนี้คือ มรรคมีองค์ ๘ มีสาระครอบคลุมทุกมิติของชีวิตมนุษย์ที่ดีตรงตามหลักพุทธธรรมทั้งในเรื่องการ เลือกอาชีพ การดารงชีวิต และเรื่องสมาธิและปัญญาซึ่งเป็นความดีในระดับสูง แต่เฮเดนจะแก้ ประเด็นเรื่องสิทธิ์ที่พระพุทธศาสนาไม่เน้นในแบบปฏิญญาสากลว่ าด้วยสิทธิมนุษยชนของ สหประชาชาติได้อย่างไร ส่วนพระภิกษุสงฆ์ไทยจานวนหนึ่ง เช่น พุทธทาสภิกขุ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตโต) พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี เป็นต้น ต่างเคยเขียนวิจารณ์จุดอ่อนของแนวคิดสิทธิมนุษยชนไว้ ผู้เขียนอาศัยบทวิจารณ์ของพระภิกษุสงฆ์ไทยเหล่านั้นเพื่อวิเคราะห์และสังเคราะห์ร่วมกับข้อเสนอ เกี่ยวกับพระธรรมโดยนักวิชาการสาคัญของโลกในความพยายามที่จะหาว่าพระธรรมใดในคาสอน ทางพระพุทธศาสนาที่อาจช่วยพัฒนาแนวคิดสิทธิมนุษยชน และรวมถึงสิ่งที่อาจเรียกว่า “สิทธิ มนุษยชนแนวพุทธ” ควรเป็นเช่นไร

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=