วารสารราชบัณฑิตยสภาปี-43-ฉบับ-1

วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-เม.ย. ๖๑ ๗๔ หากไม่มีแนวคิดเรื่องกรรมและวิบาก ส่วนทิศ ๖ จัดว่าเป็นเรื่องปรัชญาสังคมพุทธ หรือคาสอนเรื่อง การปฏิบัติตนต่อบุคคลประเภทต่าง ๆ ในสังคม พีเรรา พระภิกษุชาวศรีลังกาได้เสนอว่าศีล ๕ สามารถใช้เป็นพื้นฐานแทนสิทธิมนุษยชน โดยยกเหตุผลว่าทุกข้อในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนสามารถผนวกเข้าในทัศนะเ รื่องชีวิต และสังคมของพระพุทธเจ้าได้ แต่ปัญหาของข้อเสนอนี้ คือ สิทธิข้อต่าง ๆ ที่ปรากฏในปฏิญญา สากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติดังกล่าว จะสามารถอธิบายและให้เหตุผลด้วย หลักธรรมใด และอะไรเป็นศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์ ซึ่งเป็นแก่นของแนวคิดว่าด้วยสิทธิ มนุษยชน (Damien Keown,1998, pp.111-140) บี. อาร์ แอมเบดการ์ (B. R. Ambedkar) ผู้ร่างรัฐธรรมนูญอินเดียเป็นบุคคลแรก ๆ ที่ กล่าวว่า หลักการพื้นฐานของสิทธิมนุษยชนสามารถพบในคาสอนทางพระพุทธศาสนา และได้ กล่าวว่าปรัชญาที่ทาให้เขาเปลี่ยนมานับถือพุทธสามารถสรุปอยู่ในคาเพียง ๓ คาคือ เสรีภาพ ความเท่าเทียมกัน และภราดรภาพซึ่งเป็นหลักการของสิทธิมนุษยชน โดยเขาอ้างว่าปรัชญา ดังกล่าวมิได้มาจากการปฏิวัติฝรั่งเศส แต่ทว่าได้นามาจากคาสอนของพระพุทธเจ้า แอมเบดการ์ เห็นว่า ภราดรภาพเป็นเพียงชื่ออีกชื่อของประชาธิปไตย ซึ่งเป็นทัศนะที่เคารพและนับถือเพื่อนร่วม ชาติ พระพุทธเจ้าทรงแปลงทัศนะว่าด้วยการเคารพและการเชื่อฟังที่อยู่ในแนวคิดฮินดูว่าด้วยธรรม ให้กลายเป็นหลักศีลธรรมสากล ตามความคิดของแอมเบดการ์ ภราดรภาพคือความเป็นพี่น้องกัน ระหว่างมนุษย์ซึ่งเป็นอีกชื่อหนึ่งของศีลธรรม (morality) (Robert Traer, 1991, pp.90-130) ข้อเสนอของแอมเบดการ์ระบุหลักการ ๓ ประการของสิทธิมนุษยชน คือ เสรีภาพ ความเท่าเทียม กัน และภราดรภาพไว้ชัดเจน และยังบอกเป็นนัยว่า พระธรรมทั้งหมดของพระพุทธองค์แทนสิทธิ มนุษยชน เจย์ แอล. การ์ฟิลด์ เสนอว่าหลักธรรมเรื่องความกรุณา (compassion) สามารถใช้เป็น พื้นฐานของสิทธิมนุษยชนในแบบพุทธ ความกรุณาเป็นคุณธรรมในคาสอนทางพระพุทธศาสนา และยังเป็น ๑ ใน ๔ ของหลักพรหมวิหาร ๔ ความกรุณากระตุ้นให้พัฒนาขีดความสามารถในการ เข้าใจคนอื่น การเห็นใจคนอื่นจนถึงขั้นที่ว่าสามารถรู้ จึงร่วมในความทุกข์ของคนอื่นที่กาลัง ประสบ ดังนั้น การ์ฟิลด์จึงเห็นว่าความกรุณาที่พบในภววิทยาแนวพุทธสามารถเป็นรากฐาน สาหรับสิทธิมนุษยชน หรือแม้แต่แทนแนวคิดสิทธิมนุษยชนได้ แต่ข้อเสนอนี้มิได้กล่าวอะไรมาก เกี่ยวกับศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์ เดเมียน คีโอน (Damien Keown, 1998 : 15) อาจารย์ด้านจริยศาสตร์ประจามหาวิทยาลัย ลอนดอนเขียนหนังสือเรื่อง Buddhism and Human Rights ใน ค.ศ. ๑๙๙๘ โดย สารวจประเด็น ต่าง ๆ ของคาสอนทางพระพุทธศาสนาเพื่อใช้เป็นพื้นฐานความคิด หากปรัชญาสิทธิมนุษยชนเชิงพุทธ (Buddhist philosophy of human rights) จาเป็นต้องมีการพัฒนาขึ้น

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=