วารสารราชบัณฑิตยสภาปี-43-ฉบับ-1
วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-เม.ย. ๖๑ ๗๓ (L. P. N. Perera) จึงเป็นเรื่องที่น่าสนใจที่ว่า เราสามารถสร้างแนวคิดสิทธิมนุษยชนในคาสอนทาง พระพุทธศาสนาได้ขนาดใด โดยจะต้องนาข้อเสนอเหล่านั้นมาพิจารณาร่วมกับคาวิจารณ์และบท วิเคราะห์ของพระภิกษุสงฆ์เถรวาทไทยที่เคยศึกษาประเด็นสิทธิมนุษยชน เช่น พุทธทาสภิกขุ สมเด็จ พระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตโต) และพระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี เพื่อหาทางออกว่าสิทธิมนุษยชนแนว พุทธ (Buddhist version of human rights) ที่ดีนั้นควรมีลักษณะอย่างไร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หาก พิจารณาจากมุมมองทางจริยศาสตร์ของพระพุทธศาสนา ดังที่ทราบกันดีว่า แนวคิดสิทธิมนุษยชนอาจพิจารณาว่า เป็นรูปแบบหนึ่งของระบบ จริยศาสตร์แบบสิทธิ์ที่เน้นมิติความดีในระดับของการไม่ละเมิดสิทธิผู้อื่น อย่างไรก็ดี หากพิจารณา ตามข้อคิดและคาวิจารณ์ของพระภิกษุสงฆ์เถรวาทไทยในประ เด็นแนวคิดสิทธิมนุษยชนแล้ว แนวคิดสิทธิมนุษยชนดังกล่าวยังขาดมิติความดีในระดับสูง เช่น สัมมาปัญญา ส่วนมัชฌิมาปฏิปทา เป็นหลักธรรมที่โดดเด่น เพราะมัชฌิมาปฏิปทา เป็นที่ยอมรับกันว่า เป็นนวัตกรรมของ พระพุทธศาสนาที่ไม่เหมือนคาสอนของศาสนาอื่น ๆ โดยเฉพาะศาสนาเชนหรือศาสนาพราหมณ์ที่ มีหลายสิ่งใกล้เคียงกับพระพุทธศาสนา ยิ่งกว่านั้น หากพิจารณาในรายละเอียดเกี่ยวกับมิติระดับ ของความดีหรือจริยศาสตร์ มัชฌิมาปฏิปทาสะท้อนความดีทั้ง ๓ ระดับ มีความลุ่มลึกในด้าน ขอบเขตแห่งความดีและมีความกว้างใหญ่ที่เพียงพอสาหรับใช้ในการดาเนินชีวิตแบบพุทธที่ดีเมื่อ เทียบกับหลักธรรมอื่น ๆ ในคาสอนทางพระพุทธศาสนา เช่น มัชฌิมาปฏิปทา ทิศ ๖ และแนวคิด เรื่องกรรม จึงได้นามัชฌิมาปฏิปทามาเสนอในบทความนี้เพื่อบูรณาการร่วมกับสาระของปฏิญญา สากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ โดยมีแนวคิดเรื่องทิศ ๖ และแนวคิดเรื่องกรรมใน ฐานะส่วนประกอบ เพื่อใช้เป็นรากฐานทางตรรกะสาหรับสิ่งที่อาจเรียกว่า สิทธิมนุษยชนแนวพุทธ (Buddhist version of human rights) แนวคิดสิทธิมนุษยชนของตะวันตกได้รับภูมิปัญญาจากหลายแหล่ง โดยเฉพาะสานัก กฎหมายธรรมชาติ สานักอรรถประโยชน์นิยม (Utilitarianism) ของจอห์น สจ็วร์ต มิลล์ (John Stuart Mill) และสานักปรัชญาเสรีนิยม เป็นต้น สิทธิมนุษยชนประกอบด้วยหลักการสาคัญและ แนวคิดสาคัญอื่น ๆ เช่น ศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์ สิทธิ หน้าที่ เสรีภาพ ภราดรภาพ ความ ยุติธรรม การไม่เลือกปฏิบัติ เป็นต้น แนวคิดสิทธิมนุษยชนของตะวันตกจึงถู กมองว่าเป็น จริยศาสตร์แบบสิทธิ์ บทความนี้เสนอว่ามัชฌิมาปฎิปทา หรือมรรคมีองค์ ๘ แนวคิดเรื่องกรรม และทิศ ๖ เป็นพระธรรมที่สามารถทาให้เนื้อหาสาระของปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนของ สหประชาชาติใช้ได้กับสังคมพุทธ ดังจะเห็นได้ว่ามัชฌิมาปฎิปทาเป็นหลักธรรมที่ครอบคลุมทุกมิติ ของชีวิต คือ ตั้งแต่ความคิดจนถึงการทามาหาเลี้ยงชีพที่ดีตามคาสอนทางพระพุทธศาสนา ส่วน เรื่องกรรมและวิบากเป็นคาสอนที่ทาให้ชาวพุทธเข้าใจธรรมชาติและผลของการกระทาทั้งในชาติ ปัจจุบันและอดีตชาติได้ดีขึ้น หรืออาจกล่าวอีกแบบว่า ความรับผิดชอบทางศีลธรรมจะไม่สมจริง
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=