วารสารราชบัณฑิตยสภาปี-43-ฉบับ-1
วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-เม.ย. ๖๑ ๗๒ บทนา สิทธิมนุษยชนเป็นทั้งปฏิญญาสากลและจารีตทางกฎหมายระหว่างประเทศที่ รัฐธรรมนูญหรือกฎหมายของรัฐใด ๆ จะขัดแย้งไม่ได้ นอกจากนั้นสิทธิมนุษยชนยังจัดเป็น นวัตกรรมทางความคิดของมนุษย์ ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ สิทธิมนุษยชนประกอบด้วย หลักการและแนวคิดเรื่องศักดิ์ศรีแห่งความเป็นมนุษย์ (human dignity) เสรีภาพ (liberty หรือ freedom) ความเท่าเทียมกัน (equality) และภราดรภาพ (fraternity) ซึ่งได้มีการนามาสื่อหรือ แสดงออกในรูปจริยศาสตร์แบบสิทธิ์ (rights-based ethics) ช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา ศาสนาต่าง ๆ เริ่มใช้ภาษาสิทธิมนุษยชนมากขึ้น รวมทั้ง พระภิกษุในพระพุทธศาสนาเช่นคาว่า “เสรีภาพทางปัญญา” เป็นคาที่ได้รับอิทธิพลทางความคิด จากภาษาสิทธิมนุษยชน ภาษาประชาธิปไตย ภาษากระบวนการยุติธรรม คาว่า “เสรีภาพ”เป็น คาที่รัชกาลที่ ๖ ทรงประดิษฐ์ขึ้น และพระภิกษุสงฆ์เถรวาทได้นามาใช้เพื่ออธิบายพุทธธรรมใน ลักษณะที่จะช่วยให้ผู้คนยุคปัจจุบันสามารถเข้าใจสภาวธรรมได้ดียิ่งขึ้น หลังจากที่องค์การสหประชาชาติได้ประกาศปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน (Universal Declaration of Human Rights) นักวิชาการจานวนมากได้ตีความคาสอนทางศาสนาที่ ตนสนใจเพื่อตรวจสอบว่าสามารถเปรียบเทียบกันได้กับแนวคิดหลัก ๆ ที่ปรากฏในปฏิญญาสากลว่า ด้วยสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ เพียงใด ที่ผ่านมาการหาแนวคิดสิทธิมนุษยชนในคาสอนทาง พระพุทธศาสนาเป็นเรื่องที่ได้รับความสนใจจากนักวิชาการพุทธศาสตร์และพระสงฆ์ทั่วโลก ทั้งนี้อาจ เพราะปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติได้กลายเป็นวาทกรรมและ มาตรฐานสากลในการพิจารณาระดับความเคารพในประชาธิปไตย ขอบเขตทางเสรีภาพของพลเมือง ขอบเขตทางสิทธิทางการเมือง สังคมและวัฒนธรรม รวมถึงระดับของความดี ดังที่พระพรหมบัณฑิต (ประยูร ธมฺมจิตฺโต) กล่าวว่าพระธรรมมากมายในคาสอนทางพระพุทธศาสนาช่วยส่งเสริมแนวคิดสิทธิ มนุษยชน แนวคิดสิทธิมนุษยชน บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสารวจคาสอนทางพระพุทธศาสนาที่สามารถใช้พัฒนาสิทธิ มนุษยชนได้ตามต้องการมากกว่าการหาหลักธรรมที่ส่งเสริมแนวคิดสิทธิมนุษยชน เพราะแทบทุก หลักธรรมในคาสอนทางพระพุทธศาสนาล้วนส่งเสริมแนวคิดสิทธิมนุษยชน หากกล่าวอีกอย่างหนึ่ง บทความนี้ต้องการสร้างนวัตกรรมโดยบูรณาการระบบคิด ๒ ระบบที่มีอายุห่างกัน ๒ พันกว่าปี ข้อเสนอหลักธรรมของนักวิชาการที่ต่าง ๆ ที่เห็นว่าเราสามารถพบแนวคิดสิทธิมนุษยชน ในคาสอนทางพระพุทธศาสนา เช่น ศาสตราจารย์เดเมียน คีโอน (Damein Keown) ศาสตราจารย์ เจย์ แอล. การ์ฟิลด์ (Jay L. Garfield) ศาสตราจารย์แพทริค เฮเดน (Patrick Hayden) พระพีเรรา
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=