วารสารราชบัณฑิตยสภาปี-43-ฉบับ-1

วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-เม.ย. ๖๑ ๗๐ การวิเคราะห์คาสอนทางพระพุทธศาสนาเพื่อ พัฒนาแนวคิดสิทธิมนุษยชน นายภาณุทัต ยอดแก้ว นักการทูตชานาญการ กระทรวงการต่างประเทศ บทคัดย่อ งานวิจัยนี้ต้องการสร้างสิทธิมนุษยชนแนวพุทธ ผู้วิจัยเห็นว่า แม้ว่าเราสามารถหาหลักการพื้นฐาน ของสิทธิมนุษยชนในคาสอนทางพระพุทธศาสนาได้ไม่ยาก แต่คาสอนทางพระพุทธศาสนาก็ยังไม่มีมโนทัศน์ สมัยใหม่อันเป็นผลผลิตทางภูมิปัญญาของคนสมัยใหม่ เช่น ความเป็นพลเมือง ที่ลี้ภัย ผู้ขอลี้ภัย ประชาธิปไตย การเลือกตั้งที่ประชาชนมีสิทธิออกเสียงอย่างเท่าเทียมกัน ในทางตรงข้าม ระดับของความดีที่อาจพบในปฏิญญา สากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนเป็นเพียงแค่ระดับศีล หรือความดีในระดับของการไม่ละเมิดสิทธิและเสรีภาพเท่านั้น จึงมิใช่ความดีในระดับสูงที่พบในไตรสิกขา บทความนี้ต้องการทาให้ข้อจากัดนี้หมดไป โดยเสนอการบูรณาการ ระหว่างปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติกับคาสอนทางพระพุทธศาสนา ๓ ประการ คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ ทิศ ๖ และแนวคิดเรื่องกรรมเพื่อสร้างรูปแบบใหม่ที่รวมสองโลกทัศน์อย่างสร้างสรรค์ ด้วย การสารวจบทวิเคราะห์ของนักวิชาการในหัวข้อสิทธิมนุษยชนกับพระพุทธศาสนาเพื่อพิจารณาว่าหลักธรรมใดใน คาสอนทางพระพุทธศาสนาที่สามารถเทียบเคียงเท่ากับสิทธิมนุษยชน เพื่อที่จะสร้างดุลยภาพ ผลจากการสารวจ พบว่าบทวิเคราะห์ในหัวข้อสิทธิมนุษยชนของพระ ภิกษุสงฆ์ไทยเถรวาทเห็นว่า แนวคิดสิทธิมนุษยชนมีโครงสร้าง ที่ดี แต่ยังขาดความดีในระดับสูงที่พอจะเท่าเทียมกับแนวคิดเรื่องสัมมาปัญญา ดังนั้น การบูรณาการระบบทาง จริยศาสตร์ ๒ ระบบจึงเป็นเรื่องจาเป็น หากสิทธิมนุษยชนแนวพุทธจาเป็นต้องได้รับการพัฒนา เมื่อเทียบกับ แนวคิดพุทธแนวคิดอื่น ๆ เช่น มัชฌิมาปฏิปทามีความดี ๓ ระดับ มีสาระ ๒ ระดับ คือ มีความลึก และมีความ กว้างพอที่จะนาพาชีวิตที่ดีแบบพุทธ ในความพยายามวิเคราะห์ทางปรัชญา ผู้เขียนได้นามัชฌิมาปฏิปทา ทิศ ๖ และแนวคิดเรื่องกรรมมาเสนอให้บูรณาการในแนวคิดสิทธิมนุษยชนของตะวันตกที่มีรายละเอียดมโนทัศน์ สมัยใหม่ รูปแบบบูรณาการที่เสนอนี้เป็นพื้นฐานทางตรรกะสาหรับสิ่งซึ่งเรียกว่า “สิทธิมนุษยชนแนวพุทธ” ที่ สามารถใช้ได้กับสังคมพุทธ คาสาคัญ : สิทธิมนุษยชน มัชฌิมาปฏิปทา ไตรสิกขา การบูรณาการ Abstract: An Analysis of Buddhist Teachings for Developing the Concept of Human Rights Panutat Yodkaew Counsellor, Ministry of Foreign Affairs This research aims to create a more integrative model condusive to a more creative version of human rights that corresponds to Buddhist teachings. Yodkaew argues that although it is not difficult for anyone to find the notions/principles like liberty, equality, fraternity in the contemporary Buddhist teachings, the Buddhist scriptures still lack several

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=