วารสารราชบัณฑิตยสภาปี-43-ฉบับ-1

วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-เม.ย. ๖๑ ๖๘ ๑.๗ อายุ ๕๐ ปีขึ้นไป ควรแสดงในบทที่เหมาะสม และสามารถบ่งบอกถึง ความสามารถขั้นสูงของตนได้อย่างงดงาม ๒. การสวมบทบาทตัวละคร ๙ ประเภทของโนะ คือ สตรี คนชรา พวกไม่สวมหน้ากาก คนบ้า พระ วิญญาณนักรบ เทพ อสูร และคนจีน ตัวละครหลักเหล่านี้มีวิธีสวมบทบาทแตกต่างกัน ๓. ความสาเร็จของการแสดง การเริ่มแสดง การแข่งขัน การเอาชนะผู้แสดงอาวุโส การจัดลาดับชุดการแสดง การสร้างจุดเด่นของตน การกาหนดความสามารถของตน ความสัมพันธ์ ระหว่างการแสดงกับบทละคร ความงามสูงสุดหรือชิอาโร่ (Shiaro) ๔. กาเนิดโนะ สุริยเทวี “อะมะตาระสุ” (Amataresu) ไม่พอพระทัยในความ ประพฤติเหลวไหลของพี่ชาย จึงปลีกตนเข้าไปซ่อนอยู่ในถ้าทาให้โลกมืดมน เทพทั้งหลายมาชุมนุม กันเพื่อหาทางออก บางองค์ก็บรรเลงดนตรีศักดิ์สิทธิ์เพื่อประกอบการฟ้อนราที่ตลกขบขัน ท่ามกลางบรรยากาศดังกล่าว เทวีอามะโนะอูซูเมะ ก็ออกมาแสดงหน้ากองไฟ มือหนึ่งถือกิ่งสน อีก มือหนึ่งถือผ้าบูชา ร่ายราขับร้องจนเทพทั้งหลายขบขันครึกครื้น สุริยเทวีได้ยินเสียงก็เยี่ยมพระ พักตร์ออกมาดู โลกก็สว่างอีกครั้ง การแสดงของเทวีอามะโนะอูซูเมะ ถือกันว่าเป็นกาเนิดของ ซารุกากุโนะ อันเป็นบุพปัจจัยของโนะต่อมา นอกจากนี้ยังมีตานานกาเนิดโนะอีกหลายเรื่อง ๕. หลักสาคัญในการแสดงโนะ ต้องปรับการแสดงทุกครั้งให้เหมาะกับสถานการณ์ กาลเทศะ พยายามแสดงในรูปแบบต่างให้มากที่สุดและชานาญที่สุด สามารถเลือกนารูปแบบต่าง ๆ มา แสดงในโอกาสที่เหมาะสมเพื่อให้คนดูเห็นความแปลกใหม่ และชื่นชมในความสามารถอันหลากหลายของตน ๖. การฝึกเพื่อความงาม ต้องเข้าใจบทบาทของตัวละครที่ตนจะแสดงให้ถ่องแท้ ความสามารถในการออกเสียง ความกลมกลืนของการขับร้องฟ้อนรา การปรับการแสดงให้ สอดคล้องกับรสนิยมคนดู ผู้แสดง สถานที่แสดง และโอกาสที่แสดงต้องประสานสัมพันธ์กัน ๗. ศาสตร์ลับของโนะ “ฮานะ" (Hana) เปรียบเทียบการแสดงกับการเบ่งบานของดอกไม้ “ยูเก็น" (Yugen) การนาหลักการสร้างความงามที่แฝงเร้นชวนพินิจมาเป็นแนวการแสดงให้คนดูใช้ จินตนาการให้มาก "โมโนมาเน" (Monomane) คือศิลปะการเลียนแบบที่คานึงถึงทั้งกายใจและความคิด สรุป โนะ เป็นละครประเภทหนึ่งของญี่ปุ่นที่สามารถอนุรักษ์รูปแบบการแสดงอันเก่าแก่ไว้ได้อย่าง เคร่งครัดจนถึงปัจจุบัน เนื้อหาการแสดงมักเกี่ยวข้องกับพุทธศาสนาและลัทธิซินโต การแสดงใช้ผู้ชายล้วน ตัว เอกเท่านั้นที่สวมหน้ากากเป็นตัวละครต่าง ๆ ร้องราไปตามท่วงทานองและจังหวะดนตรีที่เชื่องช้าและเยือกเย็น ใช้การเคลื่อนไหวน้อยที่สุด แต่สื่อความหมายให้ได้มากที่สุด ผู้ที่ฝึกหัดและแสดงละครโนะได้นั้นถือเป็นการฝึก สมาธิขั้นสูง มีจิตที่ประณีตละเอียดอ่อน การที่ละครโนะคงอยู่ยาวนานหลายศตวรรษ ท่ามกลางการ เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทางสังคม เศรษฐกิจและเทคโนโลยี ย่อมแสดงให้เห็นว่าคนญี่ปุ่นเห็นความสาคัญ

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=