วารสารราชบัณฑิตยสภาปี-43-ฉบับ-1
วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-เม.ย. ๖๑ ๖๖ สตรีนางหนึ่งปรากฏกายและเอ่ยปากให้นางพักในกระท่อมของตน เมื่อทั้งสองมาถึง กระท่อม สตรีนางนั้นกล่าวยกย่องความสามารถของนางราแล้วหายลับไป ต่อมาสตรี นางนั้นปรากฏกายอีกครั้งในร่างของปีศาจ นางร้องเพลงและร่ายราแสดงความ งดงามแห่งธรรมชาติของฤดูทั้งสี่ให้แก่ยามัมบะผู้เฝ้าดูด้วยความตกตะลึง ทฤษฎีการแสดงโนะ โดยซิอามิ โมโตกิโย ซิอามิ โมโตกิโย (Zeami Motokiyo) เป็นบุตรของ คังนามิ คิโยตสุกุ (Kannami Kiyotsugu) หัวหน้าคณะละครพื้นบ้านแบบซารุกากุ เกิด พ.ศ. ๑๙๐๖ เมื่ออายุ ๑๑ ปี ได้แสดงละครถวายโชกุน อาชิคางะ โยชิมิตสึ (Ashikaga Yoshimitsu) โชกุนโปรดปรานความงามและความสามารถของซิอามิ จึง ให้เข้ามาศึกษาปรัชญาและวรรณคดีในราชสานักของโชกุน ซิอามิมีความสามารถอย่างสูงในการประพันธ์ บทละคร โดยใช้การผสมผสานเรื่องราวจากวรรณคดีดั้งเดิมกับเรื่องราวร่วมสมัย ผนวกด้วยพุทธปรัชญา นิกายเซน พัฒนาละครแบบซารุกากุของบิดาให้เกิดเป็นละครแนวใหม่เรียกว่า โนะกากุ หรือ โนะ ซิอามิ ประพันธ์บทละครโนะไว้ประมาณ ๓๐-๕๐ เรื่อง ซิอามิได้ปรับปรุงการแสดงโนะจากซารุกากุซึ่งเป็นละคร พื้นบ้านแสดงให้ประชาชนทั่วไปได้รับความบันเทิงจากความสนุกสนานตลกขบขันมาเป็นละครของชน ชั้นสูงที่มีภาษากวีอันไพเราะ มีการฟ้อนราขับร้องและบรรเลงดนตรีที่ประณีต เปี่ยมด้วยความสุนทรีย์ ของนาฏกรรม เมื่อโชกุน อาชิคางะ โยชิมิตสึสิ้นชีพ โชกุน อาชิคางะ โยชิโมชิ (Ashikaga Yoshimochi) ไม่โปรดละครโนะของซิอามิ ท่านจึงต้องหันไปพึ่งการสนับสนุนจากพ่อค้าเศรษฐี ละครโนะของซิอามิได้ รับความนิยมมากในเวลานั้น แต่เมื่อโชกุน อาชิคางะ โยชิโนริ (Ashikaga Yoshinori) ขึ้นครองอานาจก็ ไม่โปรดซิอามิอย่างยิ่ง และถอดซิอามิออกจากตาแหน่งหัวหน้าคณะละครชื่อคังเซ แล้วตั้งหลานชาย ซิอามิชื่อโอนามิ (Onami) เป็นหัวหน้าคณะแทน อีกทั้งเนรเทศซิอามิไปอยู่ที่เกาะซาโดะ (Sado) อัน ห่างไกล เมื่อโชกุน โยชิโนริสิ้นชีพ ซิอามิจึงได้กลับมายังเมืองหลวงและสิ้นชีวิตเมื่อ พ.ศ. ๑๙๘๖ ซิอามิประพันธ์นาฏยทฤษฎีไว้ ๒๑ บท รวมเป็น ๙ เล่มหลัก เล่มที่นับว่าสาคัญที่สุดชื่อ ฟูจิคาเด็ง (Fushikaden) ที่ซิอามิสร้างเป็นทฤษฎีการแสดงขึ้นจากการวิเคราะห์และสังเคราะห์การ แสดงของตนและจากการแสดงโนะในยุคนั้น ทฤษฎีเหล่านี้สันนิษฐานว่าซิอามิบันทึกไว้เป็นศาสตร์ ลับของครอบครัวจึงไม่มีใครรู้จัก จนกระทั่งมีผู้ไปพบต้นฉบับในร้านหนังสือเก่า เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๑ สาหรับเนื้อหาของทฤษฎีทั้ง ๙ เล่มโดยย่อมีดังนี้ ๑. ชิคาโดะ (Shikado) “ทางแห่งบุปผา” พ.ศ. ๑๙๔๕ เน้นพื้นฐานศิลปะในตัวผู้ แสดง และการแบ่งชั้นของคุณภาพการแสดง ๒. คักเคียว (Kakkyo) “คันฉ่องส่องบุปผา” พ.ศ. ๑๙๖๗ พื้นฐานการแสดงโนะ ปรัชญาโนะ จิตวิทยาและปฏิกิริยาตอบสนองของคนดู
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=