วารสารราชบัณฑิตยสภาปี-43-ฉบับ-1

วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-เม.ย. ๖๑ ๖๔ ผู้ได้รับอภัยโทษ แต่ไม่มีชื่อชุนคัน ดังนั้นชุนคันจึงวิงวอนขอเดินทางไปพร้อมคณะ เจ้าหน้าที่แต่ถูกปฏิเสธ เรือบรรทุกนักโทษเตรียมออกเดินทาง บนเรือนั้นมีผู้ติดตาม ทั้งสองคนของชุนคันอยู่ด้วย ชุนคันพยายามยึดเรือไว้แต่ไม่สาเร็จ ในที่สุดชุนคันก็ถูก ทิ้งให้อยู่คนเดียวบนบนเกาะร้าง และจบชีวิตอย่างเดียวดาย ๒๙. โคโซเดะ โซกะ (Kosode Soga) พี่น้องตระกูลโซกะตัดสินใจกระทาการล้างแค้น แทนบิดาผู้ถูกฆาตกรรมขณะร่วมในงานล่าสัตว์ที่จัดขึ้นโดยโชกุนโยริโทโมะ ทั้งคู่ เดินทางไปพบมารดาเพื่อบอกแผนการให้ทราบ แต่มารดาไม่ยอมให้โกโร่ (Goro) บุตรคนรองเข้าพบเพราะผิดสัญญาที่จะบวชเป็นพระ จูโร่ (Juro) บุตรคนโตจึงขอร้อง มารดา อธิบายเหตุผลและแผนการล้างแค้นให้ฟัง มารดาจึงวางใจและให้เข้าพบ ทั้ง สามคนพบกันและร่าไห้ด้วยความปีติ พี่น้องโซกะทั้งสองได้ร่ายราพร้อมเพรียงกัน เป็นการเฉลิมฉลองความสุขที่ทั้งสามได้รับก่อนจะร่าลามารดาเพื่อออกเดินทางไป ๓๐. โรไทโกะ (Rotaiko) อุระ (Matsuura) แห่งคิวชู สั่งขังขุนนางชื่อเซจิ (Seiji) ผู้ฆ่า เพื่อนของตน เซจิหลบหนีไปทาให้ภรรยาถูกนาตัวมาไต่สวน นางหวาดกลัวตื่นตกใจ จนคุมสติแทบไม่อยู่ นางไม่ทราบว่าสามีหลบหนีไปอยู่ ณ ที่ใด มีสภาพเป็นเช่นไร มัตสึอุระจึงปล่อยนางไป แต่นางปฏิเสธที่จะออกจากกรงขังที่สามีเคยถูกจองจา นาง ตีกลองของเรือนจา (ไรตาชิโกะ) และประกาศก้องว่า นางรู้สึกเหมือนอยู่ใกล้สามีเมื่อ นางอยู่ในกรงขังนี้ มัตสึอุระสะเทือนอารมณ์ในความรักและความห่วงใยของนาง จึง อภัยโทษให้ทั้งเซจิและภรรยา ๓๑. อามะ (Ama) เสนาบดีฟุสะซากิ (Fusazaki) ทราบว่ามารดาของตนเป็นนักดาน้า จากอ่าวชิโดะ (Shido) ในชิโกกุ จึงเดินทางไปที่นั่นและสวดมนต์ให้แก่มารดา เมื่อ เดินทางไปถึงก็พบกับหญิงชราซึ่งเล่าเรื่องเกี่ยวกับหีบสมบัติ ๓ ใบที่ส่งมาจาก จักรพรรดิจีน หีบใบที่ ๒ ส่งมาถึงในสภาพสมบูรณ์ แต่หีบใบที่ ๓ หายไปที่อ่าวชิโดะ แห่งนี้ เสนาบดีผู้เป็นบิดาของฟุสะซากิ ตกหลุมรักกับหญิงนักดาน้าที่อ่าวนี้และมีบุตร ด้วยกัน บิดาสัญญาว่าจะเลี้ยงดูจนบุตรได้เป็นเสนาบดี ถ้านางดาลงไปเอาสมบัติ ขึ้นมา นางจึงดาลงไปถึงก้นทะเลพบสมบัติและมังกรดุร้าย นางต่อสู้กับมังกรและได้ สมบัติมา นางผ่าอกของตนเองและเอาสมบัติซ่อนไว้ภายใน นางตายเพราะแหวกอก เอาสมบัติให้แก่เสนาบดี ฟุสะซากิทราบทันทีว่าเรื่องราวทั้งหมดเป็นเรื่องของมารดา จึงทาพิธีสวดมนต์ให้แก่มารดา วิญญาณของนางจึงปรากฏขึ้นในร่างของนางพญา มังกรร่ายราอย่างร่าเริงเพื่อแทนคาขอบคุณที่มอบให้แก่บุตรของตน ๓๒. โคคาจิ (Kokaji) มุเนะจิกะ (Sanjou Kokaji Munechika) ช่างตีดาบขององค์จักรพรรดิ มุเนะจิกะเดินทางไปยังศาลเจ้าอินาริ (Fushimi Inari taisha) เพื่อขอความช่วยเหลือ เทพองค์หนึ่งปรากฏกายขึ้น พรรณนาลักษณะของดาบโบราณของจักรพรรดิญี่ปุ่นและ

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=