วารสารราชบัณฑิตยสภาปี-43-ฉบับ-1
วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-เม.ย. ๖๑ ๖๓ ๒๓. ฮิบาริยามะ (Hibariyama) โทโยนาริ (Toyonari) ผู้ตัดขาดจากบุตรีของตนและขับ ไล่นางไปพร้อมกับพี่เลี้ยง ทั้งสองไปอาศัยอยู่บนภูเขา โดยพี่เลี้ยงหาเลี้ยงชีพด้วยการ ขายดอกไม้ที่หมู่บ้านใกล้ ๆ โทโยนาริเดินทางมาที่หมู่บ้านเพื่อล่าสัตว์และพบกับพี่เลี้ยง ชรา โทโยนาริไม่สามารถหาเหตุผลใดมากล่าวอ้างในการทอดทิ้งบุตรีได้ และเสียใจต่อ การกระทาของตน บิดาและบุตรีจึงกลับมาอยู่ร่วมกันอย่างเป็นสุขอีกครั้งหนึ่ง ๒๔. เซมิมารุ (Semimaru) จักรพรรดิสั่งเนรเทศเจ้าชายเซมิมารุและเจ้าหญิงซาคากามิ (Sakagami) เพราะเจ้าชายนั้นตาบอดและเจ้าหญิงมีผมชี้ขึ้นอย่างประหลาด เจ้าชายและ เจ้าหญิงได้พบกันในเวลาต่อมา ณ ภูเขาโอซาระ ทั้งคู่ต่างปลอบประโลมกันให้หายโศกเศร้า ๒๕. มิอิเดระ (Miidera) มารดานางหนึ่งเดินทางมายังวัดคิโยมิซึ (Kiyomizu-dera) เพื่อ อ้อนวอนเทพเจ้าให้ช่วยตามหาบุตรที่หายไป เธอฝันว่าต้องไปยังวัดมิอิ ในคืนวันเพ็ญ ขณะพระสงฆ์กาลังชื่นชมแสงจันทร์ภายในวัดพร้อมด้วยเซ็มมิสึ (Semmitsu) ผู้เป็น บุตรของหญิงผู้นั้น มารดาผู้อยู่ในอาการทุกขเวทนาก็เดินทางมาถึงวัดและขึ้นไปตี ระฆัง บรรดาพระจึงออกมาดูว่าใครมาร้องทุกข์ เมื่อมารดาและบุตรพบกันก็ต่างจา กันได้ จึงได้ใช้ชีวิตร่วมกันอย่างสงบสุข ๒๖. คาเกคิโยะ (Kagekiyo) นักรบผู้กล้าหาญนามว่าคาเกคิโยะ (Taira no Kagekiyo or Kazusa no shichirou) ถูกจับตัวและนาไปปล่อยไว้บนเกาะฮิวงะ คาเกคิโยะชรา และตาบอดต้องหาเลี้ยงชีพด้วยการขอทานในหมู่บ้าน บุตรีของคาเกคิโยะไม่เคยพบ บิดาแต่ทราบชะตานั้นจึงออกตามหาบิดาจนพบ ตอนแรกคาเกคิโยะปฏิเสธว่าไม่ใช่ ตนเองเพราะอายในสภาพของตน แต่ในที่สุดก็ซาบซึ้งกับความกตัญญูของบุตรี ทั้ง คาเกคิโยะและบุตรีต่างร่าไห้ด้วยความปีติ คาเกคิโยะจึงร่ายราเล่าเรื่องวีรกรรมของ ตนในการรบครั้งอดีตให้บุตรีฟังด้วยความภาคภูมิใจ ๒๗. อาตากะ (Ataka) โยชิสึเนะ (Minamoto no Yoshitsune) แฝงกายเป็นพระ เดินทางหลบหนีการติดตามของโชกุนโยริโทโมะ (Minamoto no Yoritomo) พี่ชาย ผู้อิจฉา ครั้นขบวนของโยชิสึเนะเดินทางมาถึงด่านอาตากะ นายด่านนามว่าโทคาชิ (Tokashi) รู้ดีว่าผู้คนในขบวนเป็นใคร แต่ซาบซึ้งในความกตัญญูและความกล้าหาญ เสียสละของเบ็นเก (Bengei) นายทหารคนสนิทของโยชิสึเนะ จึงปล่อยขบวนให้ ขบวนผ่านด่านไป และโทคาชิก็ติดตามไปส่งพร้อมกับให้สาเกดื่ม เบ็นเกร่ายราด้วย ด้วยความสุขเป็นการขอบคุณในไมตรีจิตของโทคาชิ ๒๘. ชุนคัน (Shunkan) พระจากวัดโฮโช (Hosho-ji) นามว่าชุนคัน และผู้ติดตามอีก ๒ คน ถูกเนรเทศมาอยู่ที่เกาะร้างคิไค (Kikai) ในคิวชู (Kyushu) เนื่องจากชุนคัน วางแผนโค่นล้มตระกูลเฮเกะ เวลาผ่านไปหลายปี จักรพรรดินีประกาศอภัยโทษทั่ว ประเทศเนื่องในโอกาสที่ประสูติรัชทายาท คณะเจ้าหน้าที่ถูกส่งออกไปพร้อมรายชื่อ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=