วารสารราชบัณฑิตยสภาปี-43-ฉบับ-1

วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-เม.ย. ๖๑ ๕๗ วงดนตรีโนะ รูปแบบการแสดง การแสดงโนะแบ่งได้เป็น ๒ รูปแบบคือ ๑. เกคิโนะ (Geki Noh) เน้นบทพรรณนาและการดาเนินเรื่อง ๒. ฟูริวโนะ (Furyu Noh) เน้นการร่ายรา การโลดเต้น การใช้อาวุธ อุปกรณ์ฉาก และมีตัวละครมาก บทละคร บทละครโนะมีประมาณ ๒,๐๐๐ เรื่อง แต่เหลือมาถึงปัจจุบันประมาณ ๒๔๐ เรื่อง บท ละครส่วนใหญ่สะท้อนรสนิยมของชนชั้นซามูไรในยุคโตคุงาวะ (Tokugawa) ประมาณ พ.ศ. ๒๑๔๕-๒๔๑๑ บทละครโนะแบ่งได้เป็น ๓ ประเภทคือ ๑. เกนไซโนะ (Genzai Noh) เป็นเรื่องราวของมนุษย์ที่ดาเนินเรื่องต่อเนื่องกันไป ตามลาดับเวลา ๒. มูเก็นโนะ (Mugen Noh) เป็นเรื่องราวของอมนุษย์ที่ดาเนินเรื่องสลับกันระหว่างย้อน อดีตกับปัจจุบัน ๓. เรียวคาเคะโนะ (Ryokake Noh) เป็นการผสมผสานสองแบบข้างต้น โดยองก์ที่ ๑ เป็นแบบเกนไซโนะแสดงเรื่องราวและอารมณ์ในปัจจุบัน ส่วนองก์ที่ ๒ เป็นแบบ มูเก็นโนะ แสดงย้อนอดีตที่แสดงอารมณ์ต่าง ๆ แบบที่ ๓ นี้ มีจานวนน้อย บทละครโนะส่วนใหญ่ที่เหลืออยู่นั้นไม่ได้มาจากการสร้างสรรค์ของผู้ประพันธ์โดยตรง เพราะตามธรรมเนียมนิยมนั้นผู้ประพันธ์จะหยิบยกเรื่องราวมาจากวรรณกรรมโบราณที่มีชื่อเสียง จากหลากหลายแหล่ง แล้วนามาสร้างเป็นบทละครโนะ วรรณกรรมสาคัญ ๆ ที่นามาแสดง ได้แก่ ๑. โคจิคิ (Kojiki) บันทึกตานานอันเป็นประวัติศาสตร์ดั้งเดิมของญี่ปุ่น ๒. นิฮอนโชกิ (Nihon Shoki) พงศาวดารเกี่ยวกับจารีตประเพณีและประวัติศาสตร์ โบราณของญี่ปุ่น ๓. มันโยชุ (Manyoshu) ประมวลบทกวีที่ประพันธ์ขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ ๖-๙ ๔. โคคินชุ (Kokinshu) ประมวลบทกวีที่ประพันธ์ขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ ๑๐

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=