วารสารราชบัณฑิตยสภาปี-43-ฉบับ-1
วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-เม.ย. ๖๑ ๕๒ องก์ที่ ๒ ๑๐. มาจิอุไต (Machiutai) วากิรับเพลงบอกความในใจของตนที่ตั้งจะสวดมนต์ให้แก่ วิญญาณ ๑๑. เดฮะ (Deha) ชิเตะปรากฏกายอีกครั้งในร่างจริง ๑๒. นาโนริกุริ (Nanori guri) ชิเตะกล่าวแนะนาตน ๑๓. ซาชิ (Sashi) ชิเตะร้องตอบโต้กับนักร้องหมู่ ๑๔. คุเสะ (Kuse) นักร้องหมู่ร้องบทบรรยายแก่นแท้ของเหตุการณ์ในท้องเรื่อง โดย มีชิเตะร่ายราทาบท ถือว่าเป็นจุดสาคัญที่สุดของการแสดง ๑๕. คิริ (Kiri) นักร้องหมู่ร้องเพลงท่อนสุดท้ายให้ชิเตะร่ายราด้วยท่วงทานองที่เร็วขึ้น ตามลาดับ และจบด้วยการย่าเท้าสองครั้งอันเป็นสัญลักษณ์ของจบการแสดง โรงละคร เครื่องแต่งกาย หน้ากาก อุปกรณ์การแสดง วงดนตรี โรงละคร โนะเด็น (Noh den) จาลองมาจากศาลาฟ้อนราบวงสรวง เรียกว่า คากุระเด็น (Kagura den) ในวัดของลัทธิชินโต มีลักษณะเป็นศาลาโถง มีสี่เสา ยกพื้นสูง สร้างด้วยไม้สน มีฝา ไม้ด้านหลังเป็นฉากตายตัว เขียนรูปต้นสนอันเป็นสัญลักษณ์ของสถานที่กาเนิดการฟ้อนราตาม ตานานของญี่ปุ่น โรงละครโนะแบ่งพื้นที่เป็น ๕ ส่วน คือ ๑) ห้องแต่งตัว ๒) เวทีการแสดงขนาด ๖ X ๖ เมตร ใต้เวทีมีโอ่งดินขนาดใหญ่ใช้สะท้อนเสียงย่าเท้าของตัวละคร ๓) ทางเดินเข้าออกของ ตัวละคร ๔) เวทีนักดนตรี ๕) เวทีนักร้องลูกคู่ต่อขยายออกไปทางด้านข้างซ้ายมือผู้แสดง ทั้ง นักร้องและนักดนตรีมีช่องเข้าออกเฉพาะ โรงละครโนะมักสร้างขึ้นในบริเวณวัด คนนั่งดูได้สามด้าน ปัจจุบันเป็นโรงในอาคารปรับอากาศแต่ยังคงรูปแบบศาลาไว้อย่างเดิม โรงละครโนะ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=