วารสารราชบัณฑิตยสภาปี-43-ฉบับ-1
วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-เม.ย. ๖๑ ๔๙ Music includes three different drums, a flute and a group of chorus. Scenery is a pine tree paint on the wooden backdrop signifying the original place where Japanese dance was originated. Common handprops are fans and weapons. Scene props are symbolic. Noh is one of the oldest theatre that still preserves its original form. Five Noh schools are still active today. Motokiyo Zeami was the Noh artist and philosopher who refined Noh performance, wrote many plays and created the Noh Theory which has been continuing to these days. Keywords : Noh, pray to release the suffering spirits, theory. การแสดงโนะ โนะ (Noh) แปลตามศัพท์ว่า ความชานาญ เป็นคาใช้เรียกละครโบราณของชนชั้นนักรบ หรือซามูไร (Samurai) ในญี่ปุ่นที่ปรากฏขึ้นในยุคมูโรมาจิ (Muromachi) เมื่อกลางคริสต์ศตวรรษ ที่ ๑๔ และยังคงแสดงตามแบบแผนดั้งเดิมมาจนถึงปัจจุบัน โนะแสดงโดยชายล้วน ตัวละครเอก เท่านั้นสวมหน้ากากและเครื่องแต่งกายงดงาม ขับลานาและร่ายราด้วยท่าทางเชื่องช้าสง่างาม ทาท่าสัญลักษณ์ตามแบบแผนอย่างเคร่งครัด ตัวละครอื่น ๆ นั่งหรือเคลื่อนไหวไปมาน้อยมาก เนื้อ เรื่องแปลงมาจากวรรณคดี ตานาน พงศาวดาร และประวัติศาสตร์ การแสดงเริ่มด้วยนักดนตรีและ นักร้องออกมาประจาที่บนเวที ละครองก์ที่ ๑ เริ่มด้วยพระสงฆ์หรือนักแสวงบุญเดินทางมาถึงและ พักแรม จากนั้นวิญญาณของตัวเอกในร่างจาแลงสวมหน้ากากและชุดชาวบ้านออกมาพบกับ พระสงฆ์ ทั้งสองทักทายไต่ถามกันจนทราบว่าวิญญาณนั้นเป็นเทพที่มาเล่าตานานของสถานที่และ อานวยพร หรือเป็นใครในอดีตที่วนเวียนระทมทุกข์ด้วยความห่วงใย ความแค้น ความอยุติธรรม พระสงฆ์จึงสวดอานวยพรให้วิญญาณไปสู่สุคติ ผู้แสดงเป็นวิญญาณนั้นก็กลับเข้าโรงไป ระหว่าง นั้นมีละครตลกชุดสั้น ๆ เรียกว่า เคียวเก็ง (Kyogen) เล่นเสียดสีชนชั้นสูง ละครองก์ที่ ๒ เริ่มด้วย วิญญาณปรากฏตัวอีกครั้งในร่างจริงของตน เพื่อร่ายราแสดงความยินดีปรีดาแล้วเดินกลับออกไป ยังหลังเวที เป็นอันจบการแสดง การฟ้อนราของโนะแบ่งออกได้เป็น ๒ ลักษณะใหญ่ ๆ คือ มาอิ (mai) และ ฮาตาราคิ (hataraki) มาอิเป็นการร่ายราที่ค่อนเชื่องช้า เคลื่อนไหวไปมาด้วยการสืบเท้าและหมุนตัวประดุจ วิญญาณที่ล่องลอย มีท่าทางที่ต่อเนื่องสลับซับซ้อน ให้บรรยากาศที่เคร่งขรึม ส่วนฮาตาราคิเป็น การเต้นที่เน้นการย่าเท้าเพื่อให้เกิดเสียง เป็นลักษณะการร่ายราในบทเทพหรืออสูรที่แสดงอาการ โกรธ ตัวละครเคลื่อนไหวตามเสียงขลุ่ยและกลองกับการขับร้องของลูกคู่ โดยที่การเคลื่อนไหวนั้น อาจสอดคล้องกับคาร้องหรือไม่ก็ได้ การราทาบทใช้ท่าเลียนแบบธรรมชาติ ตัวละครเอกของแต่ละเรื่องแบ่งเป็น ๕ ประเภท คือ เทวดา คนชรา หญิงสาว นักรบ และปีศาจ สวมเครื่องแต่งกายในชุดของชนชั้นต่าง ๆ ของยุคมูโรมาจิ สวมหน้ากากที่ออกแบบ แสดงบุคลิกลักษณะของตัวละคร มีอุปกรณ์การแสดงที่เรียบง่ายเพียงให้เห็นเป็นสัญลักษณ์ ผู้แสดง
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=