วารสารราชบัณฑิตยสภาปี-43-ฉบับ-1

วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-เม.ย. ๖๑ ๔๕ การใช้สื่อวัฒนธรรมนับว่าเหมาะสมสาหรับธรรมชาติของการสื่อสารความนัยที่ไม่ ต้องการถามตรง ๆ ไม่ว่าจะเพื่อป้องกันการเสียหน้าหรือเพื่อปกปิดฐานภาพที่แท้จริงก็ตาม การใช้ สื่อผ่านมหรสพการแสดงหรือสื่อทัศนศิลป์ซึ่งเป็นเครื่องเจริญใจคนหมู่มาก ทาให้การปรากฏของสื่อ กลมกลืนอยู่กับวิถีชีวิตตามปรกติ ไม่เป็นที่สะดุดตาสะดุดใจผู้อื่นจนเป็นอุปสรรคแก่การสื่อสาร สื่อส่วนใหญ่ใช้ท่ามกลางสาธารณชน เพราะต้องอาศัยสาธารณชนเป็นสื่อไปยังผู้รับสาร ตัวจริง อีกทอดหนึ่ง เช่น การขับซอในเรื่อง ลิลิตพระลอ การขับเพลงในเรื่อง พระนลคาหลวง และ พระนลคาฉันท์ แม้การใช้ภาพจิตรกรรมใน สมุทรโฆษคาฉันท์ ก็มีการนาผู้คนจากทุกสารทิศมา เข้าถึงสื่อด้วยการตั้งโรงทาน การใช้สื่อโดยมิได้ปรากฏแก่สาธารณชนทั่วไป เช่น การแสดงหนังในบทละครเรื่อง อิเหนา ประสันตาตั้งโรงหนังแสดงเฉพาะตรงพระแกลกุฎีของนางแอหนัง การขับบรรเลงเพลง พิณในเรื่อง กากีกลอนสุภาพ คนธรรพ์ขับบรรเลงในท้องพระโรง การซักถามของนางกนกเรขาใน เรื่อง กนกนคร เมื่ออมรสิงห์เข้าพบที่ท้องพระโรง และการสลักชิ้นฟักในบทละครเรื่อง สังข์ทอง พระสังข์พบชิ้นฟักสลักในที่เสวย ๔. ด้านบริบทการสื่อสาร การสื่อสารความนัยที่เกิดขึ้นและประสบความสาเร็จในวรรณคดีทั้ง ๗ เรื่องล้วน อาศัยบริบทการสื่อสารที่เหมาะสมเป็นปัจจัยเกื้อหนุน การสื่อสารความนัยโดยอาศัยบริบทด้านประสบการณ์พบมากที่สุด คือ ในเรื่อง กากี กลอนสุภาพ ในบทละครเรื่อง อิเหนา ในบทละครเรื่อง สังข์ทอง ใน สมุทรโฆษคาฉันท์ ในเรื่อง พระนลคาหลวง และ พระนลคาฉันท์ และในเรื่อง กนกนคร ทั้งหมดนี้ต้องอาศัยประสบการณ์ร่วม ระหว่างผู้ส่งสารกับผู้รับสารช่วยให้การสื่อสารสัมฤทธิ์ผล ส่วนบริบทสถานการณ์พบในเรื่อง ลิลิต พระลอ ที่ใช้การขับซอยอโฉมพระลอเป็นจุดเชื่อมโยงทาให้พระลอรับสารได้ บริบทการสื่อสารด้าน ประสบการณ์และสถานการณ์ดังกล่าวเป็นปัจจัยช่วยให้เกิดการตีความสารตามเจตนาของผู้ส่งสาร ส่วนบริบทด้านวัฒนธรรมเป็นปัจจัยเกื้อหนุนการสื่อสารพบในทุกเรื่อง ส่วนใหญ่จะ เกี่ยวข้องกับสื่อและการใช้สื่อ เนื่องจากมีการใช้สื่อวัฒนธรรม เช่น มหรสพการแสดงหนัง การขับ ซอ การขับร้องบรรเลง ภาพจิตรกรรม ชิ้นฟักสลักเรื่อง สื่อเหล่านี้ดารงอยู่ในวัฒนธรรมในฐานะ ศิลปะเครื่องจรรโลงใจสาหรับคนทั้งหลาย เมื่อถูกนามาใช้ในการสื่อสารความนัยก็มีบทบาทช่วย ดึงดูดผู้คนให้เข้าสู่กระบวนการสื่อสารได้อย่างแนบเนียน คนทั้งหลายที่สัมผัสสื่อเหล่านั้นมิได้ทราบ ว่าสื่อที่กาลังสัมผัสนั้นแท้จริงกาลังส่งสารอะไรถึงใคร และมิได้รู้ด้วยว่าการประชาสัมพันธ์ของตนก็ ทาให้ตนร่วมมีฐานะเป็นสื่อนาพาสารไปถึงผู้รับ บริบทด้านวัฒนธรรมที่เป็นปัจจัยให้เกิดการสื่อสารความนัยโดยมิได้เป็นสื่อ คือ การ อภิเษกสยุมพรที่เจ้าสาวเป็นผู้เลือกคู่ครองที่ผ่านการทดสอบความรู้ความสามารถในเรื่อง กนกนคร นางกนกเรขาใช้เรื่องเมืองทองทดสอบความรู้ของชายที่ตนจะเลือก

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=