วารสารราชบัณฑิตยสภาปี-43-ฉบับ-1

วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-เม.ย. ๖๑ ๔๔ ข้อสังเกตเรื่องการสื่อสารความนัยที่ปรากฏในวรรณคดี การสื่อสารความนัยในวรรณคดีไทยทั้ง ๗ เรื่อง มีข้อน่าสังเกตหลายประการ ดังนี้ ๑. ด้านผู้ส่งสาร ผู้ส่งสารในการสื่อสารความนัยส่วนมากเป็นฝ่ายหญิงที่ต้องการติดต่อหรือติดตามหาฝ่ายชาย เช่น นางรื่นนางโรย (ผู้ทาการแทนพระเพื่อนพระแพง) ในเรื่อง ลิลิตพระลอ นางพินทุมดีใน สมุทรโฆษ คาฉันท์ นางทมยันตีใน พระนลคาหลวง และ พระนลคาฉันท์ นางกนกเรขาใน กนกนคร นางจันท์ในบท ละครเรื่อง สังข์ทอง ทั้งนี้เป็นเพราะบริบททางสังคมวัฒนธรรม ข้อจากัดหรือเงื่อนไขทางสถานการณ์ที่ทาให้ ฝ่ายหญิงไม่อาจเปิดเผยตัวตนหรือฐานภาพที่แท้จริงในฐานะผู้ส่งสารถึงฝ่ายชาย ผู้ส่งสารฝ่ายหญิงจึงต้อง คิดหาทางสื่อสารความนัยด้วยวิธีต่าง ๆ ซึ่งสร้างความน่าสนใจให้แก่เรื่อง ส่วนผู้ส่งสารฝ่ายชายใช้การ สื่อสารความนัยทานองไว้เชิงและมักใช้บริวารทาการแทน เช่น ประสันตา (ผู้ทาการแทนอิเหนา) ในบทละคร เรื่อง อิเหนา นาฏกุเวรคนธรรพ์ (ผู้ทาการแทนท้าวพรหมทัต) ใน กากีกลอนสุภาพ ๒. ด้านเจตนาการสื่อสาร การสื่อสารความนัยส่วนมากมีเจตนาถามให้ตอบ โดยมีจุดประสงค์จะพิสูจน์ว่าใช่ บุคคลที่ต้องการหรือไม่ มักใช้ในเรื่องที่มีการติดตามหากัน เช่น ในบทละครเรื่อง อิเหนา ที่อิเหนา ตามหานางบุษบา ใน สมุทรโฆษคาฉันท์ ที่นางพินทุมดีตามหาพระสมุทรโฆษ ในเรื่อง พระนล คาหลวง และ พระนลคาฉันท์ ที่นางทมยันตีตามหาพระนล และในเรื่อง กนกนคร ที่นางกนกเรขา ตามหาชายที่มาจากเมืองทอง การสื่อสารความนัยด้วยเจตนาบอกให้ทราบมีเป็นส่วนน้อย เช่น ในเรื่อง ลิลิตพระลอ ที่นางรื่นนางโรยใช้การขับซอเพื่อบอกให้พระลอทราบ ในเรื่อง กากีกลอนสุภาพ ที่คนธรรพ์ใช้เพลง พิณเพื่อบอกให้พญาครุฑทราบ การสื่อสารความนัยที่มีเจตนาถามให้ตอบและบอกให้ทราบมีเพียงในบทละครเรื่อง สังข์ทอง ที่นางจันท์มีจุดประสงค์จะพิสูจน์ว่าพระราชานั้นคือพระสังข์โอรสของตนหรือไม่ และบอก ให้ทราบว่าผู้เป็นมารดาติดตามมาถึงแล้ว ๓. ด้านสื่อ การสื่อสารความนัยส่วนใหญ่ใช้สื่อวัฒนธรรมโดยหยิบยืมรูปแบบงานจากวัฒนธรรม ด้านอื่นมาใช้ อาจเรียกว่า สื่อสารด้วยงานศิลป์ บางอย่างเป็นสื่ออวัจนะโดยตรง เช่น ภาพ จิตรกรรม ใน สมุทรโฆษคาฉันท์ และศิลปะการช่างสตรีในบทละครเรื่อง สังข์ทอง ส่วนในเรื่องอื่น สื่อมีลักษณะผสมผสานระหว่างความเป็นวัจนะของตัวบทกับความเป็นอวัจนะของคีตกรรมหรือ นาฏกรรม เช่น การขับซอในเรื่อง ลิลิตพระลอ การขับเพลงพิณในเรื่อง กากีกลอนสุภาพ การขับ เพลงในเรื่อง พระนลคาหลวง พระนลคาฉันท์ การแสดงหนังในบทละครเรื่อง อิเหนา การสื่อสาร ความนัยด้วยสื่อวัจนะอย่างเดียวคือ กนกนคร ที่ใช้สื่อคาถามว่าเคยไปเมืองทองมาแล้วหรือไม่ และคาถามว่าเหตุใดนางซึ่งตายแล้วอยู่ที่เมืองทองจึงยังคงมีชีวิตอยู่ที่นี่

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=