วารสารราชบัณฑิตยสภาปี-43-ฉบับ-1

วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-เม.ย. ๖๑ ๔๒ หน้าที่หุงหาอาหารเลี้ยงดูกัน พระสังข์จึงจารสชาติฝีมือมารดาได้ดี ฝีมือของนางจึงเป็นที่โปรด ปรานซึ่งเอื้อให้นางจันท์มีโอกาสสื่อสารสาคัญตามเจตนาได้ในเวลาต่อมา การสื่อสารความนัยด้วยสื่อคือชิ้นฟักที่สลักเรื่องนับว่าเป็นการเลือกใช้สื่อได้อย่างแยบ คายเหมาะแก่สถานการณ์เป็นอย่างยิ่ง นางจันท์เป็นนางในซึ่งมีความสามารถด้านการช่างสตรี จึง เลือกวิธีการสื่อสารกับพระสังข์ด้วยการสลักชิ้นฟักเป็นเรื่องราวแล้วแกงถวาย ฟักเป็นวัสดุพื้นผิว เรียบสามารถใช้สลักลวดลายได้ ฟักที่ใช้แกงจะถูกหั่นเป็นชิ้น ๆ มีขนาดโตพอควรทาให้สามารถ เสนอเรื่องราวในรูปลวดลายสลัก จนพระสังข์สังเกตเห็นและรับสารได้ การสื่อสารความนัยด้วย การใช้สื่อชิ้นฟักสลักใน สังข์ทอง จึงนับว่าเป็นความคิดสร้างสรรค์ด้านกลวิธีการประพันธ์ของกวี ในเรื่อง สมุทรโฆษคาฉันท์ การสื่อสารความนัยผ่านสื่อภาพจิตรกรรมที่ทานศาลานับว่า เป็นความคิดที่เฉลียวฉลาด เมื่อนางพินทุมดีพลัดพรากจากพระสมุทรโฆษนั้นโอกาสการติดตามหา กันให้พบนับว่าเป็นสูญ แต่นางก็มิได้นั่งรอคอยโชคชะตาหรือเทพยดาให้มาช่วยพลิกผัน สถานการณ์ ขณะเดียวกันการสื่อสารโดยตรงผ่านการป่าวประกาศหาสวามีที่หายไปก็ไม่ใช่สิ่งควร กระทาสาหรับนางกษัตริย์ นางจึงใช้การสื่อสารความนัยโดยจัดสถานที่สื่อสารคือทานศาลา จัดทา สื่อคือภาพจิตรกรรมประดับไว้และอาศัยผู้คนที่เดินทางไปมาอาศัยทานศาลานั้นเป็นผู้ ประชาสัมพันธ์ ซึ่งนับว่าเป็นวิธีแยบคายเหมาะสมสถานการณ์ นางพินทุมดีเลือกใช้วิธีการสื่อสารความนัยผ่านสื่อภาพจิตรกรรม เพราะสื่อรูปแบบนี้ สามารถเล่าเรื่องราวในรายละเอียดได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังใช้เป็นเครื่องประดับสถานที่ได้ อย่างเหมาะสม ภาพจิตรกรรมสร้างสรรค์ขึ้นเพียงครั้งเดียวก็ใช้ทาหน้าที่สื่อได้ตลอดไปโดยไม่ต้อง เตรียมการให้ยุ่งยากเป็นคราว ๆ แต่ทั้งนี้ต้องมีกระบวนการจัดการให้ผู้คนจานวนมากเข้าถึงสื่อ จึง ให้มีการทาทานศาลาซึ่งจะเป็นศูนย์กลางของนักเดินทาง จากนั้นนาภาพจิตรกรรมไปประดับไว้ และกาหนดให้ผู้ที่รับทานแล้วต้องไปชมภาพเพื่อสังเกตปฏิกิริยา เมื่อเกิดการเล่าลือกันถึงการให้ ทานที่ศาลานี้ก็เท่ากับเป็นการประชาสัมพันธ์ดึงดูดผู้คนทั่วสารทิศให้เดินทางมาอย่างต่อเนื่อง โอกาสที่จะพบบุคคลเป้าหมายก็มีมาก พระสมุทรโฆษได้เดินทางมาและแสดงปฏิกิริยาตอบรับการ สื่อสารผ่านสื่อภาพจิตรกรรมของนางพินทุมดี การสื่อสารความนัยดังกล่าวจึงสัมฤทธิ์ผลด้วยดี การสื่อสารความนัยด้วยการใช้สื่อบทเพลงในเรื่อง พระนลคาหลวง และ พระนลคาฉันท์ เป็นการสื่อสารที่แยบคายเหมาะสมกับบริบทสังคมและสถานการณ์ สมัยโบราณไม่มีเทคโนโลยีการ สื่อสารที่กว้างขวาง การติดตามหาคนใครสักคนเป็นเรื่องยากยิ่ง ช่องทางที่ใช้คือการเข้าไป ประชาสัมพันธ์ในแหล่งชุมชน สื่อที่ใช้ควรมีชั้นเชิง ไม่ใช่การไปป่าวประกาศตรง ๆ ซึ่งไม่เป็นผลดี กรณีที่ผู้ส่งสารและผู้รับสารจาเป็นต้องปิดบังฐานภาพของตน การขับบทเพลงท่ามกลางชุมชนเป็น การแสดงอย่างหนึ่งซึ่งเรียกความสนใจผู้คนได้

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=