วารสารราชบัณฑิตยสภาปี-43-ฉบับ-1
วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-เม.ย. ๖๑ ๔๑ สื่อสารความนัยผ่านสื่อเพลงพิณโดยนาฏกุเวรผู้มีหน้าที่ขับกล่อมบาเรอจึงเป็นอุบายที่แยบคาย รักษาเกียรติยศทางสังคมของคู่กรณีคือท้าวพรหมทัตและพญาครุฑได้ดี ทั้งยังเป็นการตอบโต้ที่ทรง ประสิทธิภาพ มีบทบาทเสมอการรบ ทาให้ผู้กระทาผิดเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ต้องส่งนางคืน การเลือกใช้สื่อรูปแบบการขับเพลงพิณเป็นความคิดแยบคาย เพลงพิณบรรเลงสร้าง บรรยากาศขณะเล่นสกา เนื้อหาของเพลงไพเราะน่ารื่นรมย์ควรเป็นที่เพลิดเพลินสาหรับผู้ฟังทั่วไป แต่สาหรับบุคคลที่ผู้ส่งสารเจาะจงส่งถึง กลับกลายเป็นว่าเนื้อหาของเพลงส่งสารระบุข้อกล่าวหา และบอกให้ผู้รับสารทราบว่าการความผิดของตนไม่เป็นความลับอีกต่อไป การสื่อสารโดยนัยด้วย สื่อเพลงพิณทาให้จับผู้กระทาผิดได้อย่างละม่อมโดยมิต้องอื้ออึงป่าวประกาศ เป็นอันปิดคดีลงได้ โดยไม่ต้องเปิดฉากสอบสวนทวนพยานให้เอิกเกริกแต่อย่างใด ส่วนท้าวพรหมทัตก็สามารถแก้แค้น ได้อย่างนุ่มนวลสาสม เพลงพิณอันละเมียดละไมไพเราะกลายเป็นอาวุธร้ายเอาชนะปฏิปักษ์ได้ อย่างราบคาบ การขับเพลงพิณสื่อสารความนัยนี้จึงเป็นการใช้สื่อได้อย่างน่าประทับใจยิ่ง ใน บทละครเรื่องอิเหนา การเล่นหนังเรื่องราวของอิเหนาและบุษบาสามารถทาให้นาง บุษบาเปิดเผยตัวได้สาเร็จ หลังจากที่อิเหนาได้พยายามหาทางพิสูจน์ว่านางแอหนังเป็นนางบุษบา หรือไม่ โดยไปลักกริชซึ่งนางแอหนังอ้างว่าเป็นของสามี แต่กริชนั้นระบุชื่ออุณากรรณทาให้อิเหนา ผิดหวังเพราะเข้าใจว่านางแอหนังเป็นภรรยาของอุณากรรณ เรื่องนางแอหนังคือบุษบาหรือไม่นั้น อิเหนาเองก็ไม่กล้าซักถามนางโดยตรงเพราะเกรงจะได้อาย ในภาวะที่ทุกคนปกปิดตัวตนที่แท้จริง ประสันตาจึงหาอุบายพิสูจน์โดยใช้การสื่อสารความนัยที่ได้ผลชัดเจนทันทีกับสถานการณ์ที่ ล่อแหลม เพราะขณะนั้นนางแอหนังคิดจะฆ่าตัวตาย การเล่นหนังเรื่องราวของอิเหนาและบุษบา จึงใช้สื่อสารความนัยได้อย่างมีประสิทธิผลและเหมาะสมกับสถานการณ์ การใช้มหรสพรูปแบบหนังเพื่อสื่อสารความนัยนับว่าเป็นความคิดที่แยบคายและเหมาะ สถานการณ์เป็นอย่างยิ่ง ธรรมชาติของมหรสพย่อมสามารถสื่อเรื่องราว อารมณ์ ความรู้สึกนึกคิด ได้ละเอียด สัมผัสใจคนดูได้ไม่ยาก สามารถคาดหวังปฏิกิริยาจากผู้รับสารซึ่งจะเป็นคาตอบข้อ สงสัยได้ผลแน่นอนกว่าวิธีอื่น ฝ่ายอิเหนาเองก็มีศักยภาพในการจัดสื่อ เพราะมีคนที่มีความสามารถ อยู่พร้อม การเลือกมหรสพที่ปรกติเล่นในเวลากลางคืนเป็นสื่อดังกล่าวจึงทันท่วงทีก่อนที่นางบุษบา จะชิงฆ่าตัวตายไปก่อนตอนค่าวันนั้น ส่วนการสื่อสารความนัยในเรื่อง สังข์ทอง ก็เป็นการสื่อสารที่เหมาะสมสอดคล้องกับ สถานการณ์และภาวะที่ตัวละครเป็นอยู่ กรณีนี้การสื่อสารอย่างตรงไปตรงมาเพื่อพิสูจน์ความจริง มิใช่จะกระทาได้โดยง่าย เพราะพระสังข์เป็นพระราชา ส่วนนางจันท์ขณะนั้นอยู่ในสภาพเป็นหญิง ชาวบ้าน ในภาวะที่ต้องปกปิดตัวตนและไม่ต้องเสี่ยงต่อการถูกลงโทษหากเกิดความผิดพลาด การ สื่อสารความนัยจึงนับว่าเป็นทางเลือกที่ดี นางจันท์ได้สมัครเป็นพวกวิเสทซึ่งเป็นหนทางที่จะเข้าถึง พระสังข์ได้ง่ายกว่าวิธีอื่น ขณะเมื่อตกระกาลาบากใช้ชีวิตอยู่กับสองตายาย นางจันท์ก็ย่อมเคยทา
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=