วารสารราชบัณฑิตยสภาปี-43-ฉบับ-1
วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-เม.ย. ๖๑ ๔๐ กลี อันเป็นจุดเริ่มคลี่คลายเรื่อง เมื่อมีการสื่อสารผ่านบทเพลงครั้งที่สองช่วยให้เรื่องดาเนินไปสู่การ ที่ตัวละครเอกทั้งสองได้พบกัน ทาให้เรื่องจบลงด้วยดี ในเรื่อง กนกนคร การสื่อสารความนัยทั้ง ๒ ครั้งส่งผลสาคัญต่อพัฒนาการของเรื่อง เช่นกัน ครั้งแรกทาให้อมรสิงห์ได้รู้จักนางกนกเรขา ซึ่งเป็นข้อสาคัญสาหรับการสื่อสาร ครั้งที่สอง เมื่อนางกนกเรขาได้พบอมรสิงห์อีกครั้ง นางจึงทราบว่าเขาคือผู้ที่นางรอคอย อย่างไรก็ตาม เมื่อ การสื่อสารความนัยครั้งที่สองประสบความสาเร็จ ผู้ต้องคาสาปทั้งคู่ได้พบกัน จากันได้ ก็ไม่ได้ นาไปสู่การลงจบเหมือนเรื่องอื่น เป็นแต่เพียงมีผลให้คาสาปผ่านพ้นไปครึ่งหนึ่งเท่านั้น กล่าวได้ว่าการสื่อสารความนัยในวรรณคดีไทยมีบทบาทสาคัญต่อเรื่อง เป็นกลวิธีที่กวีมักใช้ เป็นเครื่องมือหาทางออกให้แก่ปัญหาของตัวละคร ใช้สร้างปมของเรื่อง คลายปมของเรื่อง เป็นจุดหัก เหของเรื่อง ตลอดจนทาให้เรื่องมีพัฒนาการไป แสดงถึงความคิดแยบคายเฉลียวฉลาด บทบาทของ การสื่อสารความนัยดังกล่าวจึงส่งผลต่อการเสริมสร้างอรรถรส ความประทับใจให้แก่เรื่อง การสื่อสารความนัยในฐานะกลวิธีการประพันธ์ การสื่อสารความนัยมีบทบาทสาคัญต่อเรื่องดังที่กล่าวมา จึงเป็นเรื่องที่น่าพิจารณาการ สื่อสารความนัยในฐานะกลวิธีประพันธ์ แง่ความแยบคายที่ใช้การสื่อสารความนัยเป็นทางออก การจัดกระบวนการสื่อสารความนัยโดยคานึงถึงบริบทการสื่อสารที่มีผลต่อการรับและตีความสาร ประสิทธิภาพในการเลือกใช้สื่อและวิธีเข้าถึงสื่อ ซึ่งอาจพิจารณาตามที่ปรากฏในเรื่องต่าง ๆ ได้ดังนี้ ใน ลิลิตพระลอ การสื่อสารความนัยด้วยการที่นางพี่เลี้ยงส่งคนไปขับซอยอโฉมพระ เพื่อนพระแพงเป็นวิธีการที่แยบคาย รักษาเกียรติยศของพระเพื่อนพระแพงได้อย่างดี เพราะไม่ต้อง เผยตัวและบอกความในใจ ทั้งเป็นวิธีที่ไม่ยุ่งยาก อาศัยเหตุการณ์ที่มีการขับซอยอโฉมพระลอ การ ขับซอยอโฉมพระเพื่อนพระแพง สร้างความเชื่อมโยงในลักษณะการโต้ตอบ ทั้งรูปแบบสื่อที่ใช้ ก็แนบเนียนและมีประสิทธิผล การขับซอเป็นมหรสพที่ฟังเพลิดเพลิน เนื้อหาบทซอกล่าวถึงเจ้าหญิง แสนงาม ใครยินก็เสนาะหู นิยมฟังทั่วไป แต่เมื่อพระลอได้ฟังก็เกิดผลสมความมุ่งหมายของผู้ส่งสาร เพราะพระลอเชื่อว่าบทขับนั้นหมายถึงตน บทขับดังกล่าวเร้าความปรารถนาให้ได้นางเป็นอย่างยิ่ง เพราะการได้นางไม่เพียงเติมเต็มความปรารถนา หากยังหมายถึงการพิสูจน์ให้โลกเห็นว่าตนเป็น กษัตริย์ยิ่งใหญ่ จึงเกิดขัตติยมานะที่จะด้นดั้นไปหาพระเพื่อนพระแพงจนเกิดเป็นเรื่องราวดังกล่าว ในเรื่อง กากีกลอนสุภาพ การสื่อสารความนัยด้วยการขับบรรเลงเพลงพิณนับว่า แนบเนียนเหมาะกับสถานการณ์มาก การที่จู่ ๆ ท้าวพรหมทัตจะตั้งข้อกล่าวหาฉกรรจ์แก่พญา ครุฑต่อหน้าธารกานัลนั้นย่อมมิใช่วิสัยที่พึงกระทา ทั้งมิได้เป็นการกระทาผิดซึ่งหน้าอีกด้วย พญา ครุฑอยู่ในฐานะอาคันตุกะของท้าวพรหมทัตย่อมต้องได้รับเกียรติ ส่วนท้าวพรหมทัตเองก็ต้อง สงวนท่าทีด้วยการวางตนไม่มีส่วนเกี่ยวข้องให้ผู้อื่นทราบ เนื่องจากเพียงเท่านี้ท้าวพรหมทัตเองก็ อัปยศเพราะถูกดูหมิ่นซ้าโดยคนธรรพ์ผู้ไปมีความสัมพันธ์กับนางกากีอย่างไม่ไว้หน้าผู้เป็นนาย การ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=