วารสารราชบัณฑิตยสภาปี-43-ฉบับ-1
วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-เม.ย. ๖๑ ๓๙ บทบาทของการสื่อสารความนัย การสื่อสารความนัยที่ปรากฏในวรรณคดีไทยทั้ง ๗ เรื่องมีบทบาทสาคัญในส่วนโครงเรื่อง เนื้อเรื่อง ตลอดจนพัฒนาการของเรื่อง ดังนี้ ๑. ความสาคัญในฐานะปมของเรื่อง ใน ลิลิตพระลอ การขับซอยอโฉมพระเพื่อนพระแพงมีความสาคัญต่อโครงเรื่องใน ฐานะปมของเรื่องเป็นเหตุที่ทาให้เรื่องราวดาเนินไป พระลอเกิดความขวนขวายที่จะไปพบพระ เพื่อนพระแพง โดยมีเวทมนตร์ของปู่เจ้าสมิงพรายนั้นเป็นปัจจัยเสริมเพิ่มพลังความมุ่งมั่นให้เข้มข้น จนประสบความสาเร็จ ทาให้พระลอเดินทางไปพบจุดจบตามชะตากรรมในที่สุด ๒. ความสาคัญต่อการคลายปมเรื่อง ในบทละครเรื่อง อิเหนา การสื่อสารความนัยด้วยการเล่นหนังทาให้ผู้รับสารเปิดเผย ตัวตนสมเจตนาผู้ส่งสาร เมื่อพิสูจน์ได้ว่าแอหนังคือบุษบาก็เกิดการจากันได้ เหตุการณ์ดังกล่าว เป็นการคลี่คลายสู่การลงจบของเรื่อง เพราะเป็นอันสุดสิ้นคาสาปของปะตาระกาหลาที่ลงโทษ อิเหนา “ ต่อสี่พี่น้องร่วมเวียงชัย จึงให้รู้จักศักดิ์กัน ” หมายถึงอิเหนา บุษบา สียะตรา เกนหลง พบกันที่กาหลัง ในบทละครเรื่อง สังข์ท อง นางจันท์และท้าวยศวิมลต้องการพบโอรสจึงได้พยายาม เดินทางติดตาม การสื่อสารความนัยด้วยการสลักชิ้นฟักเป็นการคลายปมสุดท้ายของเรื่อง พระ สังข์เมื่อรับสารได้ก็ให้หาตัวผู้แกงฟัก มีการเปิดเผยตัว นางจันท์ได้พบพระสังข์ในที่สุด ทาให้เรื่อง จบลงอย่างสมบูรณ์เมื่อพ่อแม่ลูกได้พบกัน ครองชีวิตและบ้านเมืองอย่างเป็นสุขสืบไป ในเรื่อง สมุทรโฆษคาฉันท์ การสื่อสารความนัยผ่านภาพจิตรกรรมทาให้เกิดการเปิดเผยตัว ส่งผลให้ตัวละครเอกที่พลัดพรากจากกันได้พบกันในที่สุด เป็นการแก้ปมสุดท้ายของเรื่อง นางพินทุมดีได้พบพระสมุทรโฆษ การสื่อสารความนัยดังกล่าวนาไปสู่การลงจบที่สวยงามของเรื่อง ๓. ความสาคัญต่อการสร้างจุดหักเหของเรื่อง ใน กากีกลอนสุภาพ การขับเพลงพิณมีจุดประสงค์เพื่อ “ จะแก้กลเวนไตยให้อัปรมาณ หมางสมานในสมรให้รอนรัก ” เนื้อหาเพลงพิณมีผลกดดันให้พญาครุฑส่งนางกากีคืนอย่างไม่มีเงื่อนไข พญาครุฑไม่เพียงถูกเปิดโปงความผิด หากยังถูกหมิ่นหยามจนแทบสิ้นศักดิ์ศรี เสียรู้โดนซ้อนกลจน ถูกจับได้ ยังซ้าเสียเชิงแก่คนธรรพ์ผู้ต่าต้อยอย่างน่าอัปยศอดสู ทาให้พญาครุฑหมดอาลัยในนางกากี และพานางมาคืน การสื่อสารความนัยด้วยเพลงพิณนี้จึงนับว่าเป็นจุดหักเหของเรื่อง ๔. ความสาคัญต่อพัฒนาการของเรื่อง ในเรื่อง พระนลคาหลวง และ พระนลคาฉันท์ การสื่อสารความนัยผ่านบทเพลงขับ ร้องทั้งสองครั้งมีผลต่อพัฒนาการของเรื่อง ทาให้เรื่องดาเนินไปอย่างเป็นเหตุเป็นผลเนื่องกัน ครั้ง แรกทาให้นางทมยันตีทราบว่าพระนลอยู่ที่อโยธยา นางจึงหาทางให้ท้าวฤตุบรรณพาพระนลมายัง เมืองของนางเพื่อพิสูจน์ให้แน่ชัด การเดินทางครั้งนี้มีผลให้พระนลเป็นอิสระจากการครอบงาของ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=