วารสารราชบัณฑิตยสภาปี-43-ฉบับ-1

วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-เม.ย. ๖๑ ๓๘ ชายดีมีชาติ แจ้งเรื่องเมืองมาศ สู่ราชเร็วไว รางวัลอันยิ่ง ทุกสิ่งสมใจ กอบโกยโดยนัย ที่ประกาศเอยฯ ( กนกนคร ของพระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ , น. ๕๘ ) ตอนที่สองคือตอนที่อมรสิงห์กลับจากเมืองทอง พบนางกนกเรขาแล้วถามขึ้นด้วยความฉงนว่า นางมีชีวิตพิศเห็น เหมือนเพ็ญจันทร์ตรูอยู่นี่ เหตุไฉนในกนกธานี จึ่งมีศพนางวางไว้ฯ ( กนกนคร ของพระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ , น. ๑๒๗) กนกนคร เป็นเรื่องราวกล่าวถึงพญาคนธรรพ์กมลมิตรและนางอนุศยินีภรรยาต้องคาสาปร้ายแรง ของฤๅษีลงมาเกิดในเมืองมนุษย์ชื่ออมรสิงห์และนางกนกเรขา ทั้งสองมีความทรงจาเกี่ยวกับกันและกัน อย่างเลือนรางจึงไม่ยอมอภิเษกกับใครนอกจากคนที่ตนผูกพันแต่อดีตชาติ นางกนกเรขาได้ทราบจาก พระศิวะว่าคนที่นางรอคอยคือชายที่มาจากเมืองทอง (กนกนคร) พระบิดาจึงให้ป่าวประกาศหาบุคคล ดังกล่าว การสื่อสารความนัยกระทาผ่านสื่อคือคาถามว่าเคยเห็นเคยไปเมืองทองหรือไม่ เงื่อนไขความ สัมฤทธิ์ผลอยู่ที่ความรู้เรื่องเมืองทองอันเป็นประสบการณ์ร่วมเฉพาะระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสาร อมรสิงห์ได้ยินคาป่าวประกาศได้เข้าพบนางและอ้างว่าเคยไปเมืองทองมาแล้วทั้งที่ไม่เคย รู้เรื่องเมืองทองแต่อย่างใด เมื่อนางซักถามถึงเรื่องเมืองทองจึงตอบไม่ได้และถูกขับออกจากเมือง แม้การสื่อสารความนัยครั้งแรกนี้จะล้มเหลวแต่ก็ทาให้เขาได้เห็นนางกนกเรขาเป็นครั้งแรกซึ่งจะ เป็นปัจจัยสาคัญสาหรับการสื่อสารครั้งต่อมา อมรสิงห์เดินทางไปเสาะหาเมืองทองพบว่าอยู่บน เกาะแห่งหนึ่ง เมืองนั้นปราศจากผู้คน มีเพียงร่างไร้ชีวิตของนางอนุศยินีซึ่งอมรสิงห์เข้าใจว่าเป็น นางกนกเรขาที่นั่น เขากลับจากเมืองทองมาที่เมืองของนางกนกเรขาอีกครั้งโดยบังเอิญอย่างน่า อัศจรรย์ แต่ก็ยังได้ยินคาป่าวประกาศเช่นเดิม จึงฉงนและขอเข้าพบนางเพื่อพิสูจน์ข้อสงสัย คาถามของอมรสิงห์ที่ถามนางว่า “ในเมื่อนางยังมีชีวิตอยู่ที่นี่ เหตุใดจึงมีศพนางอยู่ที่เมืองทอง” แม้ตัวข้อความจะมีลักษณะเป็นคาถามให้ตอบ แต่ตัวคาถามเองกลับเป็นคาตอบสาหรับนางกนกเรขา เพราะเมื่อ นางกนกเรขา “ ยินข่าวกล่าวความตามนัย ทราบได้แจ้งจัดชัดแท้ ” นางทราบได้ทันทีว่าอมรสิงห์ได้ไปเมืองทอง มาแล้วโดยไม่ต้องมีหลักฐานคาอธิบายอื่น ๆ การสื่อสารความนัยครั้งที่สองนี้ประสบความสาเร็จ เพราะเงื่อนไข ประสบการณ์ร่วมคือความรู้เรื่องเมืองทอง นางกนกเรขาได้ทราบว่าอมรสิงห์คือบุคคลที่นางผูกพันรอคอยอยู่ การสื่อสารความนัยในเรื่อง กนกนคร นี้ใช้สื่อวัจนภาษาในรูปการถามตอบ คาถามคือเคยไปเมืองทอง หรือไม่ แม้จะดูคล้ายการสื่อสารที่ตรงไปตรงมา แต่สื่อนี้มีความซับซ้อนเพราะไม่ได้ต้องการเพียงคาตอบว่า เคยไป หากแต่มีเจตนาพิสูจน์ว่าใช่บุคคลที่ติดตามหาอยู่หรือไม่ ดังนั้น แม้คาตอบจะต้องใช้ประสบการณ์ร่วม เฉพาะระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสารเป็นหลักฐานบ่งชี้ว่าเคยไปเมืองทองมาจริง แต่นั่นก็ยังไม่ใช่ประเด็นที่แท้ของ การสื่อสาร ประเด็นที่แท้ตามเจตนาการส่งสารก็คือคาตอบที่แสดงว่าผู้นั้นเคยไปเมืองทองมาจริงเป็นเครื่อง ระบุว่าเขาคือบุคคลที่ผู้ส่งสารประสงค์พบ เหตุนี้สื่อวัจนภาษารูปการถามตอบดังกล่าวจึงเป็นสื่อซับซ้อน

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=