วารสารราชบัณฑิตยสภาปี-43-ฉบับ-1
วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-เม.ย. ๖๑ ๓๕ การสื่อสารโดยนัยกรณีนี้สัมฤทธิ์ผลตามความมุ่งหมายของผู้ส่งสาร เพราะพระสังข์รับ สารได้ แสดงปฏิกิริยาตอบรับโดยการร่าไห้โศกาถึงพระชนนี ใน สมุทรโฆษคาฉันท์ ตอนปลาย พระนิพนธ์สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิต ชิโนรสซึ่งดาเนินเรื่องตาม ปัญญาสชาดก การสื่อสารความนัยปรากฏตอนที่นางพินทุมดีผู้ต้องพลัดพราก จากพระสมุทรโฆษเพราะพายุซัดขอนขาดในมหาสาคร ครั้นขึ้นบกได้ก็ติดตามหาสวามีโดยการสร้าง โรงทานแล้วให้จิตรกรเขียนภาพเรื่องราวของนางกับพระสมุทรโฆษประดับไว้ จากนั้นก็จัดผู้คอยเฝ้าสังเกต ท่าทีของผู้ชมภาพจิตรกรรม โดยเชื่อมั่นว่าหากเป็นพระสมุทรโฆษย่อมจะต้องแสดงปฏิกิริยาให้ปรากฏ ครบเครื่องอุปโภคพิธี สบสรรพ์พรรณมี และสร้างคฤหาสน์หอทอง เสร็จสั่งวัฒกีทังผอง แสดงโดยจิตรปอง ให้ทาซึ่งทานศาลา ยังช่างร่างเรื่องรจนา ภาพพรรณโสภา ในพืนผนังรังผจง แต่แรกแต่เทพโอบองค์ อดิศรสุริย์วงศ์ มาวางในปรางค์สมสอง เท่าถึงสองดลชลนอง เกาะขอนกรตระกอง แลว่ายในสายสินธุธาร เกิดมหาวาตะพะพาน คลื่นคลั่งบันดาล ก็ฟัดก็ฟาดขาดขอน สองเสวยทุกข์แทบเมือมรณ์ สองท่องชโลธร ทังสองขจัดพลัดกัน ...ฯลฯ... ทั่วหมู่นรชาติผองพรรค์ รับทานทุกอัน พึงพาไปเพ่งเลขา ใครผู้ดูแล้วโศกา จงนากิจจา มาแจ้งแก่เราฤๅนาน ( http://vajirayana.org/สมุทรโฆษคำฉันท์/ตอนที่ ๓ ) การสื่อสารความนัยกรณีนี้ใช้ภาพจิตรกรรมเป็นสื่อ เนื้อหาของภาพมีเจตนากระตุ้นเร้า ให้ผู้ที่มีประสบการณ์ร่วมเช่นพระสมุทรโฆษได้ชมแล้วเกิดปฏิกิริยา แสดงความรู้สึกออกมาให้เห็น เท่ากับเป็นการแสดงตนให้ปรากฏ ซึ่งจะทาให้นางพินทุมดีทราบว่าพระสวามีที่ตนติดตามหาได้มา ถึงแล้ว นับว่าเป็นการสื่อสารความนัยเพื่อการค้นหา โดยใช้สื่อซับซ้อนแบบเจาะจงผู้รับสารที่มี ประสบการณ์ร่วม บุคคลอื่นแม้เห็นสื่อก็ไม่อาจทราบความหมายตามเจตนาของผู้ส่งสาร ได้แต่พึง พอใจกับการชมภาพจิตรกรรมงดงามที่มีเรื่องราวสนุกสนานน่าเพลิดเพลินเท่านั้น ดังที่ว่า ผองผู้ดูวาด ห่อนเห็นประหลาด เจรจาว่าขาน ไป่เศร้าไป่ศัลย์ หฤหรรษ์สาราญ ฤๅรู้ดานาน ราวเรื่องเบืองใด มีแต่ชมเชย งามยิ่งจริงเหวย นิทานที่ไหน นามาเลขา โสภาพึงใจ เพรียกพร้องซ้องไป ห่อนได้เหตุผล (http://vajirayana.org /สมุทรโฆษคำฉันท์/ตอนที่๔ )
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=