วารสารราชบัณฑิตยสภาปี-43-ฉบับ-1

วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-เม.ย. ๖๑ ๓๔ เพื่อหาทางพิสูจน์และบอกให้ทราบว่าพระบิดามารดาตามมาแล้ว การสื่อสารความนัยปรากฏตอน ที่นางจันท์จงใจแกงฟักแล้วสลักชิ้นฟักเป็นเรื่องราวของตน ดังที่ว่า นางต้มแกงแต่เครื่องเวลาไร ชอบพระทัยลูกรักนักหนา สมหวังดังจิตที่คิดมา กัลยาจะแกล้งแกงฟัก จึงหยิบยกมาตังนั่งฝาน เอาวางไว้ในจานแล้วเจียนจัก แกะเป็นรูปขององค์นงลักษณ์ เมื่ออยู่กับผัวรักที่ในวังฯ ชินหนึ่งทรงครรภ์กัลยา คลอดลูกออกมาเป็นหอยสังข์ ชินสองต้องขับเที่ยวเซซัง อุ้มลูกไปยังพนาลัย ชินสามเมื่ออยู่ด้วยยายตา ลูกยาออกช่วยขับไก่ ชินสี่กัลยามาแต่ไพร ทุบสังข์ป่นไปกับนอกชาน ชินห้าบิตุรงค์ทรงศักดิ์ ให้รับตัวลูกรักมาจากบ้าน ชินหกจองจาทาประจาน ให้ประหารฆ่าฟันไม่บรรลัย ชินเจ็ดเพชฌฆาตเอาลูกยา ไปถ่วงลงคงคานาไหล เป็นเจ็ดชินสินเรื่องอรไท ใครใครไม่ทันจะสงกาฯ (http://vajirayana.org/ บ ทละครนอกเรื่องสังข์ทอง / ตอนที่๙-ท้ำวยศวิมลตำมพระสังข์ ) การสื่อสารความนัยกรณีนี้ใช้สื่อชิ้นฟักสลักด้วยฝีมือการช่างสตรี ตัวสารบนชิ้นฟักที่เป็น เรื่องราวของนางจันท์กับพระสังข์ผู้เป็นโอรส มีความหมายเชิงเจตนาคือการถามเพื่อพิสูจน์ข้อสงสัย และการบอกให้ทราบ หากพระราชานั้นคือพระสังข์โอรสของนางจันท์จริงก็จะรับสารได้และทราบ ว่ามารดาได้ติดตามมาแล้ว ทั้งนี้เพราะเงื่อนไขประสบการณ์ร่วมนั่นเอง ด้วยวิธีการสื่อสารความ นัยนี้ นอกจากพระสังข์แล้วผู้อื่นจะไม่ทราบว่ามีการส่งสารผ่านสื่อชิ้นฟักในแกง และถึงแม้จะเห็น ว่ามีการสลักชิ้นฟัก แต่ก็จะไม่ทราบความหมายที่แท้จริงของสื่อนั้นเลย ดังความที่ว่า เอาช้อนทองลองตักแกงฟัก เห็นชินสลักก็สงสัย พระพินิจดูพลางเอาวางไว้ แล้วตักขึนมาใหม่ก็เหมือนกัน จึงเลือกตักแต่ชินสินชามฝา เพ่งพิจารณาทุกสิ่งสรรพ์ หลากใจหนักหนาน่าอัศจรรย์ พระทรงธรรม์ไม่บอกให้ใครฟัง จึงเอานามาล้างแล้ววางราย เห็นเป็นเรื่องนิยายหอยสังข์ พระมารดามาตามแล้วกระมัง คนอื่นทังเมืองเราไม่เข้าใจ ไม่เสวยเลยอิ่มโภชนา จะกลืนกลันนาตามิใคร่ได้ หยิบเอาชินฟักนันถือไว้ สะอืนไห้ถึงพระชนนี (http://vajirayana.org/ บ ทละครนอกเรื่องสังข์ทอง/ตอนที่๙-ท้ำวยศวิมลตำมพระสังข์ )

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=