วารสารราชบัณฑิตยสภาปี-43-ฉบับ-1

วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-เม.ย. ๖๑ ๓๓ บทขับมีเนื้อหากล่าวราพึงถึงคราวเมื่อตนได้ไปร่วมภิรมย์กับนางกากีที่วิมานสิมพลีของ พญาครุฑ การสื่อสารความนัยนี้ใช้สื่อในรูปบทขับบรรเลงเพลงพิณ เจตนาบอกให้พญาครุฑทราบ ว่าบัดนี้ท้าวพรหมทัตทราบแล้วว่าใครคือผู้ลักพานางกากีไป ซึ่งพญาครุฑก็รับสารได้ทันทีแต่ยัง ฉงนอยู่ว่าคนธรรพ์มีประสบการณ์เช่นนั้นได้อย่างไรจึงสอบถามคนธรรพ์ ผู้ให้คาตอบตอกหน้าว่า เขาได้อาศัยพญาครุฑผู้โฉดเขลาพาตนไปหานางกากีเองโดยไม่ต้องอาศัยฤทธาแต่อย่างใด อันเวทมนต์ฤทธิไกรไม่เชี่ยวชาญ แต่จิตหาญแทรกขนสุบรรณจร พระยาครุฑครองชู้เป็นชายเฉา มาพาเราผู้ชู้ไปสู่สมร ราตรีปักษีเข้าแนบนอน ทิวากรเราแนบประจานาง (http://vajirayana.org/ ว รรณคดีเจ้ำพระยำพระคลัง (หน) /กำกีกลอนสุภำพ ) ขณะที่เพลงพิณของคนธรรพ์ส่งสารข้อกล่าวหาพร้อมระบุหลักฐานมัดตัวแน่นจากกลิ่นกาย ของนางกากีที่ติดมากับพญาครุฑ การซักถามของพญาครุฑก็เท่ากับการยอมรับข้อกล่าวหาไปโดย ปริยาย กรณีนี้ผู้ส่งสารสามารถสื่อสารกับผู้รับสารได้สัมฤทธิ์ผลตามจุดประสงค์โดยอาศัยประสบการณ์ ร่วม ผู้อื่นแม้อยู่ในสถานการณ์การสื่อสารนั้นก็ไม่อาจรับสารที่มีตามความหมายตามเจตนานี้ ในเรื่อง อิเหนา พระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย การสื่อสารความ นัยปรากฏตอนสึกชี อิเหนาที่ปลอมเป็นมิสารปันหยีต้องการทราบให้แน่ใจว่าแอหนังติหลาอรสาคือ นางบุษบา ประสันตาจึงออกอุบายพิสูจน์ข้อเท็จจริงโดยจัดให้มีการแสดงหนังให้นางแอหนังชม เป็น เรื่องราวของอิเหนากับบุษบาตั้งแต่พบกันจนถึงลมหอบ เพื่อสังเกตปฏิกิริยาของนาง ดังที่ว่า ข้าน้อยตริตรึกนึกใน จะจาหลักหนังให้เป็นเรื่องมา แต่ขึนไปไหว้พระบนกุหนุง จนจากกรุงมาอยู่คูหา แล้วทรงรถทองเก็บมาลา ลมพารถาไปนัน ถ้าเห็นหนังแล้วนางโศกา ก็เป็นองค์ขนิษฐาเป็นแม่นมั่น แม้ไม่โศกาจาบัลย์ อย่าสาคัญเลยว่าเทวีฯ ( อิเหนำ พระรำชนิพนธ์รัชกำลที่ ๒ , น. ๙๒๓) การสื่อสารความนัยกรณีนี้ใช้สื่อมหรสพประเภทหนัง มีเจตนาเพื่อพิสูจน์ข้อสงสัยคล้ายการ ถามเพื่อให้ได้คาตอบ อาศัยประสบการณ์ร่วม ผู้ชมคือบุษบาซึ่งแม้ว่าอยู่ระหว่างปลอมตัวเป็นแอหนัง แต่เมื่อได้ชมการแสดงหนังซึ่งเป็นเรื่องราวของตนกับอิเหนาก็เกิดความรู้สึกสะเทือนใจจน “ สะอืนร่า กาสรดแสนทวี มารศรีพ่างเพียงจะขาดใจ ” ปฏิกิริยาดังกล่าวคือคาตอบ ทาให้ฝ่ายอิเหนาแน่ใจว่า แอหนังติหลาอรสาคือบุษบา นางแอหนังต้องเปิดเผยตัวเพราะการสื่อสารความนัยดังกล่าว ในบทละครนอกเรื่อง สังข์ทอง พระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เมื่อเรื่องดาเนินไปถึงตอนที่ท้าวยศวิมลและนางจันท์พากันติดตามหาโอรส ครั้นเข้าเมืองสามนต์ แล้วพบพระสังข์เลียบเมือง นางจันท์ไม่มั่นใจว่าเป็นโอรสของตนหรือไม่ จึงไปสมัครเป็นพวกวิเสท

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=