วารสารราชบัณฑิตยสภาปี-43-ฉบับ-1
วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-เม.ย. ๖๑ ๓๑ การนาสื่อซับซ้อนรูปแบบต่าง ๆ จากวัฒนธรรมด้านอื่นมาใช้อย่างแยบคาย น่าพิจารณาแง่การ ปรากฏ บทบาท และคุณค่าในฐานะกลวิธีการประพันธ์ กรอบความคิดที่ใช้ในการศึกษาเรื่องการสื่อสารความนัยในบทความนี้ได้จากการประยุกต์และ ประสานแนวคิดจาก ๓ แหล่ง ได้แก่ แนวคิดเรื่อง context of situation ของ J.R. Firth (๑๙๕๗) ว่าด้วย บริบทการสื่อสารที่ยังการสื่อสารให้เกิดขึ้นและมีผลต่อความหมาย แนวคิดทฤษฎีวัจนกรรมว่าด้วยเจตนา กับความหมาย และทฤษฎีการสื่อสารว่าด้วยองค์ประกอบของการสื่อสาร การสื่อสารความนัยที่ปรากฏในวรรณคดีไทย วรรณคดีไทยที่ปรากฏการสื่อสารความนัยผ่านสื่อซับซ้อนรูปแบบต่าง ๆ ได้แก่ ๑. ลิลิตพระลอ ๒. กากีกลอนสุภาพ ของเจ้าพระยาพระคลัง (หน) ๓. อิเหนา พระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ๔. บทละครนอกเรื่อง สังข์ทอง พระราชนิพนธ์ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ๕. สมุทรโฆษคาฉันท์ ตอนปลาย พระนิพนธ์สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ๖. พระนลคาหลวง พระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และ พระนลคาฉันท์ พระนิพนธ์พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ ๗. กนกนคร พระนิพนธ์พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ ในเรื่อง ลิลิตพระลอ เมื่อพระเพื่อนพระแพงได้ยินบทขับยอโฉมพระลอว่าเป็นกษัตริย์ หนุ่มรูปงามและองอาจสามารถล้าบุรุษใด ทั้งสองก็ปั่นป่วนถวิลหา การสื่อสารความนัยปรากฏ ตอนที่นางรื่นนางโรยพี่เลี้ยงคิดแผนการช่วยพระเพื่อนพระแพงให้ได้สมความปรารถนาด้วยการส่ง คนไปขับซอยอโฉมสองนางให้ได้ยินถึงพระลอ บทขับมีความว่า ทุกเมืองมีลูกท้าว นับมี มากนา บเปรียบสองกษัตรีย์ พี่น้อง พระแพงแม่มีศรี สวัสดิ์ยิ่ง คณนา พระเพื่อนโฉมยงหย้อง อยู่เพียงดวงเดือน ฯ โฉมสองเหมือนหยาดฟ้า ลงดิน งามเงื่อนอัปสรอินทร์ สู่หล้า อย่าคิดอย่าควรถวิล ถึงยาก แลนา ชมยะแย้มทั่วหน้า หน่อท้าวมีบุญ ฯ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=