วารสารราชบัณฑิตยสภาปี-43-ฉบับ-1

วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-เม.ย. ๖๑ ๓๐ develop a story line. The evocation of poetic flavours, interests, and impressions is also its function. Keywords: implicative communication, Thai literature, complicated communication media ความนา การสื่อสารคือการส่งสารถึงผู้รับโดยมีสื่อนาไป สารที่เป็นวัจนภาษาหรืออวัจนภาษาจะ ถูกส่งผ่านสื่อซึ่งได้แก่ผู้นาสารหรือสิ่งนาสาร สารอาจอยู่ในสื่อที่เป็นถ้อยวาจา (สื่อวัจนะ) หรือไม่ เป็นถ้อยวาจา (สื่ออวัจนะ) โดยสื่ออาจเป็นบุคคล สัตว์ หรือสิ่งต่าง ๆ ก็ได้ เนื่องจากสื่อรูปแบบหนึ่งอาจปรากฏเป็นสารต่างกันขึ้นอยู่กับบริบทของการสื่อสาร อัน ได้แก่บริบทด้านวัฒนธรรม สถานการณ์ และประสบการณ์ที่มีร่วมกันระหว่างผู้สื่อสาร ๑ การ สื่อสารที่นับว่าสัมฤทธิ์ผลถือว่าผู้รับสารเข้าใจสารและมีปฏิกิริยาตอบสนองตามตามเจตนาของผู้ส่ง สาร โดยนัยนี้ประเด็นที่น่าสนใจก็คือ สื่ออาจมีภาวะซับซ้อนเนื่องมาจากเจตนาของการส่งสาร กล่าวคือ บางกรณีผู้ส่งสารอาจมีเจตนาใช้สื่อส่งสารที่มีความหมายนอกเหนือจากความหมาย พื้นฐานที่ปรากฏในตัวสื่อเอง (ความหมายพื้นฐาน หมายถึงเนื้อหาสาระที่สื่อนั้นจาเป็นต้องมีอยู่ แล้วโดยได้จากภาษา เรื่องราว แก่นเรื่อง) สื่อที่ต้องใช้ความหมายเชิงเจตนาของผู้ส่งสารในการ ตีความดังกล่าวในที่นี้จะเรียกว่า สื่อซับซ้อน เนื่องจากสื่อประเภทนี้มักจะหยิบยืมรูปแบบงานจาก วัฒนธรรมด้านอื่นมาใช้ โดยอาศัยบริบทการสื่อสารช่วยให้เกิดผลสัมฤทธิ์ดังเจตนา การสื่อสารโดยทั่วไปมีทั้งแบบเปิดเผย เช่น การส่งสารผ่านสื่อที่บุคคลทั่วไปสามารถรับ สารได้ การสื่อสารแบบไม่เปิดเผย เช่น การลอบส่งสารโดยมิให้ผู้อื่นรู้เห็นหรือรับทราบสาร และ การสื่อสารแบบกึ่งเปิดเผย เช่น การส่งสารที่แม้จะมีผู้รู้เห็นแต่จะไม่อาจทราบความหมายตาม เจตนาของผู้ส่งสารว่าจงใจส่งสารอะไรถึงใคร การสื่อสารแบบนี้ผู้รับสารได้จะมีเพียงบุคคลที่ผู้ส่ง สารประสงค์ส่งถึงเท่านั้น อาจเรียกว่าเป็น การสื่อสารความนัย การสื่อสารแบบนี้จะประสบ ความสาเร็จหรือไม่จาเป็นต้องอาศัยเงื่อนไขบริบทการสื่อสารและสื่อซับซ้อนดังกล่าวข้างต้น การ สื่อสารความนัยผ่านสื่อซับซ้อนเป็นกลวิธีการประพันธ์ที่พบได้ในวรรณคดีไทยสาคัญหลายเรื่อง มี ๑ สุดาพร ลักษณียนาวิน (๒๕๓๗ : ๖๐) กล่าวไว้ในหัวข้อ บริบทของการสื่อสารกับการใช้ภาษา ว่า “การใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารจะ เกิดในบริบทเสมอ ลาดับจากกว้างมาหาแคบ คือ บริบทวัฒนธรรม บริบทสถานการณ์ และบริบทที่เป็นประสบการณ์ของผู้ส่งสารและ ผู้รับสาร” อ้างถึงแนวคิดของ J.R. Firth (๑๙๓๕) ที่ว่าด้วยบริบทสถานการณ์ (context of situation) ว่า “บริบทสถานการณ์จะเกิดขึ้น ภายใต้บริบทวัฒนธรรม (context of culture) ซึ่งเป็นบริบทที่ครอบคลุมบริบทสถานการณ์ทั้งหลายไว้ทั้งหมด ภายในบริบท สถานการณ์แต่ละบริบทคือบริบทประสบการณ์ (context of experience of participants) ของผู้ร่วมสถานการณ์การสื่อสารนั้น ๆ” (เรื่องเดียวกัน, น ๖๒) และกล่าวไว้ในหัวข้อ ทฤษฎีวัจนกรรม ว่า “ผู้รับสารจะเข้าใจหรือตีความรูปภาษานั้น ๆ อย่างไรก็ขึ้นอยู่ กับบริบทของการสื่อสารเป็นสาคัญ การอธิบายความหมายในภาษาจึงต้องอาศัยองค์ประกอบของการสื่อสารตั้งแต่ ผู้ส่งสาร ผู้รับ สาร รูปภาษา (หมายถึงสื่อ-ผู้เขียน) และที่สาคัญคือเจตนาของการใช้รูปภาษานั้น ๆ ในการสื่อสาร (เรื่องเดียวกัน, น. ๑๓๖)

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=