วารสารราชบัณฑิตยสภาปี-43-ฉบับ-1
วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-เม.ย. ๖๑ ๒๔ จะเห็นว่าศานติส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับเทพที่เป็นสาเหตุให้เกิดอุตปาตะต่าง ๆ เช่น เสามย ศานติเกี่ยวข้องกับพระโสม (พระจันทร์) ไวษณวีศานติเกี่ยวข้องกับพระวิษณุ เกาพรีศานติเกี่ยวข้อง กับพระกุเวร พรหมีศานติเกี่ยวข้องกับพระพรหมา วารุณีศานติเกี่ยวข้องกับพระวรุณ อุตปาตะ อัทภุตะ และนิมิตตะ คงจะมีความสัมพันธ์กับตาราอาธิไทโพธิบาทของไทย เพราะมีเนื้อหาหลายประการคล้ายคลึงกัน ตาราอาธิไท้โพธิบาทนี้คงจะมีมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา เพราะมีการกล่าวถึงอุบาทว์ในกฎหมายตราสามดวง ตาราอาธิไทโพธิบาท สรุปเนื้อหาของตาราอาธิไทโพธิบาท (ประชุมจารึกวัดพระเชตุพน, ๒๕๔๔ : ๘๐๒-๘๑๗ ; อธิไทยโพธิบาทว์, ๒๕๕๕ : ๑-๑๔) มีดังนี้ ๑. ปรากฏการณ์ที่พระอินทร์เป็นผู้ทาให้เกิดขึ้น ได้แก่ ๑) ฟ้าผ่าประตูมณเฑียรราชปราสาท ๒) ฟ้าผ่าโรงม้าโรงช้าง ๓) รุ้งกินน้าปรากฏในเวลากลางคืน ๔) พระราชาตกพระแท่นบรรทม ตกราชอาสน์ ตกเสลี่ยง ๕) พระราชาละทิ้งพระราชวังไปประทับเกษมสาราญในป่า ๖) มุขมนตรีทะเลาะวิวาทกัน ๗) นักปราชญ์ราชบัณฑิตทะเลาะกัน ๘) สัตว์ป่าเข้ามาในเมือง ๙) วัวออกจากคอกที่เคยอยู่ ๑๐) วัวตัวเมียขึ้นขี่วัวตัวผู้เพื่อมีเพศสัมพันธ์ ๑๑) จวักหักคามือ และไพร่มีความร้อนอกร้อนใจ ๒. ปรากฏการณ์ที่พระเพลิง (อัคนิ) ทาให้เกิดขึ้น ได้แก่ ๑) แผ่นดินแยกในใจกลางเมือง ๒) อาวุธต่าง ๆ เช่น เสโล โตมร พระขรรค์ จักร หักโดยไม่มีสาเหตุอันควร ๓) ถ้วยชามแตกร้าวโดยไม่มีเหตุอันควร ๔) หนูเล่นกันสนุกสนานส่งเสียงเจี๊ยวจ๊าวในเรือน ๕) บุตรภรรยาข้าทาสระริกระรี้แสดงความสนุกสนานยินดีปรีดา ๖) กล้วยมีเครือกลางลาต้น ๗) แสงอาทิตย์เย็นแต่แสงจันทร์กลับร้อน ๘) เกิดความวิปริตทางฤดูกาล ๙) ไฟที่อยู่ในเชิงกรานคุขึ้นเองโดยไม่มีการพัดหรือเป่า
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=