วารสารราชบัณฑิตยสภาปี-43-ฉบับ-1
วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-เม.ย. ๖๑ ๒๒ อัทภุตะ (Adbhuta) อุตปาตะ (Utp ā ta) นิมิตตะ (Nimitta) คาทั้ง ๓ คานี้มีความสัมพันธ์กับคาว่า ศานติ “การทาให้สงบลง” มีรายละเอียดดังต่อไปนี้ (Kane 1962: 740-744) คาว่า อัทภุตะ เป็นคาที่เก่ามากมีใช้ตั้งแต่สมัยฤคเวท ใช้กับเทพบางองค์ในความหมายว่า “น่าอัศจรรย์” บางครั้งหมายถึง “สิ่งที่เป็นอนาคต” บางครั้งหมายถึง “ซึ่งเป็นลาง” ในคัมภีร์สมัย หลังให้ความหมายของอัทภุตะกว้างขึ้น คือ ไม่หมายเฉพาะปรากฏการณ์ธรรมชาติที่ใหญ่โต เช่น แผ่นดินไหว สุริยคราส จันทรคราส ดาวหาง ดาวตก แต่ยังหมายถึงปรากฏการณ์แปลก ๆ ซึ่งไม่ คาดว่าจะเกิดขึ้น เช่น แม่โคให้นมแดงเป็นสีเลือด แม่โคดูดนมของแม่โคอีกตัวหนึ่ง คัมภีร์อถรฺวเวท ปริศิษฺฏ แบ่งอัทภุตะออกเป็น ๗ ประเภท โดยเกี่ยวข้องกับเทพต่าง ๆ คือ พระอินทร์ พระวรุณ พระยม พระอัคนิ พระกุเพร (กุเวร) พระวิษณุ และพระวายุ เช่น รุ้งปรากฏในเวลากลางคืน (เกี่ยวข้องกับพระอินทร์) แร้งจับที่บ้านหรือนกพิราบเข้าบ้าน (เกี่ยวข้องกับพระยม) ควันปรากฏ โดยไม่มีไฟ (เกี่ยวข้องกับพระอัคนิ) เกิดอุปราคาที่นักษัตรประจาวันเกิดของบุคคล (เกี่ยวกับพระ วิษณุ) ซึ่งเมื่อเกิดอัทภุตะแบบนี้จะต้องทาพิธีศานติโดยให้พราหมณ์สวดคัมภีร์อถรรพเวท ต้องให้ พราหมณ์กล่าวคาว่า สวสฺติ และต้องเลี้ยงพราหมณ์ด้วย คาว่า อุตปาตะ ในคัมภีร์เศฺราตสูตฺรและคฺฤหฺยสูตฺรมีใช้น้อย คัมภีร์เคาตมธรฺมสูตฺรบังคับ ให้พระเจ้าแผ่นดินตั้งพราหมณ์ผู้คงแก่เรียนและประพฤติชอบเป็นปุโรหิต และให้ใส่พระทัยในคา ทานายของโหร การแปลความหมายของอุตปาตะ (สิ่งบอกลางไม่ดีที่เกิดจากเทพ) ของผู้เชี่ยวชาญ ในคัมภีร์ปุราณะมีการใช้อุตปาตะมากกว่าอัทภุตะ บางครั้งอุตปาตะและอัทภุตะก็เป็นคาที่ใช้ใน ความหมายเดียวกัน แต่โดยทั่วไปแล้วอุตปาตะชี้ไปในทาง “เป็นลางไม่ดีต่อทุกคน” อถรรพเวท และผู้แต่งคัมภีร์บางท่านว่า อุตปาตะ หมายถึง การกลับไปในทางตรงข้ามกับกฎธรรมชาติ คาว่า นิมิตตะ หมายถึงสาเหตุหรือบางสิ่งบางอย่างที่บ่งบอกว่าจะเกิดอะไรขึ้นในอนาคต นิมิตตะอาจจะเป็นมงคลและไม่เป็นมงคล นี่คือข้อแตกต่างระหว่างอุตปาตะกับนิมิตตะ อุตปาตะ โดยทั่วไปหมายถึงลางไม่ดี นิมิตตะมักจะจากัดอยู่ที่การกระตุกของอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย แต่ก็ มีบ้างที่ใช้ในความหมายที่กว้างขึ้น อุตปาตะและอัทภุตะหลัก ๆ ก็คือ ฝันร้าย ลมพายุ เช่น เฮอริเคน ลูกอุกกาบาตตก สุนัข จิ้งจอกหอนทางทิศใต้ ลมพายุที่พัดทรายมา แผ่นดินไหว สุริยคราสในเวลาไม่ปรกติ ฟ้าแลบโดยที่ ไม่มีเมฆ สัตว์กินเนื้อ เช่น แร้ง จับอยู่ที่อาคารศาสนสถาน บนกาแพงป้อมปราการไฟลุกขึ้นมาเอง ธงฉีกขาด พระจันทร์และพระอาทิตย์ทรงกลด แม่น้าไหลเป็นเลือด ฝนตกโดยไม่มีเมฆ ฝนตกเป็น เลือดหรือโคลน ฝูงช้างร้อง ท้องฟ้ามืด ม้าน้าตาไหล ฟ้าคารามทั้ง ๆ ที่ไม่มีเมฆ แม่น้าไหลย้อนกลับ แขนและตาข้างซ้ายของผู้ชายเขม่น กบร้อง ทะเลบ้า รูปเคารพสั่น เต้นรา หัวเราะและร้องให้ พระ อาทิตย์ซีด กวาง นก เช่น นกพิราบ นกสาลิกา ร้องพร้อมกับมองดูดวงอาทิตย์ คนหัวขาดปรากฏ ใกล้ดวงอาทิตย์ วัวออกลูกเป็นลา หนูออกลูกเป็นพังพอน
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=