วารสารราชบัณฑิตยสภาปี-43-ฉบับ-1
วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-เม.ย. ๖๑ ๒๑ ปุราณะ พฤหัตสังหิตา ศานติกมลากร (Kane 1962: 734-735) พิธีศานติจานวนมากเลิกทาแล้ว มีเพียงบางพิธีเท่านั้นที่ยังทาอยู่ พิธีศานติกับดาวนพเคราะห์ พิธีศานตินอกจากประกอบขึ้นเพื่อขจัดปัดเป่าและป้องกันไม่ให้สิ่งไม่ดีที่อาจเกิดขึ้น เกิดขึ้นไม่ได้เมื่อปรากฏ อุตปาตะแล้ว ยังมีพิธีศานติที่เกี่ยวกับนพเคราะห์เรียกว่า นวคฺรหศานฺติ (Kane 1962: 749-750) “การทาให้พระเคราะห์ทั้งเก้าสงบ” ดาวเคราะห์มีทั้งหมด ๙ ดวง ได้แก่ อาทิตย์ ( Ā ditya) จันทร์ (Candra) มังคละ (Ma ṅ gala) พุธ (Budha) พฤหัสบดี (B ṛ haspati) ศุกร์ ( Ś ukra) เสาร์ (Saura) ราหุ (R ā hu) และเกตุ (Ketu) การมีเคราะห์อาจจะเกิดจากดาวเคราะห์ ซึ่งในภาษาสันสกฤตเรียกว่า คฺรหปีฑา “การ ตกอยู่ใต้อานาจทางร้ายของดาวนพเคราะห์” เมื่อมีเทศกาลสาคัญนพเคราะห์จะได้รับการบูชา พร้อมกันทุกองค์ เมื่อไม่มีเทศกาลสาคัญนพเคราะห์จะได้รับการบูชาวันละองค์ สิ่งที่ใช้เผาบูชาดาว เคราะห์ ได้แก่ สิ่งที่ใช้เผาบูชาพระอาทิตย์ คือชิ้นเล็ก ๆ ของต้นรัก ภาษาสันสกฤตเรียกว่า อรฺก (Asclepias gigantica) สิ่งที่ใช้เผาบูชาพระจันทร์ คือชิ้นเล็ก ๆ ของไม้ทองกวาว ภาษาสันสกฤตเรียกว่า ปลาศ (Butea fondosa) สิ่งที่ใช้บูชาเผาพระบูชามังคละ คือชิ้นเล็ก ๆ ของไม้ขทิระ (Mimosa catechu) สิ่งที่ใช้บูชาเผาบูชาพระพุธ คือชิ้นเล็ก ๆ ของไม้ อปารมารฺค (Achryranthes aspera) สิ่งที่ใช้บูชาเผาบูชาพระพฤหัสบดี คือชิ้นเล็ก ๆ ของอัศวัตถะ (ไม้โพธิ์) (Ficus Religiosa) สิ่งที่ใช้บูชาเผาบูชาพระศุกร์ คือชิ้นเล็ก ๆ ของไม้มะเดื่อ (Udumbara) สิ่งที่ใช้บูชาเผาบูชาพระเสาร์ คือชิ้นเล็ก ๆ ของไม้สมี (Mimosa albida) สิ่งที่ใช้บูชาเผาบูชาพระราหุ คือชิ้นเล็ก ๆ ของใบหญ้าทูรฺวา สิ่งที่ใช้บูชาเผาบูชาพระเกตุ คือใบหญ้าแฝก (Ku ś a) รูปเคารพของนพเคราะห์จะต้องทาด้วยทองแดง ผลึก ไม้จันทน์แดง ทอง (สาหรับพระ พุธและพระพฤหัสบดี) เงิน เหล็ก ตะกั่ว และทองสัมฤทธิ์ ตามลาดับ ถ้าไม่มีวัตถุเหล่านี้ให้วาดภาพ บนผ้าด้วยผงที่มีสีตรงกับพระเคราะห์องค์นั้น ๆ หรือใช้กระแจะจันทน์ (ไม้จันทน์ฝนบนหินแล้ว ผสมน้าให้เป็นกระแจะเหมือนแป้ง) วาดรูปไว้ในวงกลม คัมภีร์มัตสยปุราณกาหนดให้เขียนรูปพระ อาทิตย์ไว้ตรงกลาง มังคล พฤหัสบดี พุธ ศุกร์ จันทร์ เสาร์ ราหุ และเกตุ อยู่ทิศเหนือ ทิศใต้ ทิศ ตะวันออกเฉียงเหนือ ทิศตะวันออก ทิศตะวันออกเฉียงใต้ ทิศตะวันตก ทิศตะวันตกเฉียงใต้ และ ทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ตามลาดับ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=