วารสารราชบัณฑิตยสภาปี-43-ฉบับ-1

วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-เม.ย. ๖๑ ๒๐ นกหรือสัตว์บินไปหรือเดินไปทางด้านขวาของคน ไฟลุกโดยไม่มีควันและเปลวไฟหมุนไปทางด้าน ขวา มีดอกไม้โปรยลงมา นกมงคล เช่น จาษะ นกยูง นกกระเรียนส่งเสียงร้องอยู่ทางด้านขวา แม้ว่าคาว่า อุตปาตะ จะไม่พบในคัมภีร์ฤคเวทอันเป็นอนุสรณ์ทางวรรณกรรมที่เก่าที่สุด ในภาษาตระกูลอินเดีย-ยุโรป (Indo-European) คือมีอายุไม่ต่ากว่า ๑๓ ศตวรรษก่อนคริสต์ศักราช (Macdonell, 1917: xi) แต่บทสวดอ้อนวอนต่อเทพบางบทบ่งชี้ว่า คนในยุคฤคเวทนอกจากจะนับ ถือเทพในธรรมชาติแล้วยังเชื่อว่ามีสิ่งเลวร้ายคอยรบกวนพวกเขาอยู่ จึงต้องอ้อนวอนเทพให้ช่วย ปกป้องจากสิ่งเลวร้ายเหล่านั้น เช่น “พวกเราอัญเชิญบทสรรเสริญเหล่านี้มาถวาย เทพรุทระผู้มี อานาจ ผู้ถักพระเกศา ผู้มีอานาจเหนือคนกล้า เพื่อว่าการอยู่ดีมีสุขจะได้เกิดแก่สัตว์สองเท้า (คน) และสัตว์สี่เท้า และเพื่อว่าทุกสิ่งในหมู่บ้านนี้จะมีแต่ความอุดมสมบูรณ์ ปราศจากความเจ็บป่วย” (Griffith, 1986: 75; Rigveda Sa ṃ hit ā :I.114.1) “เทพทั้งหลายได้ส่งนกเขาเป็นทูตมรณะมาที่นี่ (บ้านของพวกเรา) เพื่อค้นหาใครคนใดคนหนึ่งในหมู่พวกเรา ขอพวกเราจงสวดอ้อนวอนเพื่อขจัด ปัดเป่าสิ่งร้ายที่จะเกิดขึ้น ขอให้คนและสัตว์สี่เท้าจงสุขสบายดี” (กโปต คือ นกเขา ถือว่าเป็นนกที่ บ่งบอกลางร้ายและเป็นทูตมรณะ (ดูใน Griffith, 1986: 645; Rigveda Sa ṃ hit ā : X.165.1 ) ศานติ เมื่ออุตปาตะเกิดขึ้นจาเป็นต้องมีพิธีป้องกันเพื่อไม่ให้สิ่งเลวร้ายเกิดขึ้น พิธีดังกล่าวเรียก ในภาษาสันสกฤตว่า ศานติ ( Śā nti) แปลว่า การทาให้บุคคลใดบุคคลหนึ่งสงบลง หรือโกรธน้อยลง โดยให้สิ่งที่เขาต้องการ (Kane 1962: 719-721) มาจาก ศมฺ ธาตุ (root) ซึ่งมีหลายความหมาย เช่น ทาให้บุคคลใดบุคคลหนึ่งสงบลง หรือโกรธน้อยลงโดยให้สิ่งที่เขาต้องการ หยุด ขจัด ฆ่า ฯลฯ คาว่า ศานฺติ ไม่พบในคัมภีร์ฤคเวท พบแต่ ศมฺ ที่เป็นคานามแปลว่า ความสุข (happiness) ใช้คู่กับ คาว่า โยสฺ แปลว่า การอยู่ดีมีสุข (welfare) (Monier Williams Online Dictionary: 1054) คาว่า ศานฺติ ปรากฏครั้งแรกในคัมภีร์อถรรพเวท (Atharvaveda) ซึ่งในข้อความที่หนึ่ง กล่าวว่า วาจา ใจ ตา หู จมูก ลิ้น และผิวหนัง โดยปรกติมักจะทาแต่สิ่งที่น่ากลัวหรือไม่เป็นมงคล ทั้ง ๗ สิ่งนี้จะต้องพยายามทาศานติให้เกิดขึ้น และในข้อความอีกที่หนึ่งในคาถากล่าวว่า แผ่นดิน พื้นที่ระหว่างกลาง (แผ่นดินกับสวรรค์) สวรรค์ น้า ต้นไม้ พืช และปวงเทพ ทั้งหมดนี้ได้ถูกทาให้ สงบลงแล้วและกลายเป็นสิ่งที่เป็นมงคลด้วยพิธีศานติที่ผู้ประกอบพิธี (ที่แท้) คือผู้แต่งบทสวด และกล่าวอีกว่าโดยศานติเหล่านั้น โดยศานติทั้งหมด พวกเราได้ทาสิ่งเหล่านี้ให้สงบลง คือ สิ่งน่า กลัว สิ่งไม่เป็นมงคล สิ่งชั่วร้าย ขอให้สิ่งที่ถูกทาให้สงบลงแล้วนั้น ช่วยให้สิ่งที่ดี ๆ เกิดขึ้น เป็น ความสุขสาหรับพวกเรา จากข้อความนี้ทาให้ทราบว่า คาว่า ศานฺติ มาจากคากริยาว่า ศมยติ “ทา ให้สงบลง” และทาให้ทราบอีกว่า พิธีศานติ มีมาแล้วตั้งแต่ยุคอถรรพเวท พิธีศานติที่ปรากฏในคัมภีร์ยุคหลังพระเวท มีรายละเอียดของพิธีเพิ่มขึ้นอย่างมากมาย คัมภีร์ที่สาคัญได้แก่ คฤหยสูตร (คฺฤหฺยสูตฺร) เกาศิกสูตร อถรรพเวทปริศิษฏะ (อถรฺวเวทปริศิษฺฏ)

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=