วารสารราชบัณฑิตยสภาปี-43-ฉบับ-1
วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-เม.ย. ๖๑ ๑๐ ๒.๒ สถานที่และพระราชกรณียกิจสาคัญ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าราไพพรรณี พระบรมราชินี เสด็จพระราชดาเนินโดยเรือพระที่นั่งมหาจักรี เข้าเทียบท่าหน้าเมืองไซ่ง่อนเมื่อวันที่ ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๓ ต่อมาวันที่ ๑๕ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๓ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้า เจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดาเนินไปทรงวางพวงมาลาที่อนุสาวรีย์ทหารญวนซึ่งสิ้นชีพในมหาสงครามที่ เมืองไซ่ง่อน วันที่ ๒๓ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๓ ได้เสด็จพระราชดาเนินไปทอดพระเนตรวังที่ประทับ ของอดีตพระเจ้ากรุงญวน และทรงฉายพระรูปร่วมกับนายเลอ โฟล ผู้สาเร็จราชการของฝรั่งเศสและ ฝ่ายเวียดนาม เมื่อเสด็จพระราชดาเนินกลับประเทศสยามแล้ว พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้กรมศิลปากรหล่อรูปช้างสาริดพระราชทานเป็นที่ระลึก และเพื่อทรง ขอบใจฝ่ายฝรั่งเศสและเวียดนามที่จัดการรับเสด็จ โดยทรงกระทาเหมือนครั้งที่พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระบรมชนกนาถ โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานรูปหล่อ ช้างสาริดแก่เมืองสิงคโปร์และปัตตาเวีย สาหรับรูปช้างสาริดที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานแก่อินโดจีนครั้งนี้ ปัจจุบันตั้งอยู่ที่สวนสัตว์นครโฮจิมินห์ สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม มีจารึกข้อความที่ฐานด้านที่เป็นภาษาไทยว่า “พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวแห่งกรุงสยาม พระราชทานไว้เปนที่ระลึกในการที่ได้เสด็จพระราชดาเนิรมายังประเทศอินโดจีนเปนครังแรก เสด็จ พระราชดาเนิรขึนที่เมืองไซ่ง่อน เมื่อวันที่ ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๓” (ศิรินันท์ บุญศิริ, ๒๕๔๙) ๒.๓ ผลของการเสด็จพระราชดาเนิน ผลของการเสด็จพระราชดาเนินเยือนอินโดจีนครั้งนี้ นับว่า เป็นการบรรลุพระ ราชประสงค์ในการกระชับสัมพันธไมตรีกับฝรั่งเศสในอินโดจีน และการทอดพระเนตรสถานที่ทาง ธรรมชาติและสถานที่สาคัญทางประวัติศาสตร์ รวมทั้งการทอดพระเนตรความเจริญต่าง ๆ ด้วย พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงใช้เวลาเสด็จประพาสอินโดจีนกว่า ๑ เดือน การเสด็จประพาสประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้ง ๒ ครั้งเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๒ และ พ.ศ. ๒๔๗๓ นั้นมีผู้สรุปว่า “พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดาเนิน ทอดพระเนตรกิจการด้านต่าง ๆ เช่น สวนยาง โรงกลั่นยาง สวนชา โรงงาน ทาใบชา โรงไฟฟ้าพลังน้า โรงพยาบาล โรงงานผลิตอาวุธ ฯลฯ รวมทั้งสถานที่สาคัญทางธรรมชาติ โบราณสถาน เพื่อทรงนาความรู้มาพัฒนาประยุกต์ใช้กับประเทศไทย เนื่องจากมีความคล้ายคลึง กันทั้งในด้านภูมิประเทศ และขนบประเพณี วัฒนธรรม...” (ศิรินันท์ บุญศิริ, ๒๕๔๙)
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=