วารสารราชบัณฑิตยสภาปี-43-ฉบับ-1

วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-เม.ย. ๖๑ ๑๑๙ ตัวอย่างซอฟต์แวร์ระนาดเอก สแกนคิวอาร์โคด (QR Code) ที่ภาพทางด้านซ้ายจะเห็น การสอนตีระนาดเอกเพลงลาวดวงเดือน ๒ ชั้น ในระบบยูทูบทันที ภาพขวา ตาราฝึกเรียนดนตรีไทยในระบบ อินเทอร์เน็ตด้วย คิวอาร์โคด ซึ่งผู้เขียนทาไว้ในเว็บไซต์ www.krutuckshop.com ข้อมูลนี้มีหลายเรื่องต้องใช้ปลายนิ้วแตะเลือกเอง แนวคิดของผู้เขียนในการเผยแพร่ดนตรีไทยด้วยปลายนิ้วในระบบอินเทอร์เน็ตคือ ทา ภาพรูปเครื่องดนตรีขนาดเล็ก ๆ ที่เรียกว่าไอคอน (icon) ไว้ที่หน้าจอภาพคอมพิวเตอร์เพื่อให้ผู้ที่ ต้องการเรียนดนตรี เลือกใช้นิ้วมือแตะที่ภาพเหล่านี้แล้วจะได้ฟังเสียงการบรรเลงพร้อมทั้งตัวโน้ต หรือภาพการบรรเลงจรได้ทันที การเตรียมการและรูปแบบการเผยแพร่ วิธีเผยแพร่ภาพ เสียง หรือตัวอักษร ในระบบอินเทอร์เน็ตนั้นใช้คอมพิวเตอร์เป็นหลัก ดังนั้นจึงต้องเตรียมการโดยผู้เขียนบันทึกโน้ตเพลงไทยหลายรูปแบบลงในคอมพิวเตอร์ด้วย โปรแกรมซอฟต์แวร์หลายชนิดด้วยกันโดยใช้ระบบ “โน้ตตัวเลข” ๑-๙ เพราะสะดวกในการพิมพ์ ข้อมูล เนื่องจากมีตัวเลขนี้อยู่ในแป้นพิมพ์ของคอมพิวเตอร์ทุกชนิดอยู่แล้ว ด้วยแนวคิดนี้ ผู้เขียนจึงได้นามาใช้ในการเผยแพร่ศิลปะดนตรีไทยให้ปรากฏอยู่ในระบบ อินเทอร์เน็ตด้วยวิธีการหลายรูปแบบ เช่น ๑. บันทึกเสียงดนตรี หรือเสียงเพลงที่ต้องการนาเสนอ พร้อมทั้งภาพตัวโน้ตให้มีความ สอดคล้องกันอย่างสมจริง แล้วถ่ายคลิปไปไว้บนอินเทอร์เน็ตเพื่อให้ผู้เรียนเปิดดูโดยสร้างภาพ ไอคอนกากับไว้เพื่อสื่อความหมายให้เข้าใจถึงทานองและจังหวะที่ถูกต้อง วิธีเตรียมการคือเขียนโน้ตเพลงด้วยระบบคอมพิวเตอร์ให้อยู่ในรูปแบบที่ต้องการแล้วแต่ ระบบโน้ตที่จะเลือก เช่น โน้ตสากล (บรรทัด ๕ เส้น) หรือโน้ตที่ดนตรีไทยแบบตัวเลขซึ่งนิยมกัน

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=