วารสารราชบัณฑิตยสภาปี-43-ฉบับ-1

วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-เม.ย. ๖๑ ๑๑๖ เอาเงินไปซื้อสิ่งของที่ต้องการได้ที่ตู้ ATM ซึ่งมีอยู่ทุกซอกทุกมุมเมืองแทนต้นกัลปพฤกษ์ จึงชวนให้ คิดว่าเราคงใกล้จะถึงยุคพระศรีอาริย์ดังที่ท่านผู้ใหญ่เคยเล่าให้ฟังมากเต็มทีแล้ว แนวคิดในการจัดทาระบบ "เรียนดนตรีด้วยปลายนิ้ว" ด้วยเทคโนโลยีอันแสนมหัศจรรย์ของระบบอินเทอร์เน็ตที่เราได้สัมผัสพบเห็นกันอยู่ใน ปัจจุบันเป็นระบบการเข้าถึงข้อมูลนานาชนิดได้อย่างสะดวกรวดเร็ว ด้วยการใช้เพียงปลายนิ้ว สัมผัสเบา ๆ บนจอภาพของคอมพิวเตอร์เท่านั้นผู้คนก็จะสามารถมองเห็น ได้ยินเสียง ได้อ่าน ได้ ศึกษาหาความรู้ที่ต้องการได้อย่างสะดวกง่ายดาย ผู้เขียนจึงเกิดแนวคิดที่จะเผยแพร่การเรียนรู้ ดนตรีไทยด้วยปลายนิ้วขึ้นมาบ้าง เพื่อให้ประชาคมโลกได้รับทราบถึงความไพเราะงดงามของ ดนตรีไทยได้จากทุกมุมโลก ระบบการสั่งงานเครื่องคอมพิวเตอร์ ก่อนที่จะกล่าวถึงระบบการเรียนรู้ดนตรีไทยด้วยปลายนิ้วที่ผู้เขียนจัดทาขึ้น จะขอกล่าวถึง ระบบการสั่งงานคอมพิวเตอร์เท่าที่ผ่านมาก่อน เพื่อปูพื้นฐานความเข้าใจของผู้ที่ยังไม่เคยทราบ คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องจักรกลในระบบอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งสามารถประมวลผลและแสดงข้อมูล ภาพ เสียง และข้อความที่เป็นตัวอักษรได้แทบจะทุกภาษาในโลกที่มีใช้กันอยู่ แม้จะมีความสามารถถึงเพียง นี้แต่คอมพิวเตอร์นั้นไม่สามารถคิดเองได้ ยังคงต้องการ "คาสั่งงาน" จากผู้ใช้ซึ่งเป็นมนุษย์อยู่ดี ดังนั้นจึง ต้องมีระบบสั่งงานคอมพิวเตอร์ก่อนเป็นอันดับแรก ระบบการสั่งงานบนเครื่องคอมพิวเตอร์ ได้แก่ ๑. แป้นคีย์บอร์ด (Key Board) เป็นระบบที่เกิดขึ้นก่อนระบบอื่น ๆ ผู้สั่งงานต้องพิมพ์ คาสั่งที่กาหนดไว้ก่อน โดยผู้ที่เขียนซอฟต์แวร์ (Software) ลงบนแป้นพิมพ์ให้คอมพิวเตอร์รับทราบ และปิดท้ายคาสั่งด้วยการกดแป้นพิมพ์ซึ่งเป็นคาสั่งให้ทางาน เช่น คาว่า Enter ๒. เมาส์ (Mouse) เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่คอมพิวเตอร์สามารถรับรู้การสั่งงานและ ความต้องการของผู้ใช้ โดยคานวณจากการที่ผู้ใช้เลื่อนเมาส์ไปมาบนหน้าจอภาพจึงทราบตาแหน่งที่ ต้องการใช้งาน เมื่อกดนิ้วลงไปบนตัวเมาส์ เครื่องจึงแสดงข้อมูลตรงนั้นให้ทราบได้บนจอภาพทันที ภาพบน Mouse

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=