วารสารราชบัณฑิตยสภาปี-43-ฉบับ-1
วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-เม.ย. ๖๑ ๑๑๐ เสรีภาพของสื่อมวลชน รัฐธรรมนูญทุกฉบับของประเทศไทยต่างก็ได้ให้การรับรอง ด้วยเห็นความจาเป็นและ ความสาคัญของหนังสือพิมพ์และสื่อมวลชนชนิดอื่น ๆ มากบ้างน้อยบ้าง สุดแล้วแต่บรรยากาศและ บริบททางการเมืองในยุคนั้น ๆ เป็นเช่นไร เช่น รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ ประกาศใช้เมื่อวันที่ ๖ เมษายน ๒๕๖๐ ให้การรับรองเสรีภาพของสื่อมวลชนไว้ในมาตรา ๓๔ ว่า “บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การพูด การเขียน การพิมพ์ การโฆษณา และการสื่อความหมายโดยวิธีอื่น” (รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๖๐) “การจากัดเสรีภาพดังกล่าวจะกระทามิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอานาจตามบัญญัติแห่ง กฎหมายที่ตราขึ้นเฉพาะเพื่อรักษาความั่นคงของรัฐ เพื่อคุ้มครองสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลอื่น เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือเพื่อป้องกันสุขภาพของ ประชาชน” และมาตรา ๓๕ บัญญัติว่า “บุคคลซึ่งประกอบวิชาชีพสื่อมวลชนย่อมมีเสรีภาพในการ เสนอข่าวสารหรือการแสดงความคิดเห็นตามจริยธรรมแห่งวิชาชีพ” “การสั่งปิดกิจการหนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชนอื่นเพื่อลิดรอนเสรีภาพตามวรรคหนึ่ง จะกระทามิได้” การให้นาข่าวสารหรือข้อความใด ๆ ที่ผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชนจัดทาขึ้นไปให้เจ้าหน้าที่ ตรวจก่อนนาไปโฆษณาในหนังสือพิมพ์หรือสื่อใด ๆ จะกระทามิได้ เว้นแต่จะกระทาในระหว่างเวลาที่ ประเทศอยู่ในสภาวะสงคราม เจ้าของกิจการหนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชนอื่นต้องเป็นบุคคลสัญชาติไทย การให้เงินหรือทรัพย์สินอื่นเพื่ออุดหนุนกิจการหนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชนอื่นของเอกชน รัฐจะกระทามิได้ หน่วยงานของรัฐที่ใช้จ่ายเงินหรือทรัพย์สินให้สื่อมวลชนไม่ว่าเพื่อประโยชน์ใน การโฆษณาหรือประชาสัมพันธ์ หรือเพื่อการอื่นใดในทานองเดียวกัน ต้องเปิดเผยรายละเอียดให้ คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินทราบตามระยะเวลาที่กาหนดและประกาศให้ประชาชนทราบด้วย เจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งปฏิบัติหน้าที่สื่อมวลชนย่อมมีเสรีภาพตามวรรคหนึ่ง แต่ให้คานึงถึง วัตถุประสงค์และภารกิจของหน่วยงานที่ตนสังกัดอยู่ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ ๙ ได้มีพระราชกระแสรับสั่งถึง ความสาคัญและความเป็นผู้มีเกียรติของผู้สื่อข่าวในการพระราชทานพระบรมราโชวาทแก่นักการเมือง นักธุรกิจ และนักหนังสือพิมพ์อเมริกันที่ได้เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทรับเสด็จฯ ณ พิพิธภัณฑ์เมโทรโปลิแตน นครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ ๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๑๐ ความว่า “...ผู้มีหน้าที่สื่อข่าวที่ดี หรือมีหน้าที่ประสานความเข้าใจระหว่างคนหลายชาติหลายชั้นก็ดี ควรสานึกอยู่เสมอว่า งานของเขา เป็นงานสาคัญและมีเกียรติสูง เพราะหมายถึงความรับผิดชอบอันยิ่งใหญ่ในการร่วมสร้างสันติสุข ให้แก่โลก การแพร่ข่าวโดยขาดความระมัดระวัง หรือแม้แต่คาพูดง่าย ๆ เพียงนิดเดียวก็สามารถจะ ทาลายงานที่ผู้มีความปรารถนาดีทั้งหลายพยายามสร้างสรรค์ไว้ด้วยความยากลาบาก หากจะแก้ตัวว่า การพูดพล่อย ๆ เพียงสองสามคานี้เป็นเรื่องเล็ก ไม่น่าจะเก็บมาถือเป็นเรื่องใหญ่เลยก็ไม่ถูกเหมือน
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=