วารสารราชบัณฑิตยสภาปี-43-ฉบับ-1
วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-เม.ย. ๖๑ ๑๐๙ หนังสือข่าว (Newspaper) ที่มีชื่อเรียกว่า “ราชกิจจานุเบกษา” ซึ่งพระบาทสมเด็จพระ จอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชดาริให้จัดทาขึ้นยังคงออกเผยแพร่ติดต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน (ได้หยุด ไประยะหนึ่งและออกใหม่เมื่อวันที่ ๑๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๑๗) และนับได้ว่าคณะผู้จัดทาเป็น ฐานันดรที่ ๔ ที่มีอายุสืบต่อกันยืนยาวที่สุด กับทั้งได้ขยายกิจการเพื่อให้ทาหน้าที่ในการเผยแพร่ ประกาศพระบรมราชโองการ กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ ตลอดจนประกาศของกระทรวงทบวง กรมต่าง ๆ ได้อย่างกว้างขวางยิ่งขึ้น โดยปัจจุบันผู้รับผิดชอบในการผลิตราชกิจจานุเบกษาคือสานัก เลขาธิการคณะรัฐมนตรี ต่อมา แม้ว่าหนังสือพิมพ์ Bangkok Recorder ของหมดปลัดเลย์จะต้องปิดตัวเอง ก็มี หนังสือพิมพ์ฉบับอื่น ๆ เกิดขึ้นและปิดตัวเองไปฉบับแล้วฉบับเล่า ส่วนผู้ประกอบอาชีพหนังสือพิมพ์ก็ มีตัวตายตัวแทนสืบเนื่องต่อ ๆ กันมา และถ้านักหนังสือพิมพ์ผู้ใดประพฤติตนอยู่ในกรอบจริยธรรม แห่งวิชาชีพ ทาตัวเป็นผู้มีเกียรติเชื่อถือได้ ก็ได้รับการยอมรับจากสังคมโดยทั่วไป มีองค์กรวิชาชีพทา หน้าที่เป็นทั้งองค์กรทางสังคม และองค์กรกากับดูแลด้านคุณธรรมจริยธรรม มีการเรียนการสอนวิชา วารสารศาสตร์สื่อสารมวลชน หรือวิชานิเทศศาสตร์ตามมหาวิทยาลัยต่าง ๆ เกือบทุกมหาวิทยาลัย โดยเริ่มต้นที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เมื่อวันที่ ๒๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๙๗ ผู้ประกอบวิชาชีพ หนังสือพิมพ์ รวมทั้งผู้ที่ทางานในสื่อใหม่ซึ่งเกิดขึ้นในภายหลังคือวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ ต่างก็พอใจกับการที่ได้รับการขนานนามว่าเป็น ฐานันดรที่ ๔ เรื่อยมา นายศักดิ์ชัย บารุงพงศ์ (นามปากกา “เสนีย์ เสาวพงศ์” ) นักเขียนที่มีชื่อเสียงและนักการทูต ผู้ล่วงลับ กล่าวว่า นักหนังสือพิมพ์ต้องมีมาตรฐานสูงทัดเทียมกับฐานันดรทั้ง ๓ ที่อ้างถึง ควรทาตัวให้ เหมาะสมกับฐานันดรที่ ๔ ที่เอ็ดมันด์ เบิร์ก ได้กล่าวยกย่องไว้ นายศักดิ์ชัยได้เปิดเผยว่า ผู้ที่นาคาว่า “Fourth Estate” มาแปลเป็นภาษาไทย และได้กล่าวคานี้ในประเทศไทยเป็นคนแรกว่า “ฐานันดรที่ ๔” คือพลตรีพระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าวรรณไวทยากร กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ ปราชญ์ของไทย พระองค์หนึ่ง ทรงเป็นอดีตประธานสมัชชาใหญ่สหประชาชาติและอดีตนายกราชบัณฑิตยสถาน ซึ่งองค์การ เพื่อการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ได้ประกาศยกย่องให้เป็นบุคคล สาคัญของโลก ผู้มีผลงานดีเด่นด้านวัฒนธรรม ในโอกาสครบรอบวันประสูติครบ ๑๐๐ ปี เมื่อวันที่ ๒๕ สิงหาคม ๒๕๓๔ พระองค์ทรงมีความสันทัดเชี่ยวชาญในการแปลคาภาษาอังกฤษมาเป็นภาษาไทยที่ สละสลวย เช่น คาว่า Automatic แปลว่า อัตโนมัติ, Constitution แปลว่า รัฐธรรมนูญ, Democracy แปลว่า ประชาธิปไตย, Television แปลว่า โทรทัศน์ Radio แปลว่า วิทยุ เป็นต้น โดยพระองค์ท่านทรง กล่าวในการแสดงปาฐกถาที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อครั้งทรงดารงพระอิสริยยศเป็นพระองค์เจ้าวรรณ ไวทยากร โดยรับสั่งว่า “หนังสือพิมพ์นั้นได้รับการยกย่องว่าเป็นฐานันดรที่ ๔ มาจากภาษาอังกฤษว่า Fourth Estate จึงควรทาตัวให้เหมาะสมกับที่เป็นฐานันดรที่ ๔” (ศักดิ์ชัย บารุงพงศ์ ๒๕๔๐)
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=