วารสารราชบัณฑิตยสภาปี-43-ฉบับ-1
วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-เม.ย. ๖๑ ๑๐๘ หนังสือพิมพ์ไทย ก่อน พ.ศ. ๒๓๘๗ ประเทศไทยใช้วิธีประกาศและส่งข่าวคราวของทางราชการที่ออกไปจาก ราชสานัก ณ กรุงเทพฯ ในฐานะพระบรมราชโองการ ซึ่งเป็นกฎหมายใช้บังคับแก่ขุนนางและ พสกนิกรโดยทั่วไปนั้นโดยใช้เป็น “ใบบอก” กรมพระอาลักษณ์ได้รับพระบรมราชโองการรับสั่งให้ จารึกลงในกระดาษข่อยปิดไว้ที่หอหลวงในพระบรมมหาราชวัง บรรดาข้าราชการในกรุงและหัวเมือง ใกล้เคียงจะต้องมาคัดลอกพระบรมราชโองการเหล่านั้นไปแจ้งแก่บรรดาขุนนางและพสกนิกรทั่วไปให้ ทราบ และถือเป็นหลักปฏิบัติในฐานะที่เป็นกฎหมาย ส่วนผู้ที่อยู่ตามหัวบ้านหัวเมืองไกล ๆ นั้น เจ้าหน้าที่ในกรมพระอาลักษณ์ทางกรุงเทพฯ จะคัดลอกส่งไปให้ ซึ่งอาจจะสูญหาย หรือประชาชน ส่วนที่อยู่ในป่าก็สุดวิสัยที่จะรู้ได้ว่าพระมหากษัตริย์ทรงมีพระราชประสงค์อะไรและอย่างไร ครั้นล่วงมาถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีหมอสอนศาสนาคณะ เพรสไบทีเรียน ชื่อหมอแดน บีช แบรดเลย์ (Dan Beach Bradley) ชาวอเมริกัน เข้ามาใน ราชอาณาจักรไทยคนทั่วไปเรียกว่า “หมอปลัดเลย์” ทาหน้าที่รักษาโรคและเผยแผ่ศาสนาโดยได้พิมพ์ คาสอนทางศาสนาออกเผยแพร่ และต่อมาได้ออกหนังสือพิมพ์ภาษาไทยฉบับแรกของประเทศไทยชื่อ บางกอก รีคอร์เดอร์ (Bangkok Recorder) หนังสือจดหมายเหตุ โดยออกเป็นรายปักษ์ (๑๕ วันต่อ ครั้ง) ขายแผ่นละ ๒ สลึง คือ ๕๐ สตางค์ ออกเป็นปฐมฤกษ์เมื่อวันที่ ๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๓๘๗ บรรจุข้อคิดเห็น ความรู้ ข่าว สินค้าจากตลาด กาหนดเวลาเข้าเทียบท่าของเรือสินค้ารวมทั้งโฆษณา ขายสินค้าจากห้างร้าน และประวัติพื้นเพดั้งเดิมของเมืองไทยตามสมควร เมื่อหนังสือพิมพ์บางกอก รีคอร์เดอร์ พิมพ์ออกจาหน่ายแพร่หลายมากขึ้น ภายหลังมี การตีพิมพ์ถ้อยคาคลาดเคลื่อนไปจากข้อเท็จจริง พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรด เกล้าฯ ให้ออกหนังสือพิมพ์ขึ้นในราชสานัก เพื่อชี้แจงข่าวคราวที่หมอปลัดเลย์พิมพ์ข่าว คลาดเคลื่อนนั้น และเพื่อประโยชน์ในการประกาศกฎบัตรกฎหมายหรือพระบรมราชโองการ หนังสือพิมพ์ฉบับแรกนี้พระองค์ทรงเป็นทั้งบรรณาธิการและทรงอานวยการทั้งฉบับ นั่นก็คือ “ราชกิจจานุเบกษา” ซึ่งตีพิมพ์ออกแจกในราชการงานเมืองทั่วไป เพื่อจะได้ทราบพระราชกิจและ รัฐประศาสโนบายของพระองค์ในหมู่ขุนนางและพสกนิกรโดยแน่ชัด อันจักเป็นคุณประโยชน์แก่ บ้านเมืองต่อไป และได้มีพระราชปรารภใน “ราชกิจจานุเบกษา” ซึ่งแปลว่า “หนังสือเป็นที่ เพ่งดูราชกิจ” ฉบับแรก เมื่อวันที่ ๑๕ มีนาคม ๒๔๐๑ ตอนหนึ่งว่า “หนังสือราชกิจจานุเบกษานี้ เมื่อตกไปอยู่กับผู้ใดขอให้เย็บไว้อย่าให้ฉีกทาลายเสีย เมื่อได้ฉบับอื่นต่อไปก็ให้เย็บต่อ ๆ เข้า เป็นสมุดเหมือนสมุดจีน สมุดฝรั่ง ตามลาดับตัวเลขที่หมาย หนึ่งสองสามสี่ต่อ ๆ ไป ซึ่งมีอยู่ทุก หน้ากระดาษนั้นเถิด ขอให้มีหนังสือราชกิจจานุเบกษานี้เก็บไว้สาหรับจะให้ค้นดูข้อราชการ ต่าง ๆ ทุกหมู่ทุกกรมข้าราชการและทุกหัวเมืองโดยประการนี้เทอญ”
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=