วารสารราชบัณฑิตยสภาปี-43-ฉบับ-1
วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-เม.ย. ๖๑ ๑๐๗ ๓. สามัญชน (The commons) อันได้แก่ ฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมและบริหาร ราชการแผ่นดินที่ประชาชนเลือกเข้าไปทาหน้าที่คือคณะรัฐมนตรีและสมาชิก รัฐสภา เอ็ดมันด์ เบิร์ก ผู้กล่าวคาว่า Fourth Estate เป็นนักการเมืองเชื้อสายไอริช เกิดที่เมือง ดับลิน ไอร์แลนด์ เมื่อวันที่ ๑๒ มกราคม ค.ศ. ๑๗๒๙ เสียชีวิตเมื่อวันที่ ๙ กรกฎาคม ค.ศ. ๑๗๙๗ ถ้าเทียบกับประเทศไทยเขามีชีวิตอยู่ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์ ในช่วง ที่กรุงศรีอยุธยาใกล้จะแตก เอ็ดมันด์ เบิร์ก เป็นนักการเมืองที่มีชื่อเสียงเลื่องลือไปทั่วสหราชอาณาจักร จนถึงหลังสิ้นยุคสมเด็จพระราชินีเอลิซาเบทที่ ๑ เอ็ดมันด์ เบิร์ก ศึกษาวิชาสามัญที่ Trinity College และศึกษาวิชากฎหมายที่ Middle Temple ได้เขียนบทความแสดงทัศนวิสัยเชิงวิพากษ์คุณค่า แห่งสังคมเมื่ออายุ ๒๗ ปี ต่อมาเมื่ออายุ ๓๖ ปี ได้เป็นเลขานุการส่วนตัวของนักการเมืองชื่อดัง มาร์ควิสรอดดิ้งแฮม (Marquis Roddingham) จากนั้นก็เข้าสู่วงการเมืองโดยได้รับเลือกตั้งเป็น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเขตเวนโดเวอร์ เมื่อ ค.ศ. ๑๗๖๖ ได้ชื่อว่าเป็นนักอภิปรายทางการเมือง ฝีปากคมของพรรควิก (Whig) ที่ฝ่ายปรปักษ์ต่างเกรงขาม แม้พรรคนี้จะมีเสียงข้างน้อยในสภาก็ตาม ประเด็นอภิปรายสาคัญของเขาคือการอภิปรายเรื่องการเก็บภาษีคนอเมริกันที่ไม่ยอมเสียภาษี นอกจากมีตัวแทนอยู่ในรัฐสภาอังกฤษ และหัวข้อเรื่องอื่น ๆ อีกหลายเรื่อง คาอภิปรายของเขามี การพิมพ์รวมเล่มได้ชื่อว่าเป็นเอกสารสาคัญทางด้านการปกครองและวรรณคดี คาอภิปรายที่มีคนอ้างถึง บ่อย ๆ ตอนหนึ่งคือ ตอนที่เขาอภิปรายว่า “…รัฐสภาไม่ใช่ที่ประชุมของพวกทูตที่มาจากกลุ่ม ผลประโยชน์ต่างกันหรือขัดแย้งกัน และรัฐสภาก็ไม่ใช่ที่สาหรับเอเย่นต์ (ตัวแทน) หรือทนายความที่จะ มาโต้เถียงกันเพื่อผลประโยชน์ของลูกความ แต่รัฐสภาเป็นที่ประชุมปรึกษาหารือของคนในชาติเดียวกัน เพื่อผลประโยชน์อันเดียวกัน อันเป็นผลประโยชน์ของท้องถิ่นใดท้องถิ่นหนึ่งโดยเฉพาะ และต้องเป็นการ กระทาเพื่อความดีอันเป็นส่วนรวมด้วยเหตุผลอันเดียวกัน” อีกตอนหนึ่งคือ “สิ่งเดียวที่จะทาให้คนชั่ว ได้รับชัยชนะนั่นก็คือ การที่คนดี ๆ นั่งดูดาย หากคนดีที่รักชาตินั่งดูดาย คนชั่วที่ครองเมืองก็จะกา ชัยชนะบนความขาดกลัวทันที” (For The Triumph of evil is for men to do nothing) เอดมันด์ เบิร์ก สนใจวิชาสังคมวิทยาและปรัชญาตะวันตก โดยได้รับอิทธิพลทางความคิด จากปรัชญาเมธีหลายคน เช่น เพลโต, อริสโตเติล, อดัม สมิท, วิฟ, แกโร, จอห์น ล็อก รวมทั้งวอลแตร์, ฌ็อง ฌัก รูโซ หลังจากเอดมันด์ เบิร์ก เสียชีวิตเมื่ออายุ ๖๘ ปี เอดมันด์ เบิร์ก ได้รับการยอมรับนับ ถืออย่างกว้างขวางว่า เป็นนักปรัชญาผู้เป็นบิดาแห่งแนวคิดอนุรักษนิยมสมัยใหม่ มีประติมากรรมหิน สลักเป็นรูปขนาดครึ่งตัวของเขาแสดงไว้ที่รัฐสภาอังกฤษ เคียงข้างรูปสลักของนักการเมืองผู้มีชื่อเสียง คนอื่น ๆ จนทุกวันนี้ เมื่อสงครามโลกครั้งที่ ๒ สงบลง และมีการตั้งองค์การสหประชาชาติ (Unites Nation Organization) ขึ้นและมีการประกาศปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนจึงเหมือนเป็นการ แพร่ลัทธิเสรีภาพนิยมให้กระจายไปทั่วโลก และเท่ากับเป็นการยอมรับสถาบันผู้สื่อข่าวว่าเป็น ฐานันดรที่มีความสาคัญเป็นลาดับที่ ๔
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=