วารสารราชบัณฑิตยสภาปี-43-ฉบับ-1
วารสารราชบัณฑิตยสภา ปีที่ ๔๓ ฉบับที่ ๑ ม.ค.-เม.ย. ๖๑ ๑๐๖ ความหมายและที่มา “ฐานันดร” ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ (๒๕๕๖ : ๔๑๕) หมายถึง ลาดับชั้น บุคคลในราชสกุล มี เจ้าฟ้า พระองค์เจ้า หม่อมเจ้า เป็นต้น ลาดับชั้นยศบุคคลในราชการมี เจ้าพระยา พลเอก เป็นต้น และคาว่า “ฐานันดรที่ ๔” (Fourth Estate) หมายถึง นักหนังสือพิมพ์ ผู้ที่กล่าวถึงคาว่า Fourth Estate (ฐานันดรที่ ๔) เป็นคนแรกคือเอดมันด์ เบิร์ก (Edmund Burke) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร กล่าวในการประชุมรัฐสภาของสหราชอาณาจักร ( United Kingdom) เมื่อ ค.ศ. ๑๗๘๗ ขณะกาลังอภิปรายได้กล่าวพาดพิงไปถึงกลุ่มบุคคลที่นั่งทาหน้าที่อยู่บน ระเบียงด้านบน คือ กลุ่มผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์ The Times of London ซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์เพียง ฉบับเดียวที่มีอยู่ในขณะนั้น ว่า “ในขณะที่เราทั้งหลายเป็นฐานันดร ๑ ใน ๓ ฐานันดรที่กาลังประชุม กันอยู่นี้ เราพึงคานึงไว้ด้วยว่า บัดนี้ได้มีฐานันดรที่ ๔ เกิดขึ้นแล้ว และฐานันดรนั้นกาลังฟังการ ประชุมของเราอยู่ ณ ที่นี้ด้วย...” ‘...There were Three Estates in Parliament: but in The reporter’s gallery yonder, There sat a Fourth Estate, more important for there The all…’ (Thomas Carlyle, 1841) เอดมันด์ เบิร์ก กล่าวพลางชี้มือไปยังกลุ่มผู้สื่อข่าวซึ่งกาลังนั่งฟัง การประชุมอยู่บนระเบียงห้องประชุมนั้นเอง ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา บรรดาผู้ประกอบอาชีพ หนังสือพิมพ์จึงถูกขนานนามว่าเป็น “ฐานันดรที่ ๔” ตามที่เอดมันด์ เบิร์ก ได้กล่าวไว้ “ฐานันดรที่ ๔” หมายถึง สถาบันทางสังคมลาดับที่ ๔ ซึ่งมีอิทธิพลรับรู้ได้อย่างสม่าเสมอ รองลงมาจากฐานันดรลาดับที่ ๑ คือ พระมหากษัตริย์ ผู้นาทางจิตวิญญาณและขุนนาง ลาดับที่ ๒ คือ บรรพชิตทางศาสนจักร และลาดับที่ ๓ คือ ฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมและบริหารราชการแผ่นดิน ในเวลาต่อมา เมื่อเกิดมีสื่อมวลชนเพิ่มขึ้นอีกหลายประเภท ก็มีการหมายรวมว่า สื่อมวลชน ทั้งหมดคือฐานันดรที่ ๔ และผู้ที่ได้นาคาไทยว่า “ฐานันดรที่ ๔” มาใช้แทนคาภาษาอังกฤษ Fourth Estate คือ พลตรี พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวรรณไวทยากร กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ เป็นที่ทราบกันดีว่าในการลาดับศักดินาหรือชั้นของบุคคลที่ดารงความสาคัญเกี่ยวกับการ ปกครองประเทศนั้น มีสหราชอาณาจักรเป็นต้นตารับ และทั่วโลกก็ยอมรับว่าสหราชอาณาจักรเป็น แม่บทของการปกครองระบอบประชาธิปไตย ประเทศอื่นก็เจริญรอยตาม แม้ว่าประเทศที่ไม่มี พระมหากษัตริย์เป็นประมุขก็ยังทาตามแบบอังกฤษในเรื่องการจัดลาดับฐานันดร ซึ่งมีอยู่แล้ว ๓ ฐานันดร คือ ๑. ขัตติยะ (The Lord spiritual) อันได้แก่ พระมหากษัตริย์ ผู้นาทางจิตวิญญาณและ พวกขุนนาง ๒. สมณะ (The Lord Temporal อันได้แก่ บรรพชิตทางศาสนจักร
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=